การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ของ โทบรามัยซิน

ด้วยเหตุที่โทบรามัยซินไม่สามารถถูกดูดซึมได้จากทางเดินอาหารเหมือนกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ดังนั้นจึงไม่มียานี้ในรูปแบบรับประทาน โดยรูปแบบเภสัชภัณฑ์ของโทบรามัยซินที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ยาสำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (ชื่อการค้าคือ Nebcin), ยาสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ยาใช้เฉพาะที่สำหรับป้ายตา (สูตรเดี่ยวมีชื่อการค้าคือ Tobrex; สูตรผสมเด็กซาเมทาโซนมีชื่อการค้าคือ TobraDex) และรูปแบบยาพ่นเข้าทางจมูก (ชื่อการค้าคือ Tobi) โดยในรูปแบบยาใช้ภายนอกและยาพ่นนั้น ตัวยาจะมาสารถแพร่ผ่านเข้าไปยังหลอดเลือดได้น้อย โดยยาในรูปแบบฉีดและพ่นมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาการกำเริบของการติดเชื้อ Pseudomonas aeruginosa เรื้อรังในผู้ป่วยซิสติก ไฟโบรซิส นอกเหนือจากนั้นโทบรามัยซินในรูปแบบพ่นละอองฝอยยังได้รับการทดสอบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโพรงอากาศอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้[2] สำหรับยาใช้เฉพาะที่สำหรับดวงตานั้น ได้แก่ Tobrex ซึ่งมีความเข้มข้นของโทบรามัยซิน 0.3% ที่ผลิตโดยบอช แอนด์ ลอมบ์ นั้นมีการผสมเบนซาลโคเนียมคลอไรด์ 0.01% เพื่อเป็นสารกันเสีย แต่อย่างไรก็ตาม ยานี้มีวางตลาดในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในฐานะยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อยาเท่านั้น แต่ในหลายประเทศ เช่น อิตาลี ยานี้จัดเป็นยาจำหน่ายหน้าเคาเตอร์ (over the counter; OTCs) โดย Tobrex และ TobraDex นั้นมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตา เช่น โรคเยื่อบุตาอักเสบจากแบคทีเรีย (Bacterial conjunctivitis) เป็นต้น ส่วนโทบรามัยซินในรูปแบบยาฉีดจะมีข้อบ่งใช้สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่มีความรุนแรงมากหรือมีความเสี่ยงต่อชีวิต เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารก, บรูเซลโลสิส, การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน, การติดเชื้อ Yersinia pestis (กาฬโรค).[ต้องการอ้างอิง] ยิ่งไปกว่านั้น โทบรามัยซินยังถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเจนตามัยซินในการรักษาโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa เนื่องจากโทบรามัยซินสามารถแพร่ผ่านเข้าไปยังเนื้อเยื่อปอดได้ดีกว่า[ต้องการอ้างอิง].

ขอบเขตการออกฤทธิ์

โทบรามัยซินมีขอตเขตการออกฤทธิ์ที่แคบ ส่วนใหญ่แบคทีเรียแกรมลบ มีเพียงแบคทีเรียแกรมบวกสายพันธุ์เดียวที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยโทบรามัยซินได้เป็นอย่างดี คือ Staphylococcus aureus แต่ในทางคลินิกจะนิยมใช้โทบรามัยซินในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa ในผู้ป่วยซิสติก ไฟโบรซิส โดยค่าความเข้มข้นของโทบรามัยซินต่ำสุด (ในหลอดทดลอง) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa และ Klebsiella pneumoniae ดังแสดงด้านล่าง:

  • Pseudomonas aeruginosa - <0.25 µg/mL - 92 µg/mL[3]
  • Pseudomonas aeruginosa (non-mucoid) - 0.5 µg/mL - >512 µg/mL[3]
  • Pseudomonas aeruginosa (ATCC 27853) - 0.5 µg/mL - 2 µg/mL[3]
  • Klebsiella pneumoniae, KP-1, เท่ากับ 2.3±0.2 µg/mL ที่อุณหภูมิ 25 °C

แหล่งที่มา

WikiPedia: โทบรามัยซิน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.33377... http://www.mmdnewswire.com/nebulized-tobramycin-in... http://www.toku-e.com/Assets/MIC/Tobramycin.pdf http://www.toku-e.com/Upload/Products/PDS/20120515... http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=/pages... http://www.kegg.jp/entry/D00063 http://www.whocc.no/atc_ddd_index/?code=S01AA12 http://www.commonchemistry.org/ChemicalDetail.aspx... http://www.ebi.ac.uk/pdbe-srv/PDBeXplore/ligand/?l... https://www.drugbank.ca/drugs/DB00684