ทฤษฎีเกี่ยวกับแม่พระฉวีดำ ของ แม่พระฉวีดำ

นักเทววิทยาและนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ของสีที่คร่ำอาจจะมีสาเหตุมาจากสีธรรมชาติของไม้ที่ใช้ในการสร้างงานหรือการเปลี่ยนแปลงของสีตามกาลเวลา และกล่าวเพิ่มเติมว่างานที่ทำด้วยอะลาบาสเทอร์สีอ่อนเป็นงานที่ทำขึ้นหลังยุคกลาง ผู้ที่ค้านกับทฤษฎีดังกล่าวชี้ให้เห็นเครื่องทรงที่เป็นสีสดใสบนรูปสัญลักษณ์บางรูปที่พระพักตร์และพระกรเป็นสีดำ

การศึกษาเกี่ยวกับพระแม่มารีดำมาฟื้นฟูกันอีกครั้งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักวิชาการด้านศาสนาเปรียบเทียบบางท่านโดยเฉพาะผู้มีพื้นฐานเป็นนัก Afrocentrism, นักสตรีนิยม และผู้นับถือลัทธิเพกันใหม่ ตั้งข้อเสนอว่าแม่พระฉวีดำเป็นการสร้างรูปเคารพที่มีพื้นฐานมาจากศิลปะก่อนสมัยคริสเตียนที่เกี่ยวกับพระแม่ธรณีต่างๆ[1][2] (earth goddess) ที่มักจะเน้นเทพีไอสิสว่าเป็นต้นตอสำคัญ[3][4] นักจิตวิทยาบางท่านก็เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับแม่แบบ (archetype) ของความเป็นสตรีและความเป็นแม่ที่มาจากทฤษฎีของของนักจิตวิทยาคาร์ล ยุง และในบริบทของแสดงความมีอำนาจของสตรีที่แสดงออกมาในรูปแบบของการสร้างแม่พระฉวีดำ[5][6] แม้ว่าทฤษฎีต่างๆ ดังกล่าวจะมีพื้นฐานมาจากความสนใจทางด้านความรู้ทางสถาบัน แต่ก็มิได้เป็นทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปที่เกี่ยวกับแรงบันดาลใจของการสร้างงานดังกล่าวในยุคกลาง

ข้อเสนออีกข้อหนึ่งคือความสัมพันธ์ระหว่างแม่พระฉวีดำของยุคกลางของยุโรป และ ธรรมเนียม/ประเพณีเพกันโบราณและรูปสัญลักษณ์ แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานของความเกี่ยวข้องกันโดยตรงทางประวัติศาสตร์หรืออิทธิพลทางศิลปะก็ตาม แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางเทววิทยาศาสนคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่สนับสนุนโดยตรง แต่ก็มีนักเขียนบางท่านที่เสนอว่าการสักการะแม่พระฉวีดำในยุคกลางเป็นการกระทำที่เป็นผลมาจากเนื้อความในใน “เพลงซาโลมอน 1:5” ในพันธสัญญาเดิมในบรรทัดที่ว่า “โอ บุตรสาวแห่งเยรูซาเล็มเอ๋ย ดิฉันผิวดำๆ แต่ว่าดำขำ ดังเต็นท์ของพวกเคดาร์ ดังวิสูตรของซาโลมอน”[7] เนื้อหาดังว่าได้รับการบรรยายอย่างยืดยาวในบทเทศนาของนักบุญแบร์นาร์แห่งแกลร์โว แต่ในกรณีนี้นักบุญแบร์นาร์มิได้กล่าวถึงพระแม่มารีแต่เป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิก[8] งาน “แม่พระฉวีดำ” หลายชิ้นที่ยังคงมีอยู่มีคำจารึกดังกล่าว แม้ว่าบางครั้งจะมาเพิ่มเติมเอาภายหลังก็ตาม

นักเขียนผู้เสนอทฤษฎีของความลึกลับของความหมายมักจะรวมองค์ประกอบของสาเหตุข้างล่างบางข้อในบทสันนิษฐาน:

