โทรคมนาคมในประเทศไทย

การสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศไทย เริ่มขึ้นครั้งแรกด้วยการให้บริการโทรเลขเมื่อปี พ.ศ. 2418 โดยมีกรมโทรเลขเป็นผู้ดูแลการให้บริการ ในอดีต การพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศไทย อยู่ในการให้บริการโดยหน่วยงานของภาครัฐเท่านั้น จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ และโทรทัศน์ โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการทหารที่ยังคงควบคุมคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์จำนวนมากในช่วงปี พ.ศ. 2530 - 2540 เป็นช่วงการเปิดให้บริการโทรคมนาคมอย่างเสรีกับภาคประชาชน โดยมีหน่วยงานของรัฐ 3 หน่วยงานที่ดูแลกิจการโทรคมนาคมเป็นหลัก ได้แก่ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือทีโอที), การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ กสท โทรคมนาคม) และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ อสมท) และแปรสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจในรูปแบบบริษัทมหาชนจำกัดในปี พ.ศ. 2546-2547 โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้คลื่นความถี่ทั้งหมดเป็น "ทรัพยากรการสื่อสารของชาติเพื่อสวัสดิการสาธารณะ" โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระขึ้นซึ้งมีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่, ตรวจสอบ และควมคุมการติดต่อสื่อสารในประเทศไทยได้แก่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงแห่งชาติ (กสช.) ในปี พ.ศ. 2541 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง กทช. ชุดแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2547การจัดตั้ง กทช. ทำให้มีการโอนหน้าที่และทรัพย์สินของกรมไปรษณีย์โทรเลข ในการกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มาเป็นของคณะกรรมการ กทช. รวมถึงในส่วนของกองงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ ในการกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรีอีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันในส่วนของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงแห่งชาติในขณะนั้นไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากมีการโต้แย้งรวมถึงข้อพิพาทต่างๆทั้งในการกระบวนการสรรหาและการเมืองภายในภาคสื่อเองภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้มีการตัดสินใจควบรวมกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม โดยได้ยุบหน่วยงานทั้ง กทช. และ กสท. เดิม และตราพระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และบังคับใช้ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งในพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุการจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการด้านโทรคมนาคม โดยกำหนดให้เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐภารกิจแรกของคณะกรรมการ กสทช. คือการจัดประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมประเภทบริการ 3 จี ในปี พ.ศ. 2555 ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยมีการออกใบอนุญาตในช่วงคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ ทั้งหมด 3 ใบ ให้กับ เอไอเอส, ทรูมูฟ เอช และดีแทคในปี พ.ศ. 2556 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) หน่วยงานย่อยของ กสทช. ได้เปิดให้มีการประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดินแห่งชาติจำนวน 42 ใบ และเปิดให้บริการได้ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันแม้จะเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 แต่ด้วยพระราชบัญญัติ กสทช. ยังมีผลบังคับใช้จึงทำให้คณะกรรมการยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนได้มีการออกพระราชบัญญัติฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2560 โดยได้ยุบหน่วยงานย่อยของกสทช. ทั้งหมดให้เหลือเพียงหน่วยงาน กสทช. เพียงหน่วยงานเดียว อีกทั้งยังต้องให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจประเด็นตามๆ จากเดิมที่ให้อำนาจกสทช. ตัดสินใจเองในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 รัฐบาลทหารได้ออกคำสังให้สถานีวิทยุชุมชนทั้งหมดต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง โดยจะมีการตรวจสอบก่อนได้รับใบอนุญาต โดยช่วงแรกได้ออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ก่อนในช่วงเดือนกันยายนไปยังสถานีวิทยุที่ได้รับใบอนุญาตอยู่ก่อนหน้าแล้ว ซึ่งต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงหลักเกณฑ์ต่างๆ ก่อนสามารถเผยแพร่การออกอากาศได้ ในระหว่างที่รอการตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตฉบับใหม่ต่อไปผู้ประกอบการโทรคมนาคมเริ่มได้รับสัมปทานกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งรัฐบาลได้แก้ไขให้ยกเลิกระบบสัมปทานคลื่นความถี่ด้านโทรคมนาคม และสิ้นสุดเมื่อปี พ.ศ. 2558สำหรับบริการหรือข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัมปทานจะแตกต่างกันไปในช่วง 1-15 ปี โดยสัญญาสัมปทานเกือบทั้งหมดเป็นสัญญาที่เขียนขึ้นตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายหรือ BTO โดยนักลงทุนเอกชนต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายที่จำเป็นทั้งหมด และโอนทรัพย์สินที่สร้างขึ้นไปยังเจ้าของสัมปทานหรือหน่วยงานของรัฐก่อนที่จำสามารถดำเนินการหรือให้บริการแก่ประชาชนได้ปัจจุบันตลาดเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผู้ประกอบการหลัก 3 รายและมีอัตราการเติบโตสูงถึง 136% โดยปัจจุบันผู้ให้บริการเครือข่ายหลักๆ จะใช้เทคโนโลยีของกลุ่ม GSM และ 3GPP ได้แก่ GSM, EDGE, UTMS และ LTE ส่วนตลาดโทรทัศน์ในประเทศปัจจุบันแบ่งเป็นโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม 6 ช่อง และโทรทัศน์ระบบสัญญาณดิจิทัลจำนวน 26 ช่อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โทรคมนาคมในประเทศไทย http://www.bangkokpost.com/news/local/386972/b50bn... http://www.kao-it.com/2016/01/30/%E0%B8%AB%E0%B8%A... http://www.yozzo.com/news-and-information/mvno-mob... http://www.yozzo.com/news-and-information/mvno-mob... http://ijcim.th.org/past_editions/1996V04N1/15_Tel... http://www.tot.co.th/files/past%20to%20present-21-... http://www.boi.go.th/index.php?page=legal_issues_f... http://www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC/eng http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/a0726c804a97... http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/df9dca80442e...