แรงเทียม

แรงเทียม (อังกฤษ: fictitious force, pseudo force[1], d'Alembert force[2][3], inertial force[4][5]) เป็นปรากฏการณ์เสมือนว่ามีแรงอย่างหนึ่ง ที่กระทำกับมวลใดๆ ที่เคลื่อนที่เมื่อมองจากกรอบอ้างอิงที่ไม่ใช่กรอบอ้างอิงเฉื่อย เช่น กรอบอ้างอิงที่กำลังหมุน เป็นต้นแรง F นี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างวัตถุ แต่เกิดจากความเร่ง a ของกรอบอ้างอิงนั้นๆ ดังที่อธิบายโดย Iro[6][7] ไว้ว่าแรงที่ต้องเพิ่มขึ้นมา ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ที่เมื่อมองแบบสัมพัทธ์แล้วไม่ไปตามกัน ระหว่างกรอบอ้างอิงสองกรอบนั้น เรียกได้ว่า เป็นแรงเทียมเมื่อยึดตามกฎข้อที่สองของกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ในรูปของสมการ F = ma จะพบว่า แรงเทียมที่ปรากฏ จะมีขนาดที่เป็นสัดส่วนกับมวล m เสมอแรงเทียมที่ปรากฏเสมือนว่าได้กระทำกับวัตถุนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อกรอบอ้างอิงที่สนใจ (กรอบที่ผู้สังเกตใช้อธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุ) เคลื่อนที่อย่างมีความเร่ง เมื่อเทียบกับกรอบอ้างอิงที่ไม่มีความเร่ง ทั้งนี้เนื่องจากกรอบอ้างอิงเป็นสิ่งสมมติ จึงอาจมีการเคลื่อนที่ในลักษณะใดก็ได้โดยไม่เกี่ยวกับการมีแรงกระทำหรือไม่มีแรงกระทำ ดังนั้นแรงเทียมที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของกรอบ จึงอาจมีลักษณะใดก็ได้เช่นกันมีแรงเทียมอยู่ 4 ชนิดที่พบบ่อย จากการใช้กรอบอ้างอิงแบบมีความเร่งที่พบบ่อย เช่น แรงเทียมที่ปรากฏเมื่อมองกรอบอ้างอิงที่เคลื่อนที่โดยมีความเร่งเป็นบวกในแนวเส้นตรง (เช่น แรงเทียมที่กระชากคนบนรถให้ถอยหลัง เมื่อเทียบกับตัวรถ เมื่อรถออกตัว), แรงเทียมจากกรอบอ้างอิงหมุน (แรงหนีศูนย์กลาง และ แรงโคริโอลิส) และแรงออยเลอร์ที่เกิดจากอัตราการหมุนที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมองการเคลื่อนที่ของวัตถุด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป จะพบว่าแรงโน้มถ่วงก็เป็นแรงเทียมเช่นกัน[8] เนื่องจากเกิดจากการที่มวลทำให้กาลอวกาศบิดเบี้ยว วัตถุที่เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงจึงดูเหมือนเคลื่อนที่เข้าหาวัตถุที่มีมวลมาก