ประวัติ ของ โทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง

ก่อนถึงทศวรรษ 1990 ไม่มีใครคิดว่าจะมีความเป็นไปได้ที่รายการโทรทัศน์จะถูกบีบอัดลงในอัตราการส่งถ่ายข้อมูลทางโทรคมนาคมที่จำกัดของสายโทรศัพท์ทองแดง เพื่อให้บริการสัญญาณต่อเนื่องในคุณภาพที่ยอมรับได้ เนื่องจากอัตราการส่งสัญญาณออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัลขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 200 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งมากกว่าอัตราการส่งสัญญาณเสียงของสายโทรศัพท์ทองแดงมากกว่า 2,000 เท่า

บริการสัญญาณต่อเนื่องนั้นเกิดขึ้นได้เนื่องจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่สำคัญ 2 ประการ คือ การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง (DCT) การบีบอัดวิดีโอ และการส่งข้อมูลผ่านเทคโนโลยีสื่อสารผ่านสายความเร็วสูงแบบไม่สมมาตร (ADSL)[1] DCT เป็นเทคนิคการบีบอัดข้อมูลแบบสูญเสียบางส่วนที่ถูกเสนอครั้งแรกโดยนาเซียร์ อาเหม็ด ในปี ค.ศ. 1972[2] และต่อมาถูกดัดแปลงเป็นอัลกอริทึมการชดเชยการเคลื่อนไหว สำหรับมาตรฐานการเข้ารหัสวิดีโอ เช่น รูปแบบ H.26x ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 เและรูปแบบ MPEG ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา[3][4] การบีบอัดวิดีโอของ DCT ในการชดเชยการเคลื่อนไหว ช่วยลดจำนวนอัตราการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลขั้นต่ำอย่างมีนัยสำคัญ จากประมาณ 200 เมกะบิตต่อวินาที ลงเป็นประมาณ 2 เมกะบิตต่อวินาที ขณะที่ ADSL ช่วยเพิ่มอัตราการส่งผ่านสายโทรศัพท์ทองแดงจากประมาณ 100 กิโลบิตต่อวินาที ขึ้นเป็น 2 เมกะบิตต่อวินาทีได้ การรวมกันของเทคโนโลยี DCT และ ADSL ทำให้สามารถให้บริการสัญญาณต่อเนื่องที่ความเร็วประมาณ 2 เมกะบิตต่อวินาที[1]

กลางยุค 2000 เป็นจุดเริ่มต้นของรายการโทรทัศน์ที่มีอยู่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ให้บริการรับฝากวีดิทัศน์อย่างยูทูบ เปิดตัวในต้นปี ค.ศ. 2005 อนุญาตให้ผู้ใช้แบ่งปันรายการโทรทัศน์ที่เผยแพร่อย่างผิดกฎหมาย[5] ยาวีด คาริม ผู้ร่วมก่อตั้งยูทูบ กล่าวว่า แรงบันดาลใจของยูทูบมาจากบทบาทของ เจเน็ต แจ็กสัน ในระหว่างการแข่งขันซูเปอร์โบวล์เมื่อปี ค.ศ. 2004 เมื่อเต้านมของเธอถูกเปิดเผยระหว่างการแสดงของเธอ และต่อมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ค.ศ. 2004 คาริมไม่สามารถค้นหาวิดีโอคลิปของกิจกรรมออนไลน์ได้ นำไปสู่ความคิดของเว็บไซต์แบ่งปันวิดีโอดังกล่าว

