บทวิเคราะห์ ของ โซตัส

ธงชัย วินิจจะกูล ระบุว่า โซตัสเฟื่องฟูในประเทศไทยเพราะถ่ายทอดความเป็นไทย ในประเด็นลำดับชั้นทางสังคมและการอิงตัวบุคคล เป็นผลมาจากกระแสอนุรักษนิยมที่เติบโตขึ้นในช่วงทศวรรษหลัง ๆ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาต่อโลกาภิวัฒน์และภัยคุกคามจากตะวันตก[2]

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของโซตัสคือการสร้างความสัมพันธ์รุ่นพี่-รุ่นน้อง และความรักพวกพ้องที่เหนียวแน่น เพื่อประโยชน์ต่อการสร้างระบบอุปถัมภ์ในชีวิตการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบราชการ ส่วนอาจารย์มหาวิทยาลัยก็ได้ประโยชน์จากโซตัส คือ เป็นการใช้อำนาจควบคุมนักศึกษาผ่านรุ่นพี่ทำให้เชื่อง พวกเขารู้ทุกขั้นตอนของการรับน้องและเป็นผู้อนุมัติเอง[1]

นักศึกษาผู้ดูแลกิจกรรมการรับน้องที่ขอไม่เปิดเผยชื่อคนหนึ่ง ให้สัมภาษณ์ว่า หลักการทั้ง 5 ข้อของโซตัสอย่างมากก็สร้างได้เพียงเปลือกในขั้นตอนการรับน้อง เช่น การยกมือไหว้รุ่นพี่ แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่าไม่ได้เป็นการไหว้เพราะกลัวถูกลงโทษ

แหล่งที่มา

WikiPedia: โซตัส http://web.archive.org/20040308214505/www.geocitie... http://www.memocent.chula.ac.th/knowledge/kn05_01.... http://www.nrru.ac.th/knowledge/laws004.asp https://www.bbc.com/thai/thailand-44934203 https://www.khaosodenglish.com/news/2018/06/18/sot... https://www.posttoday.com/social/think/364044 https://prachatai.com/journal/2013/05/46916 https://prachatai.com/journal/2015/10/61956 https://prachatai.com/journal/2018/07/78028 https://conference.kku.ac.th/colaimg/files/article...