โทรศัพท์ ของ โทรคมนาคมในประเทศไทย

ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานเพียงรายเดียวได้แก่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยสถิติในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2557 มีผู้ใช้บริการจำนวน 5,687,038 เลขหมายลดลงจากปี พ.ศ. 2551[1]

ผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2424 โดยกระทรวงกลาโหม ต่อมาได้มีการโอนกิจการให้แก่กรมไปรษณีย์โทรเลข องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2497[2]

การให้บริการของโทรศัพท์พื้นฐานในอดีตนั้นค่อนข้างมีข้อจำกัดสูง อัตราการเติบโตของธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานในปี พ.ศ. 2534 อยู่ที่ 3.3 เลขหมายต่อประชากร 100 คน ก่อนที่จะมีการเปิดให้บริษัทเอกชนรับสัมปทานเพื่อสร้างและใช้โทรศัพท์พื้นฐาน 2 รายได้แก่บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบัน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) สำหรับให้บริการในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล และบริษัท ไทย เทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) สำหรับให้บริการในต่างจังหวัด[3]

โทรศัพท์เคลื่อนที่

ในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2557 มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยที่ 97.6 ล้านเลขหมาย คิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 146% แบ่งเป็นผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน 84.8 ล้านเลขหมาย โดย 99% ของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้ผู้ให้บริการหลัก 3 ราย (รวมถึงผู้ให้บริการในเครือด้วย) ได้แก่ เอไอเอส มีสัดส่วนผู้ใช้บริการอยู่ที่ 46.52% รองลงมาได้แก่ ดีแทค 28.50% และทรูมูฟ เอช 24.26% ส่วนผู้ให้บริการรายอื่นรวมถึงรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ทีโอที 0.57% และ กสท. โทรคมนาคม 0.15% รวมถึงผู้ประกอบการกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือน (MVNO)

ในช่วงปี พ.ศ. 2520 - 2540 บริษัทเอกชนจะได้รับสัมปทานสำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดย ทีโอที และ กสท. ก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านการอนุญาตให้บริการจากระบบสัมปทานเป็นขอใบอนุญาตในปี พ.ศ. 2545 - 2546 ตามพระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 1 และจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นเพื่อกำกับดูแลคลื่นความถี่ของชาติ[4]การจัดการที่สำเร็จครั้งแรกได้แก่การจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติโดยคณะกรรมการ กสทช. ในปี พ.ศ. 2555 โดยจัดสรรคลื่นความถี่ช่วง 2100 ความกว้าง 15 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 3 ใบอนุญาต โดยทั้งสามผู้ให้บริการรายใหญ่ได้ไปรายละ 1 ใบอนุญาต

ในปี พ.ศ. 2558 ที่ กสทช. ได้มีการจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจำนวน 2 ย่านความถี่ได้แก่คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ความกว้าง 15 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต และ คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ความกว้าง 2x10 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต โดยในเดือนพฤศจิกายน การประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ใช้เวลากว่า 33 ชั่วโมงในการประมูล โดยผู้ชนะคือ เอไอเอส และทรูมูฟ เอช และคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ใช้เวลากว่า 4 วัน 4 คืน โดยผู้ชนะได้แก่ ทรูมูฟเอช และ แจส โมบาย (กลุ่มบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล)[5] แต่กลุ่มจัสมิน ไม่สามารถนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ได้ จึงถูกยึดเงินประกัน และปรับเป็นเงินกว่า 199 ล้านบาท [6][7] โดยหลังจากทำการเปิดประมูลใหม่มีเพียง เอไอเอส ที่เข้ารับซองประมูล[8]

ในปี พ.ศ. 2561 ได้มีการจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจำนวน 2 ย่านความถี่ได้แก่คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ความกว้าง 2x5 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 9 ใบอนุญาต และ คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ความกว้าง 2x5 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 1 ใบอนุญาต โดยผลการเข้าประมูล เอไอเอส และ ดีแทค ที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไปเพียงรายละ 1 ใบอนุญาต[9] และได้เปิดการประมูล คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ อีกครั้งในเดือนตุลาคม โดยดีแทคได้ตอบรับ และเข้าประมูลเพียงรายเดียว[10]

ในปี พ.ศ. 2562 ผู้ให้บริการหลักทั้ง 3 รายได้แก่ เอไอเอส, ทรูมูฟเอช และ ดีแทค ได้เข้ายื่นประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 2x10 Mhz ด้วยเงื่อนไขเรื่องการขอยืดการชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ออกไปเป็นระยะเวลา 10 ปี[11]

ในปี พ.ศ. 2563 กสทช. ได้ประกาศจัดประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 2x5 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 3 ใบอนุญาต, คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 2x5 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 7 ใบอนุญาต, คลื่นความถี่ 2600 เมกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 10 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 19 ใบอนุญาต และใบอนุญาตคลื่นความถี่ 26 จิกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 100 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 27 ใบอนุญาต เพื่อรอบรับการขยายตัวทางโทรคมนาคมและ เตรียมความพร้อมให้กับเทคโนโลยี 5 จี โดยมีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมทั้ง 5 รายเข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้ และได้จัดให้มีการประมูลขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563[12] โดยผลการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่มีดังต่อไปนี้

  • ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ์ กสท โทรคมนาคม ผู้ให้บริการ My by CAT ชนะการประมูลจำนวน 2 ใบอนุญาต และ เอไอเอส ชนะการประมูล 1 ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ไม่มีผู้เข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้
  • ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2600 เมกะเฮิร์ตซ์ เอไอเอส ชนะการประมูลจำนวน 10 ใบอนุญาต และ ทรูมูฟเอช ชนะการประมูลจำนวน 9 ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 26 จิกะเฮิร์ตซ์ เอไอเอส ชนะการประมูลจำนวน 12 ใบอนุญาต, ทรูมูฟเอช จำนวน 8 ใบอนุญาต, ทีโอที จำนวน 4 ใบอนุญาต, ดีแทค จำนวน 2 ใบอนุญาต และเหลือว่างอีก 1 ใบอนุญาต

โดยเมื่อรวมเงินค่าประมูลใบอนุญาตทั้งหมดนั้น รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 100,193 ล้านบาท[13]

ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน

     ใบอนุญาต (เปิดให้บริการ)
     ใบอนุญาต (ยังไม่เปิดให้บริการ)
     เช่าคลื่นความถี่
ผู้ให้บริการคลื่นความถี่ที่ให้บริการเทคโนโลยีผู้ใช้งานการบริหารงาน/ผู้ถือหุ้น
700 MHz850 MHz900 MHz1800 MHz2100 MHz2300 MHz2600 MHz26 GHzรวม
เอไอเอส30 MHz
(2 x 15)
20 MHz
(2 x 10)
40 MHz
(2 x 20)
30 MHz
(2 x 15)
100 MHz1,200 MHz1,450 MHzGSM , GPRS , EDGE (900 MHz)
UMTS , HSPA+ (2100 MHz)
LTE , LTE-U (900/1800/2100 MHz)
5G NR (2600 MHz)
42 ล้านเลขหมาย
(ปี พ.ศ. 2562)[14]
30 MHz(1)
(2 x 15)
ทรูมูฟ เอช20 MHz
(2 x 10)
30 MHz(2)
(2 x 15)
20 MHz
(10 x 2)
30 MHz(3)
(2 x 15)
30 MHz(3)
(2 x 15)
90 MHz800 MHz1,020 MHzGSM , GPRS , EDGE (900 MHz)
UMTS , HSPA+ , DC-HSPA+ (850/2100 MHz)
LTE , LTE-A (900/1800/2100 MHz)
5G NR (2600 MHz)
30.1 ล้านเลขหมาย
(ไตรมาส 3/2562)[16]
ดีแทค20 MHz
(2 x 10)
10 MHz
(2 x 5)
10 MHz
(2 x 5)
30 MHz
(2 x 15)
60 MHz(4)200 MHz330 MHzGSM , GPRS , EDGE (1800 MHz)
UMTS , HSPA+ (900/2100 MHz)
LTE (1800/2100/2300 MHz)
20.642 ล้านเลขหมาย
(ไตรมาส 4/2562)[18]
  • TELENOR ASIA (42.62%)[19]
  • บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด (22.43%)
  • บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด (10.54%)
  • บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (5.58%)
My20 MHz
(2 x 10)
30 MHz(2)
(2 x 15)
30 MHz(3)
(2 x 15)
30 MHz(3)
(2 x 15)
110 MHzUMTS , HSPA+ , DC-HSPA+ (850 MHz)
LTE , LTE-A (1800/2100 MHz)
2.1 ล้านเลขหมาย
(ปี พ.ศ. 2561)[20]
ทีโอที30 MHz(1)
(2 x 15)
60 MHz(4)400 MHz490 MHzUMTS, HSPA, HSPA+, DC-HSPA+ (2100 MHz)
LTE , LTE-U/LAA (2300 MHz)
1.4 แสนเลขหมาย
(ข้อมูลปี พ.ศ. 2561)[22]
หมายเหตุ
  • 1 AIS ได้เช่าคลื่น 2100 ของ TOT[23]
  • 2 TRUE ได้เช่าคลื่น 850 ของทาง My
  • 3 MY ได้ใช้คลื่น 1800 / 2100 ของ TRUE[24]
  • 4 DTAC ชนะในการเสนอเช่าคลื่น 2300 ของ TOT[25]

นอกจากผู้ให้บริการหลักทั้ง 5 รายแล้ว ยังมีผู้ให้บริการบนโครงข่ายเสมือน (MVNO)[26] อาทิ ซิมเพนกวิน โดย บริษัท เดอะไวท์สเปซ จำกัด หรือ i-Kool 3G โดยล็อกซเล่ย์ เป็นต้น รวมถึงแบรนด์ย่อยของผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายแล้วเช่น ฟินโมบาย (FINN MOBILE) โดยกลุ่มบริษัทดีแทค หรือ นิว โมบาย (NU Mobile) โดยกลุ่มบริษัทเอไอเอสเป็นต้น

ระบบหลัก

หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานจะมีเลขจำนวน 9 หลัก ส่วนหมายเลขโทรศัพท์มือถือจะมีเลขจำนวน 10 หลัก โดยที่ทั้ง 2 ระบบขึ้นต้นด้วย "0"

แหล่งที่มา

WikiPedia: โทรคมนาคมในประเทศไทย http://www.bangkokpost.com/news/local/386972/b50bn... http://www.kao-it.com/2016/01/30/%E0%B8%AB%E0%B8%A... http://www.yozzo.com/news-and-information/mvno-mob... http://www.yozzo.com/news-and-information/mvno-mob... http://ijcim.th.org/past_editions/1996V04N1/15_Tel... http://www.tot.co.th/files/past%20to%20present-21-... http://www.boi.go.th/index.php?page=legal_issues_f... http://www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC/eng http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/a0726c804a97... http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/df9dca80442e...