รายการของโครงการและความสำเร็จ ของ โครงการอวกาศโซเวียต

โครงการทั้งหมดที่สมบรูณ์

ภาพถ่ายของสถานีอวกาศเมียร์จากกระสวยอวกาศแอตแลนติส ก่อนที่จะเชื่อมต่อระหว่างในภารกิจ STS-76 ภารกิจในปี ค.ศ. 1996แบบจำลองหุ่นยนต์สำรวจ ลูโนฮอด 2ยานโซยุซ ในโครงการทดสอบอะพอลโล–โซยุซแบบจำลองยานเวกา1และ2

สปุตนิก (1956-1959)

เป็นโครงการอวกาศแรกของโซเวียต แบ่งเป็นการพัฒนาดาวเทียมสปุตนิก 1 และสปุตนิก 3 และการทดลองหาผลกระทบของการบินอวกาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและการพัฒนาระบบยังชีพในยานอวกาศ สปุตนิก 2 สปุตนิก 4 สปุตนิก 5

ลูนา (1959-1976)

เป็นโครงการสำรวจดวงจันทร์ของโซเวียต มีทั้งหมด24ลำอย่างเป็นทางการประกอบด้วยดาวเทียมสำรวจ ลูนา 1-9,ยานสำรวจ ลูนา 10-14,ยานสำรวจและเก็บตัวอย่างหิน ลูนา 15-16,18-20และ22-24และยานขนส่งหุ่นสำรวจ ลูนา 17 กับ ลูโนฮอด 1และลูนา 21 กับ ลูโนฮอด 2

แม้จะมีมากกว่านั้นแต่ส่วนใหญ่ล้มเหลวตั้งแต่อยู่ในวงโคจรโลก[15]ประเมินค่าใช้จ่ายของโครงการลูนาเป็นประมาณ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

วอสตอค (1961-1963)

เป็นโครงการส่งมนุษย์ไปยังอวกาศขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลกและพวกเขากลับได้อย่างปลอดภัย การแข่งขันโครงการเมอร์คิวรีของประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในส่งมนุษย์อวกาศคนแรกที่ ยูริ กาการินใน วอสตอค 1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 1961 แคปซูลวอสตอคได้รับการพัฒนาจากโครงการดาวเทียมจารกรรมและเซนิต ใช้จรวดอาร์-7 ขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ในการส่ง ในการออกแบบที่เป็นข้อมูลลับจนกระทั่งเที่ยวบินของกาการินเป็นครั้งแรกที่โครงการวอสตอคเปิดเผยต่อสาธารณชน

โปรแกรมดำเนินการมี 6 ลำระหว่างปี ค.ศ. 1961 และปี ค.ศ. 1963 เที่ยวบินที่นานที่สุดกินเวลาเกือบห้าวันและมีการปล่อยยานคู่กันระหว่างวอสตอค 3กับวอสตอค 4 ซึ่งมากกว่าโครงการเมอร์คิวรีที่มีเที่ยวบินที่นานที่สุด 34 ชั่วโมง[16]

เวเนรา (1961-1981)

เป็นโครงการสำรวจดาวศุกร์ของโซเวียต ระหว่างปี ค.ศ. 1961-1984 มีทั้งหมด10ลำที่ประสบความสำเร็จลงจอดบนดาวศุกร์และส่งข้อมูลจากพื้นผิวของดาว โดยในช่วงแรกเป็นการสำรวจภายนอกใน เวเนรา 1-2 จากเป็นการสำรวจชั้นบรรยายและการพยายามลงจอดใน เวเนรา 3-8 และลงจอดสำเร็จในเวเนรา 9 ซึ่งสามารถทนได้ถึง23นาทีก่อนที่จะถูกทำลาย ในระยะหลังเวเนรา 15 ได้มีการใช้ระบบเรดาร์ในการทำแผนที่บนดาวศุกร์

วอสฮอด (1964 -1965)

หลังประสบความสำเร็จ วอสตอค ได้มีการพัฒนาใหม่ในโครงการวอสฮอด ในปี ค.ศ. 1964-1965 ซึ่งปรับเปลี่ยนของแคปซูล วอสตอค ให้ใหญ่ขึ้นสามารถจุนักบินได้สองถึงสามคน จรวดขนาดใหญ่ขึ้นและระบบยังชีพทีดีขึ้นจนไม่ต้องสวมชุดอวกาศในยาน วอสตอค 1 เป็นการทดลองให้นักบินสามคนไม่ชุดอวกาศผลประสบความสำเร็จด้วยดี วอสตอค 2 ได้มีการพัฒนาประตูยานให้เปิดปิดจากภายในยานได้เพื่อใช้สำหรับภารกิจนอกยานโดย อเล็กซี ลีโอนอฟ เป็นมนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ[17]