  • บางทฤษฎีกล่าวว่าแม่พระฉวีดำเป็นศิลปะที่มีต้นตอมาจากการสร้างงานศิลปะเกี่ยวกับแม่พระปฐพีที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยคริสเตียน ผิวที่เป็นสีดำอาจจะเป็นเพราะสีดั้งเดิมของรูปสัญลักษณ์เหล่านี้ และ อาจจะเป็นนัยยะของสีของปฐพีอันอุดมสมบูรณ์ หรือบางที่ก็จะเกี่ยวข้องการค้นพบองค์พระแม่มารีในบริเวณที่เป็นธรรมชาติ เช่นบนต้นไม้ หรือ ข้างน้ำพุธรรมชาติ นอกจากนั้นก็ยังกล่าวกันว่าชาเปลคริสเตียนมักจะตั้งบนที่ที่เดิมเป็นเทวสถานของเทพีไซเบเลซึ่งเป็นเทพีฟริเจียนที่เทียบเท่ากับพระแม่ธรณี และ เทพีไดแอนาแห่งเอเฟซัส
  • บางทฤษฎีกล่าวว่าพระแม่มารีดำมาจากเทพีของอียิปต์ไอซิส พระฉวีที่เป็นสีดำอาจจะมาจากแม่แบบของรูปสัญลักษณ์ของแม่แอฟริกา ศาสตราจารย์สตีเฟน เบงโคอ้างว่ารูปสัญลักษณ์ของคริสเตียนตอนต้นของแม่ที่นั่งกับบุตรได้รับอิทธิพลมาจากภาพของเทพีไอซิสและเทพฮอรัส และ ถึงกับกล่าวต่อไปว่ารอยบากบนพระปรางของ “แม่พระฉวีดำแห่งเชสโตโชวา” เป็นเครื่องหมาย “พระเนตรฮอรัส
  • บางทฤษฎีกล่าวว่าแม่พระฉวีดำเป็นภาพสีพระฉวีดั้งเดิมของพระแม่มารี ซึ่งเท่ากับเป็นการจัดพระองค์ในบริบททางประวัติศาสตร์ เพราะครอบครัวของพระเยซูคงจะมีที่มาจากชนที่เซไมท์จากตะวันออกกลางที่มีผิวสีคล้ำกว่าชาวยุโรป
  • บางทฤษฎีกล่าวว่าแม่พระฉวีดำเป็นงานที่แสดงความมีอำนาจของสตรีที่ไม่อาจจะเทียบได้กับพระแม่มารีที่มีพระฉวีสีอ่อนซึ่งเป็นสีที่เป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนน้อม การเชื่อฟัง และ ความบริสุทธิ์ การใช้สัญลักษณ์ที่แสดง “อำนาจของสตรี” บางครั้งก็เชื่อมโยงกับความเป็นสตรีเชิงเพศ (Human female sexuality) ที่กล่าวกันว่าเป็นสิ่งที่ถูกเก็บกดโดยศาสนจักรในยุคกลาง
  • บางทฤษฎีกล่าวว่าพระแม่มารีดำมีความเกี่ยวข้องกับอัศวินเทมพลาร์ และนักบุญแบร์นาร์แห่งแกลร์โว เอียน เบกก์เสนอว่าแม่พระฉวีดำเป็นที่สักการะของลัทธินิยมลึกลับที่เกี่ยวข้องกับอัศวินเทมพลาร์และลัทธิคาธาร์ แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีดังกล่าว และกับทฤษฎีที่เชื่อมโยงกับมารีย์ชาวมักดาลา และ ลัทธิไญยนิยม (Gnosticism)

ใกล้เคียง

แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ แม่พระฉวีดำ แม่พระประจักษ์ที่ฟาตีมา แม่พระปฏิสนธินิรมล แม่พระพาย แม่พระและพระกุมาร แม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด แม่พระมหาการุณย์ แม่พระรับสาร แม่พระบรรทม

แหล่งที่มา

WikiPedia: แม่พระฉวีดำ http://www.msgr.ca/msgr-3/black_madonna_czestochow... http://www.ancientquest.com/embark/blackvirgin.htm... http://www.aracnet.com/~sbvoices/sb-travels-france... http://www.flickr.com/groups/blackmadonnas/ http://www.interfaithmarianpilgrimages.com/pages/b... http://www.pathsoflove.com/bernard/songofsongs/ser... http://www.udayton.edu/mary/meditations/blackmdn.h... http://www.udayton.edu/mary/meditations/olmont.htm... http://www.udayton.edu/mary/resources/blackm/black... http://www.holyzone.net/news/?%BE%C3%D0%A4%D1%C1%C...