กลไกการออกฤทธิ์ ของ โทบรามัยซิน

โทบรามัยซินออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย โดยเข้าจับกับหน่วยย่อย 30 เอส และหน่วยย่อย 50 เอสของไรโบโซมแบคทีเรียเพื่อรวมกันเป็น 70 เอสไรโบโซม ทำให้เอ็มอาร์เอ็นเอไม่สามารถแปลรหัสพันธุกรรมเพื่อสร้างโปรตีนที่จำเป็นต้องการดำรงชีวิตและการเพิ่มจำนวนได้ ส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียนั้นๆตายในที่สุด จากการศึกษาของ Kotra และคณะ พบว่ายากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งรวมถึงโทบรามัยซินจะมีหมู่เอมีนที่มีการรับโปรตอนเข้ามาจนเกิดเป็นประจุบวกจำนวนมากในโมเลกุล ซึ่งประจุที่เกิดขึ้นนี้จะมีความจำเพาะในการจับกับนิวคลีโอไทด์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์โพรแคริโอต นอกจากนี้แล้วยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ยังสมารถจับกับไรโบไซม์หัวค้อน (hammerhead ribozyme), เฟนิลอะลานีน—ทีอาร์เอ็นเอ (Phenylalanine—tRNA), HIV Rev response element, ไรโบไซม์จากไวรัสตับอักเสบ ดี, และ Group I catalytic intron ได้ด้วย[5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โทบรามัยซิน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.33377... http://www.mmdnewswire.com/nebulized-tobramycin-in... http://www.toku-e.com/Assets/MIC/Tobramycin.pdf http://www.toku-e.com/Upload/Products/PDS/20120515... http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=/pages... http://www.kegg.jp/entry/D00063 http://www.whocc.no/atc_ddd_index/?code=S01AA12 http://www.commonchemistry.org/ChemicalDetail.aspx... http://www.ebi.ac.uk/pdbe-srv/PDBeXplore/ligand/?l... https://www.drugbank.ca/drugs/DB00684