โซยุซ (1963-ปัจจุบัน)

เป็นโครงการยานอวกาศพัฒนาโดยสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1960 โดยในตอนแรกจะถูกนำไปใช้ในโครงการส่งมนุษย์บนดวงจันทร์ โดยมีการทดสอบการนัดพบและเทียบท่า เพื่อใช้สำหรับการต่อแอลเค-แลนเดอร์ (ยานที่ใช้ลงจอดบนดวงจันทร์ของโซเวียต)

หลังความล้มเหลวของโครงการ เอ็น 1-แอล 3 โซยุซได้ถูกนำไปใช้ในการเทียบท่าขนส่งคนและสิ่งของยังชีพต่างๆ ในแก่สถานีอวกาศทั้งสถานีอวกาศซัสยุส สถานีอวกาศเมียร์ และสถานีอวกาศนานาชาติในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการพัฒนามาถึงปัจจุบันทั้งหมด 4รุ่น

ซอนด์ (1964-1970)

เป็นโครงการยานอวกาศไร้คนขับจากการดำเนินการในช่วงปี ค.ศ. 1964-1970 แบ่งเป็นโครงการ3เอ็มวี เป็นโครงการสำรวจดาวศุกร์ (ซอนด์ 1) ดาวอังคาร (ซอนด์ 2) และดวงจันทร์ (ซอนด์ 3) และโครงการทดสอบโซยุซ 7เค-แอล1/แอล1เอ็ส เป็นโครงการทดสอบยานโซยุซ (ไร้ตัวเชื่อมต่อ) ในการเดินทางไปดวงจันทร์ โดยในการทดสอบ ซอนด์ 5 ได้ส่ง เต่ารัสเซียโคจรรอบดวงจันทร์และกลับมาอย่างปลอดภัย

เอ็น1-แอล3 (1960s-1970)

เป็นโครงการส่งมนุษย์บนดวงจันทร์ โดยใช้ยานอวกาศ โซยุซ แอลเค-แลนเดอร์ และจรวด เอ็น1 ในการไปดวงจันทร์[18] โดยมีความสำเร็จกับเที่ยวบินร่วมกันของโซยุส 4 และ 5 ในเดือนมกราคม 1969 ที่ผ่านการทดสอบนัดพบ, เชื่อมต่อและการถ่ายโอนลูกเรือที่จะใช้สำหรับเชื่อมโยงไปถึงที่เป็นและ แอลเค-แลนเดอร์ (ยานที่ใช้ลงจอดบนดวงจันทร์ของโซเวียต) ได้รับการทดสอบในวงโคจรของโลกประสบความสำเร็จแต่หลังจากนั้นจบลงด้วยความล้มเหลวของจรวดเอ็น1ที่เกิดระเบิดไม่นานหลังทยานขึ้น

ซัสยุส (1971-1986)

เป็นโครงการอวกาศสถานีอวกาศโซเวียต ซึ่งประกอบไปด้วย 4 สถานีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และ 2 สถานีทางการทหาร ในช่วงระยะเวลา 15 ปี ค.ศ. 1971-1986 และอีก 2 สถานีล้มเหลวในการส่ง อวกาศของซัสยุส ออกแบบมาเพื่อดำเนินการวิจัยในเป็นปัญหาในระยะยาวของที่อยู่อาศัยในอวกาศและความหลากหลายของดาราศาสตร์ชีววิทยาและการทดลองต่างๆ ปูทางสำหรับโมดูลสถานีอวกาศในปัจจุบัน

บูรัน (1974-1993)

ดูบทความหลักที่: บูรัน

การพัฒนาของโครงการกระสวยอวกาศในสหรัฐอเมริกาทำให้เกิดความกังวลมากในสหภาพโซเวียต ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อุสตีนอฟ รับรายงานจากนักวิเคราะห์ของเขาว่ากระสวยอวกาศสหรัฐอาจถูกนำมาปรับใช้ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ตามพื้นที่เหนือดินแดนของสหภาพโซเวียต อุสตีนอฟ จึงกังวลเกี่ยวกับกระสวยอวกาศสหรัฐจึงมีการให้การพัฒนากระสวยอวกาศโซเวียต

พัฒนาโดยหัวหน้านักออกแบบ เกลบ โลซีโน-โลซินสกี แห่งบริษัทจรวดอีเนอร์เจีย บูรันตั้งใจให้ใช้ได้ทั้งในโหมดอัตโนมัติและมีคนบังคับ การปล่อยบูรันขึ้นสู่วงโคจรครั้งแรกและครั้งเดียวนั้นเกิดขึ้นเมื่อเวลา 3:00 UTC ของวันที่ 15 พฤศจิกายน 1988 [19]โครงการถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1993

