แมงดาถ้วย
แมงดาถ้วย

แมงดาถ้วย

แมงดาถ้วย หรือ แมงดาทะเลหางกลม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Carcinoscorpius rotundicauda) เป็นแมงดาชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Carcinoscorpius มีรูปร่างกลมและกระดองนูนเหมือนชามหรือถ้วยคว่ำ ทางด้านหัวโค้งกลม หางเรียวยาวเป็นทรงกลม กระดองมีสีเขียวเหลือบเหลืองคล้ำ ใช้สำหรับปักลงกับพื้นท้องทะเล เมื่อต้องการนอนนิ่งอยู่กับที่ หรือใช้พลิกตัวเมื่อนอนหงายท้อง พบอาศัยในทะเลโคลนแถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ อาจพบได้ในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร (รวมหาง) ในบางครั้งแมงดาถ้วยบางตัวและในบางฤดูกาลอาจมีสีกระดองสีแดงเหลือบส้ม และมีขนที่กระดองและบางส่วนของลำตัว แมงดาถ้วยแบบนี้จะเรียกว่า เหรา (อ่านว่า [เห-รา]), ตัวเหรา หรือ แมงดาไฟแมงดาถ้วยพบกระจายไปทั่วในชายฝั่งทะเลอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ในประเทศไทยพบได้ทุกจังหวัดที่ติดกับทะเล แมงดาชนิดนี้ทั้งเนื้อและไข่มีพิษทุกฤดูกาล จึงไม่ควรนำมาบริโภคอย่างเด็ดขาด สันนิษฐานกันว่าการเกิดพิษในตัวแมงดามาจาก 2 สาเหตุ คือ เกิดจากการที่ตัวแมงดาไปกินแพลงก์ตอนที่มีพิษเข้าไป ทำให้สารพิษไปสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ และตัวแมงดาเองมีพิษซึ่งเกิดจากแบคทีเรียในลำไส้สร้างพิษขึ้นมาได้เอง อาการเมื่อรับพิษเข้าไป คือ ชาที่ริมฝีปาก มือ และเท้า เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ แขนขาไม่มีแรง พูดไม่ออก กลืนลำบาก หายใจไม่ออก กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจเป็นอัมพาต เนื่องจากเป็นพิษที่ผลต่อระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ในเด็กเล็กจะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้[2]จากการที่แมงดาถ้วยสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ จึงมักพบการค้าขายแมงดาถ้วยเป็นสัตว์เลี้ยงในตลาดปลาสวยงามเสมอ ๆ โดยผู้ขายมักหลอกผู้ซื้อว่า เลี้ยงในน้ำจืดได้ แต่ทว่าเมื่อนำมาเลี้ยงจริง ๆ แล้ว แมงดาจะอยู่ได้เพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้นก่อนที่จะตายไปในที่สุด[3][4][5][6]