สภาพแวดล้อมด้านกฎหมายโทรคมนาคมในประเทศไทย ของ โทรคมนาคมในประเทศไทย

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  [28]

พระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ในฐานะหน่วงงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมและการกระจายเสียงแห่งเดียวในประเทศไทย

พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอุสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทยโดยกำหนดให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แบ่งเป็นประเภทตามใบอนุญาตการสื่อสารโทรคมนาคมออกเป็นสามประเภทได้แก่

  • ใบอนุญาตด้านโทรคมนาคมสำหรับผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคม เป็นของตนเอง
  • ใบอนุญาตด้านโทรคมนาคมสำหรับผู้ให้บริการที่มีหรือไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคม เป็นของตนเอง ให้บริการแบบเฉพาะกลุ่มหรือแบบสาธารณะ
  • ใบอนุญาตด้านโทรคมนาคมสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป

พระราชบัญญัติได้รับการเปลี่ยนในปี พ.ศ. 2549 ภายใต้รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นจำนวนมากในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยได้

เดิมทีในปี พ.ศ. 2544 ชาวต่างชาติไม่ได้รับอนุญาตให้ยื่นขอใบอนุญาตประเภทสองหรือสามประเภทภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการต่างประเทศ (FBA)[29]

ผู้ที่ยื่นขอใบอนุญาตประเภทที่สองและสามจะต้องเป็นบริษัทที่มีกรรมการบริษัทผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นอย่างน้อย 3 ใน 4 ของคณะกรรมการบริษัท และไม่รวมกันไม่น้อยกว่า 75% อำนาจในการลงนามต่างๆหรือผู้ยื่นคำของต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น

แต่จากการเปลี่ยนพระราชบัญญัติ ในปี พ.ศ. 2549 ได้ยกเลิกข้อกำหนดเพิ่มเติมทั้งหมดของผู้ขอใบอนุญาตประเภทสองและประเภทสามโดยระบุว่าชาวต่างชาติสามารถถือครองได้ถึง 49% ในผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมประเภทที่สองหรือประเภทที่สาม ไม่มีข้อจำกัด เกี่ยวกับสัดส่วนหรือจำนวนผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวต่างชาติ และผู้มีอำนาจลงนามสามารถเป็นชาวต่างชาติได้

ค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตด้านโทรคมนาคมประกอบด้วยค่าธรรมเนียมสามอย่างคือค่าอนุญาตให้มีใบอนุญาต ค่าต่ออายุและค่าธรรมเนียมรายปี

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 กสทช. ได้ออกใบอนุญาตด้านโทรคมนาคมจำนวน 186 ใบอนุญาตประกอบไปด้วย[30]

  • ประเภทที่ 1 จำนวน 144 ใบอนุญาต
  • ประเภทที่ 2 สำหรับผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคม เป็นของตนเอง จำนวน 7 ใบอนุญาต
  • ประเภทที่ 2 สำหรับผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายโทรคมนาคม เป็นของตนเอง จำนวน 10 ใบอนุญาต
  • ประเภทที่ 3 จำนวน 25 ใบอนุญาต

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 กสทช. ได้รับการขออนุญาตประกอบการกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือน (MVNO) จำนวน 43 ราย[31] แต่เปิดให้บริการเพียง 9 รายเท่านั้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: โทรคมนาคมในประเทศไทย http://www.bangkokpost.com/news/local/386972/b50bn... http://www.kao-it.com/2016/01/30/%E0%B8%AB%E0%B8%A... http://www.yozzo.com/news-and-information/mvno-mob... http://www.yozzo.com/news-and-information/mvno-mob... http://ijcim.th.org/past_editions/1996V04N1/15_Tel... http://www.tot.co.th/files/past%20to%20present-21-... http://www.boi.go.th/index.php?page=legal_issues_f... http://www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC/eng http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/a0726c804a97... http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/df9dca80442e...