อินเตอร์คอสมอส (1978-1988)

ดูบทความหลักที่: อินเตอร์คอสมอส

เป็นโครงการอวกาศร่วมกันระหว่างสหภาพโซเวียตและกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอและประเทศอื่นเช่นอัฟกานิสถาน,คิวบา,มองโกเลียและเวียดนามและกลุ่มประเทศขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเช่นอินเดียและซีเรียและก็โลกเสรีอย่างฝรั่งเศสเป็นต้น

เวกา (1984-1985)

เป็นความร่วมมือระหว่าง สหภาพโซเวียต,ออสเตรีย,บัลแกเรีย, ฮังการี, สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน, โปแลนด์, สโลวาเกีย, ฝรั่งเศส, และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 1984 มีภารกิจสองส่วนคือการสำรวจดาวศุกร์ด้วยบอลลูนตรวจอากาศกับการสำรวจหางฮัลเลย์ มีทั้งหมด 2ลำ ยานอวกาศทั้งสองปล่อยในวันที่ 15 เดือนธันวาคมและ 21 ปี ค.ศ. 1984 ตามลำดับ

โฟบอส (1988)

เป็นโครงการสำรวจดาวอังคารและดวงจันทร์โฟบอสและดีมอส โฟบอส 1 ถูกปล่อยในวันที่ 7 กรกฎาคม 1988 และโฟบอส 2 ในวันที่ 12 กรกฎาคมปี ค.ศ. 1988 โฟบอส 1 ประสบความล้มเหลวในการนำเส้นทางไปดาวอังคาร โฟบอส 2 เข้าวงโคจรดาวอังคาร ได้เข้าสำรวจดาวอังคารและดวงจันทร์โฟบอสและดีมอส แต่การติดต่อได้หายไปก่อนขั้นการสำรวจตอนสุดท้าย

เมียร์ (1986-2001)

ดูบทความหลักที่: สถานีอวกาศเมียร์

เป็นโครงการอวกาศสถานีอวกาศโซเวียต และนับเป็นสถานีวิจัยถาวรระยะยาวแห่งแรกในอวกาศของมนุษยชาติ สถานีประกอบด้วยมอดูลต่าง ๆ หลายมอดูล แต่ละส่วนถูกทะยอยนำขึ้นสู่อวกาศ เริ่มจากส่วนแรกในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1986 จนถึงมอดูลสุดท้ายในปี ค.ศ. 1996 สถานีอวกาศเมียร์หมดอายุการใช้งานและถูกเผาทำลายในบรรยากาศโลกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2001

การบุกเบิก

ภาพแรกของอีกฟากหนึ่งของดวงจันทร์โดยลูนา 3มาร์ส 3, ยานอวกาศลำแรกที่จะลงจอดบนดาวอังคาร

สองวันหลังจากที่ สหรัฐอเมริกา ประกาศความตั้งใจที่จะสร้างดาวเทียม, 31 กรกฎาคม 1956 สหภาพโซเวียตประกาศความตั้งใจที่จะทำเช่นเดียวกัน สปุตนิก 1 เปิดตัววันที่ 4 ตุลาคม 1957 สหรัฐอเมริกาเสียหน้าและคนตื่นตะลึงทั่วทุกมุมโลก[20]

โครงการอวกาศของโซเวียตที่เป็นผู้บุกเบิกสิ่งต่างๆในการสำรวจอวกาศ:

