โฆษา

โฆษา (สันสกฤต: घोषा; Ghosha) เป็นนักปรัชญาอินเดียโบราณและโหรในยุคพระเวท เธอป่วยด้วยความผิดปกติทางผิวหนังตั้งแต่เด็ก ทำให้เธอมีรูปลักษณ์ที่ผิดแปลกไป ต่อมาอัศวินีกุมารได้รักษาเธอให้หายจากความผิดปกตินี้และช่วยฟื้นฟูความเยาว์วัยของเธอ เธอเป็นผู้สันทัดในพระเวท และนิพนธ์บทสวดรรเสริญสองบทในฤคเวท[1] ชื่ออื่นของเธอคือ มนตรทริกา (mantradarika)[2] และเธอได้รับการยกย่องเป็นพรหมวทินี[1]บิดาของโฆษาคือกักษิวัต ผู้สืบเชื้อสายมาจากทีรฆตมะ ทั้งคู่เป็นผู้นิพนธ์บางตอนในฤคเวท เธอป่วยด้วยโรคเรื้อนซึ่งทำให้เธอมีรูปลักษณ์ที่ผิดปกติ[1][3] เธอได้ตั้งปณิธานดำรงตนเป็นพรหมจารีย์เป็นช่วงเวลายาวนาน และสวดบูชาต่อพระอัศวินเป็นประจำ พระอัศวินเป็นเทวแพทย์สององค์ผู้สันทัดในการรักษาและฟื้นฟูความเยาว์วัย พระอัศวินได้สอนมธุวิทยา วิทยาในพระเวทที่เกี่ยวกับความลับในการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูความเยาว์และได้รับความรู้มหาศาลเพื่อที่จะช่วยให้โฆษาหายจากโรคเรื้อน หลังการสวดภาวนาต่อเนื่องอย่างยาวนาน เธอสมความปราถนาในการหายจากโรคเรื้อน และได้แต่งงาน มีบุตรหนึ่งคนคือ สุษสตยะ (Suhstya) ซึ่งก็เป็นผู้นิพนธ์ตอนหนึ่งในฤคเวทอีกเช่นกัน[1][4][5]โฆษาเป็นผู้นิพนธ์บทสวดสรรเสริญอัศวินีกุมารจำนวนสองบทอยู่ในมณฑลที่สิบของฤคเวท บทแรกเป็นการสรรเสริญพระอัศวิน และบทที่สองเป็นความปราถนาส่วนตัว บอกเล่าความรู้สึกส่วนตัวและความปราถนาในขีวิตแต่งงาน[6][7][8]