แฟ็งเดอซีแย็กล์
แฟ็งเดอซีแย็กล์

แฟ็งเดอซีแย็กล์

แฟ็งเดอซีแย็กล์ (ฝรั่งเศส: fin de siècle) เป็นคำภาษาฝรั่งเศสหมายถึง "ปลายศตวรรษ" วลีนี้มีความหมายคล้ายสำนวนภาษาอังกฤษ "turn of the century" (เปลี่ยนศตวรรษ) และหมายความถึงการสิ้นสุดยุคสมัยหนึ่งและเริ่มต้นยุคสมัยใหม่ โดยทั่วไปวลีแฟ็งเดอซีแย็กล์ (หากไม่มีบริบทร่วม) หมายถึงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งช่วงเวลานี้ถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นความเสื่อมทางสังคม แต่ขณะเดียวกันก็เป็นความหวังในการเริ่มต้นใหม่[1] "จิตวิญญาณ" ของแฟ็งเดอซีแย็กล์มักหมายถึงพลวัตทางวัฒนธรรมช่วงคริสต์ทศวรรษ 1880 และ 1890 ซึ่งรวมถึงความเบื่อหน่าย ไม่วางใจ มองโลกในแง่ร้ายและ "ความเชื่อแพร่หลายว่าอารยธรรมนำไปสู่ความเสื่อมทราม"[2][3]เดิมแฟ็งเดอซีแย็กล์เป็นวลีที่ใช้ทั่วไปกับศิลปะและศิลปินฝรั่งเศส ซึ่งลักษณะทางวัฒนธรรมปรากฏครั้งแรกที่นั่น แต่ต่อมาลักษณะดังกล่าวแพร่ไปสู่ประเทศยุโรปอื่น ๆ[4][5] วลีนี้จึงกลายเป็นทัศนะและคุณลักษณะทางวัฒนธรรมของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มากกว่าจะมุ่งเน้นเฉพาะขบวนการทางศิลปะในฝรั่งเศสที่เป็นต้นกำเนิด แนวคิดที่ศิลปินยุคนี้พัฒนาขึ้นยังผลักดันให้เกิดลัทธิสัญลักษณ์นิยมและนวยุคนิยม[6]แนวคิดสำคัญของวัฒนธรรมทางการเมืองช่วงแฟ็งเดอซีแย็กล์เป็นที่ถกเถียงอย่างมากและมักถูกกล่าวว่าส่งอิทธิพลสำคัญต่อลัทธิฟาสซิสต์[7][8] และเป็นจุดกำเนิดของวิชาภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงแนวคิด เลเบินส์เราม์ ของเยอรมนี[9] ไมเคิล เฮฟเฟอร์แนน ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ประวัติที่มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม และแมคคูบิน ทอมัส โอเวนส์ นักวิชาการอาวุโสที่สถาบันวิจัยนโยบายต่างประเทศเขียนถึงที่มาของภูมิรัฐศาสตร์:แนวคิดซึ่งโครงการที่ต้องการชื่อใหม่ในปี ค.ศ. 1899 นี้ สะท้อนถึงความเชื่อแพร่หลายว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจและระบบการเมืองโลกนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งเฮฟเฟอร์แนนบรรยายว่า "จะเข้าใจโลกใหม่ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้ทั้งหมดต้องบูรณาการเข้ากับทั้งโลก" เทคโนโลยีและการสื่อสารทั่วโลกส่งผลให้โลก "เล็กลง" และเกิดคติ "โลกเดียว" ในอุดมคติ ซึ่งพัฒนาไปไกลกว่า "อุดมการณ์รวม"[10][11] ขณะที่โอเวนส์กล่าวว่าสิ่งที่เราคิดเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ขณะนี้มีที่มาจากยุโรปยุค fin de siècle ซึ่งขานรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ... และการสรรสร้าง "ระบบการเมืองแบบปิด" เมื่อการแข่งขันของจักรวรรดินิยมยุโรปลบ "พรมแดน" ของโลก[12]ปฏิกิริยาทางการเมืองหลักในยุคสมัยนี้คือการลุกฮือต่อต้านวัตถุนิยม เหตุผลนิยม ปฏิฐานนิยม ชนชั้นกระฎุมพีและประชาธิปไตยเสรีนิยม[7] ชั่วรุ่นแฟ็งเดอซีแย็กล์สนับสนุนอารมณ์นิยม ความไร้เหตุผล อัตนัยนิยมและชีวิตนิยม[8] ขณะที่กรอบความคิดของยุคสมัยมองว่าอารยธรรมกำลังตกอยู่ในวิกฤตและต้องการการแก้ไขครั้งใหญ่และสมบูรณ์[7]