  • ค.ศ. 1957 ขีปนาวุธอาร์-7 เป็นขีปนาวุธข้ามทวีปลูกแรก[21]
  • ค.ศ. 1957 สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมดวงแรก
  • ค.ศ. 1957 ไลก้า เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแรกที่เดินทางไปอวกาศในสปุตนิก 2
  • ค.ศ. 1959 ลูนา 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดวงจันทร์[22]
  • ค.ศ. 1959 ลูนา 2 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดวงจันทร์ [23]
  • ค.ศ. 1959 ลูนา 3 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ถ่ายภาพแรกของอีกฟากหนึ่งของดวงจันทร์ [24]
  • ค.ศ. 1960 เบลก้า (Belka) และ สเตรลก้า (Strelka) ในสปุตนิก 5 เป็นสิ่งมีชีวิตเดินทางไปอวกาศและกลับมาอย่างปลอดภัย
  • ค.ศ. 1961 เวเนรา 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดาวศุกร์ [25]
  • ค.ศ. 1961 ยูริ กาการินเป็นมนุษย์คนแรกในอวกาศ ใน วอสตอค 1
  • ค.ศ. 1961 คนแรกที่จะใช้เวลาในอวกาศ 24 ชั่วโมงคือ Gherman Titov ใน วอสตอค 2[17]
  • ค.ศ. 1962 วอสตอค 3และวอสตอค 4 เป็นการปล่อยยานคู่กันเป็นครั้งแรก [26]
  • ค.ศ. 1962 มาร์ส 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดาวอังคาร
  • ค.ศ. 1963 วาเลนตีนา เตเรชโควา เป็นผู้หญิงคนแรกในอวกาศใน วอสตอค 6 [27]
  • ค.ศ. 1964 วอสฮอด 1 เป็นยานที่สามารถบรรทุกลูกเรือได้3 คนลำแรก
  • ค.ศ. 1965 อเล็กซี ลีโอนอฟ เป็นมนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ ใน วอสฮอด 2[28]
  • ค.ศ. 1965 เวเนรา 3 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดาวศุกร์
  • ค.ศ. 1966 ลูนา 9 เป็นดาวเทียมดวงแรกลงจอดบนดวงจันทร์
  • ค.ศ. 1966 ลูนา 10 เป็นยานที่ลงจอดบนดวงจันทร์ลำแรก
  • ค.ศ. 1967 คอสมอส186 กับ คอสมอส188 เป็นการนัดพบและเทียบท่าไร้คนขับครั้งแรก
  • ค.ศ. 1968 สิ่งมีชีวิตตัวแรกที่โครงจรรอบดวงจันทร์และกลับมาอย่างปลอดภัย เต่ารัสเซีย ในซอนด์ 5
  • ค.ศ. 1969 โซยุซ 4และโซยุซ 5 เป็นการนัดพบและเทียบท่าแบบมีคนขับครั้งแรก
  • ค.ศ. 1970 ลูนา 16 เป็นยานที่มีการเก็บตัวอย่างหินดวงจันทร์โดยใช้ยานระบบอัตโนมัติครั้งแรก[29]
  • ค.ศ. 1970 ลูโนฮอด 1 การนำหุ่นสำรวจอัตโนมัติมาใช้บนดวงจันทร์ครั้งแรก
  • ค.ศ. 1970 เวเนรา 7 เป็นยานอวกาศที่ลงจอดและสำรวจดาวศุกร์ยานแรก [30]
  • ค.ศ. 1971 ซัสยุส 1 เป็นสถานีอวกาศลำแรก
  • ค.ศ. 1971 มาร์ส 2 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดาวอังคาร
  • ค.ศ. 1971 มาร์ส 3 เป็นยานอวกาศลำแรกที่จะลงจอดบนดาวอังคาร
  • ค.ศ. 1975 เวเนรา 9 ถ่ายภาพพื้นผิวของดาวศุกร์เป็นภาพแรก [31]
  • ค.ศ. 1980 Arnaldo Tamayo Méndez (คิวบา) เป็นชาวลาตินและผิวสีคนแรกในอวกาศ โซยุซ 28[32][33]
  • ค.ศ. 1984 Svetlana Savitskaya เป็นผู้หญิงคนแรกที่เดินในอวกาศ ในสถานีอวกาศซัสยุส 7
  • ค.ศ. 1986 ลูกเรือใน สถานีอวกาศซัสยุส 7กับสถานีอวกาศเมียร์ เป็นลูกเรือชุดแรกที่เยือนสถานีอวกาศสองที่ ในภารกิจเดี่ยวกัน
  • ค.ศ. 1986 เวกา 1 และ เวกา 2 เป็นยานแรกที่ใช้บอลลูนบังคับในการสำรวจดาวศุกร์ และการถ่ายภาพระยะใกล้ของดาวหางครั้งแรก
  • ค.ศ. 1986 สถานีอวกาศเมียร์ เป็นสถานีอวกาศแบบประกอบลำแรก
  • ค.ศ. 1987 Vladimir Titov และ Musa Manarov เป็นลูกเรือชุดแรกที่จะใช้เวลาในอวกาศ มากกว่า1ปี[34] ในโซยุซทีเอ็ม-4

ใกล้เคียง

โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท โครงการอวกาศโซเวียต โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย โครงการชุมชนพอเพียง โครงการโฮปเวลล์ โครงการแมนแฮตตัน โครงกระดูกมนุษย์ โครงการอะพอลโล โครงการประชาร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า

แหล่งที่มา

WikiPedia: โครงการอวกาศโซเวียต http://www.astronautix.com/lvs/r7.htm http://www.bostonherald.com/news/international/eur... http://findarticles.com/p/articles/mi_qn4158/is_20... http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1962/1... http://www.ianridpath.com/moon/moon1.htm http://www.mentallandscape.com/S_Sputnik.htm http://www.mentallandscape.com/V_Venus.htm http://www.russianspaceweb.com/a4_team_moscow.html http://www.russianspaceweb.com/gorodomlya.html http://www.russianspaceweb.com/spacecraft_planetar...