บริการไอทูนส์ของแอปเปิล เริ่มเสนอรายการโทรทัศน์และซีรีส์ที่ได้รับการคัดสรรในปี ค.ศ. 2005 พร้อมให้ดาวน์โหลดหลังจากชำระเงินโดยตรง[5] ไม่กี่ปีต่อมา เครือข่ายโทรทัศน์และบริการอิสระอื่น ๆ เริ่มสร้างเว็บไซต์ที่สามารถแสดงรายการและสตรีมออนไลน์ได้ วิดีโอของแอมะซอน เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐอเมริกาในชื่อ แอมะซอนอันบอกซ์ ในปี ค.ศ. 2006 แต่ไม่ได้เปิดตัวทั่วโลกจนถึงปี ค.ศ. 2016[6] เน็ตฟลิกซ์ เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อการเช่าดีวีดีและการขายเริ่มให้บริการสตรีมเนื้อหาในปี ค.ศ. 2007[7] ในปี ค.ศ. 2008 ฮูลู เป็นเจ้าของโดยเอ็นบีซีและฟ็อกซ์ เปิดตัวขึ้น แล้วตามด้วย tv.com ในปี ค.ศ. 2009 โดยซีบีเอส และเครื่องเล่นสื่อดิจิทัลก็เริ่มให้บริการแก่สาธารณชนในช่วงเวลานี้ แอปเปิลทีวีรุ่นแรกเปิดตัวในปี ค.ศ. 2007 และในปี 2008 มีการประกาศเปิดตัวอุปกรณ์ส่งสัญญาณต่อเนื่อง โรคุ รุ่นแรก[8][9]

โทรทัศน์อัจฉริยะเริ่มเข้าครอบครองตลาดโทรทัศน์หลังจากปี ค.ศ. 2010 และยังคงเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ เพื่อส่งสัญญาณต่อเนื่องไปสู่ผู้ใช้มากยิ่งขึ้น[10] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 โทรทัศน์อัจฉริยะเป็นโทรทัศน์ระดับกลางถึงระดับสูงประเภทเดียวที่ผลิตขึ้น เครื่องเล่นสื่อดิจิทัลของแอมะซอน ในเวอร์ชันแอมะซอนไฟร์ทีวี ไม่ได้เสนอขายต่อสาธารณะจนถึงปี ค.ศ. 2014

เครื่องเล่นสื่อดิจิทัลเหล่านี้ยังคงได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมีการวางจำหน่ายรุ่นใหม่ การเข้าถึงการเขียนโปรแกรมโทรทัศน์ได้พัฒนาจากการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ รวมถึงอุปกรณ์มือถือ เช่น โทรศัพท์อัจฉริยะ และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ แอพสำหรับอุปกรณ์มือถือเริ่มให้บริการผ่านแอปสโตร์ในปี ค.ศ. 2008 แอพมือถือเหล่านี้อนุญาตให้ผู้ใช้ดูเนื้อหาบนอุปกรณ์มือถือที่รองรับแอพ หลัง ค.ศ. 2010 ผู้ให้บริการโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแบบดั้งเดิมเริ่มให้บริการโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง

ในปี ค.ศ. 2017 ยูทูบเปิดตัวยูทูบทีวี บริการโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่องที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับชมรายการทีวีสดจากช่องเคเบิล หรือช่องยอดนิยม และรายการบันทึก เพื่อการรับสัญญาณต่อเนื่องได้ทุกที่ทุกเวลา[11] ในปีเดียวกัน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 28% และผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 29 ปี อีก 61% รับชมโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่องเป็นหลัก[12] และในปี ค.ศ. 2018 เน็ตฟลิกซ์เป็นเครือข่ายทีวีสตรีมมิ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นบริษัทสื่ออินเทอร์เน็ตและความบันเทิงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการจำนวน 117 ล้านราย และจากรายรับและการตลาด[13][14]

ใกล้เคียง

โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย โทรทัศน์ โทรทัศน์ในประเทศไทย โทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่น โทรทัศน์ภาคพื้นดิน โทรทัศน์ความละเอียดสูง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล โทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล

แหล่งที่มา

WikiPedia: โทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง http://www.roughlydrafted.com/RD/Home/21133BEF-61B... http://phx.corporate-ir.net/phoenix.zhtml?c=176060... //doi.org/10.1016%2F1051-2004(91)90086-Z http://www.pewresearch.org/fact-tank/2017/09/13/ab... https://www.bloomberg.com/amp/gadfly/articles/2018... https://www.cnbc.com/2018/01/22/netflix-earnings-q... https://books.google.com/books?id=7XuU8T3ooOAC&pg=... https://books.google.com/books?id=FZiK3zXdK7sC&pg=... https://hothardware.com/news/inside-the-tech-of-th... https://media.netflix.com/en/about-netflix