ประเภทของแฟร็กทัลและตัวอย่าง ของ แฟร็กทัล

วิธีการสร้างเกล็ดหิมะค็อค 4 ขั้นตอนแรก

แฟร็กทัลสามารถจำแนกออกเป็นสามประเภทตามวิธีการสร้างดังนี้

แฟร็กทัลประเภทแรกมีรูปแบบการสร้างแบบง่าย ๆ โดยอาศัยหลักการวนซ้ำกฎเกณฑ์ที่กำหนดไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เช่นเซตคันทอร์, ฝุ่นคันทอร์ และ ฟังก์ชันคันทอร์ ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในฟังก์ชันประเภทที่เรียกว่า Devil's staircase,เส้นโค้งค็อค และ เกล็ดหิมะค็อค,พรมซูร์พินสกี (Sierpinski carpet), สามเหลี่ยมซูร์พินสกี (Sierpinski triangle)Space-filling curve หรือ Peano curveและ เส้นโค้งมังกร เป็นต้น แฟร็กทัลประเภทนี้มีคุณสมบัติคล้ายตนเองอย่างสมบูรณ์ (exact self-similarity)

แฟร็กทัลอีกจำนวนหนึ่งมีที่มาจากการศึกษาทฤษฎีความอลวน เรียกว่า escape-time fractal ตัวอย่างเช่น เซตจูเลีย, เซตม็องแดลโบรต, แฟร็กทัล Burning Ship และ แฟร็กทัลไลยาปูนอฟ (Lyapunov) แฟร็กทัลสร้างจากวนซ้ำสมการ f c ( z ) {\displaystyle f_{c}(z)} ไปเรื่อย ๆ หรือเขียนอยู่ในรูปสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์คือ f c ( f c ( f c ( . . . ) ) ) {\displaystyle f_{c}(f_{c}(f_{c}(...)))} และสร้างกราฟของค่าพารามิเตอร์ c {\displaystyle c} หรือค่าเริ่มต้นของ z {\displaystyle z} ที่ให้ผลลัพธ์ที่อลวน แฟร็กทัลเหล่านี้มักมีคุณสมบัติคล้ายตนเองที่ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ เมื่อขยายแฟร็กทัลดูส่วนที่เล็กลงจะพบว่ามีรูปร่างคล้ายแต่ไม่เหมือนรูปร่างของเดิมซะทีเดียว (quasi-self-similarity)

แฟร็กทัลที่จำลองแบบผิวหน้าของภูเขา สร้างโดยการสุ่ม

แฟร็กทัลประเภทสุดท้าย สร้างโดยกระบวนการสโตคาสติก หรือ การสุ่ม เช่น การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน ต้นไม้บราวเนียน เป็นต้น แฟร็กทัลลักษณะนี้ เฉพาะค่าทางสถิติของแฟร็กทัลที่สเกลต่าง ๆ เท่านั้นที่มีลักษณะเหมือนกัน (statistical self-similarity)