การดักจับโดยสหราชอาณาจักร ของ โทรเลขซิมแมร์มันน์

ส่วนหนึ่งของโทรเลขที่ถูกถอดรหัสโดยหน่วยสืบราชการลับของสหราชอาณาจักร คำว่า "แอริโซนา" ยังไม่ปรากฏในชุดรหัสลับของเยอรมัน เนื่องจากรัฐแอริโซนาเพิ่งถูกผนวกเข้ากับสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2455 ดังนั้นคำว่าแอริโซนาจึงถูกแปลงเป็นพยางค์สำหรับการออกเสียงแทน

โทรเลขดังกล่าวถูกส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูตเยอรมันในสหรัฐอเมริกาสำหรับการทวนสัญญาณและส่งซ้ำอีกรอบไปยังฟอน เอคคาดท์ ในเม็กซิโก เดิมทีมีกากล่าวอ้างว่าโทรเลขถูกส่งโดยผ่านสามเส้นทางได้แก่ การส่งผ่านสัญญาณวิทยุ การส่งผ่านสายโทรเลขทรานส์แอตแลนติกซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลฝ่ายที่เป็นกลางในสงคราม (สหรัฐอเมริกาและสวีเดน) โดยมีไว้เพื่อการใช้งานด้านการทูตของตน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงแล้ว พบว่าโทรเลขถูกส่งผ่านเพียงเส้นเดียวคือผ่านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงเบอร์ลิน ก่อนจะส่งผ่านสายโทรเลขทางการทูตไปยังกรุงโคเปนฮาเกน จากนั้นจึงจะถูกส่งไปยังกรุงลอนดอนและต่อไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ผ่านสายโทรเลขทรานส์แอตแลนติก[11] ข้อมูลเป็นของการส่งผ่านสามเส้นทางนี้ถูกเผยแพร่โดยเรจินัลด์ บลิงเคอร์ ฮอลล์ หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับห้อง 40 เพื่อเป็นการปิดบังข้อเท็จจริงที่ว่าหน่วยงานของเขากำลังดักจับสัญญาณบนสายโทรเลขของสหรัฐอเมริกาอยู่

การส่งสัญญาณโดยตรงจากกรุงเบอร์ลินไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในขณะนั้นไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากฝ่ายสหราชอาณาจักรได้ทำการตัดสายโทรเลขของเยอรมันในมหาสมุทรแอตแลนติก อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาอนุญาตการให้เยอรมนีใช้งานสายโทรเลขทางการทูตของตนอย่างจำกัดไว้สำหรับการติดต่อสื่อสารกับสถานทูตของเยอรมนีในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.[11]

สายโทรเลขของสวีเดนวิ่งจากสวีเดน ส่วนสายโทรเลขของสหรัฐอเมริกาวิ่งจากสถานทูตในเดนมาร์ก อย่างไรก็ตาม สายโทรเลขทั้งสองเส้นที่วิ่งตรงสู่สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องผ่านสถานีทวนสัญญาณในพอร์ธเคอร์โน ใกล้กับแลนด์เอนด์ ซึ่งเป็นส่วนปลายสุดด้านทิศทะวันตกของเกาะบริเตนใหญ่ ณ สถานที่นี้เองที่สัญญาณถูกขยายและเพิ่มกำลังก่อนจะว่างผ่านสายโทรเลขทรานส์แอตแลนติกข้ามมหาสุมทรแอตแลนติก สัญญาณซึ่งถูกส่งผ่านสถานีในพอร์ธเคอร์โนถูกทำสำเนาและส่งให้แก่หน่วยสืบราชการลับของสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะแก่นักถอดรหัสลับและนักวิเคราะห์แห่งห้อง 40 ใน แอดมิแรลตี (Admiralty) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของราชนาวีอังกฤษ[12]> ภายหลังจากที่สายโทรเลขถูกตัด กระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีอุทธรณ์ต่อสหรัฐอเมริกาเพื่อขอใช้สายโทรเลขสำหรับการส่งข้อความทางการทูต ประธานาธิบดีวูดโร์ วิลสัน ตอบรับคำอุทธรณ์ดังกล่าว โดยเชื่อว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและเยอรมนีให้ยั่งยืนต่อไป รวมทั้งช่วยให้ภารกิจทางการทูตระหว่างสองประเทศมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่เป้าหมายของประธานาธิบดีวิลสันในการเจรจาให้สงครามยุติลงในที่สุด ซึ่งการใช้สายโทรเลข ขั้นแรกเยอรมนีต้องส่งข้อความไปที่สถานทูตสหรัฐอมริกา ณ กรุงเบอร์ลิน จากนั้นข้อความจึงจะถูกถ่ายโอนไปยังเดนมาร์กและสู่สหรัฐอเมริกาโดยผู้ให้บริการโครงข่ายโทรเลขสัญชาติอเมริกัน อย่างไรก็ตาม สหรัฐกำหนดเงื่อนไขไว้หลายข้อ ข้อที่ชัดเจนที่สุดคือห้ามไม่ให้ส่งข้อความที่เป็นรหัสลับและข้อความต้องมีความหมายชัดเจน ทั้งนี้เยอรมนีเชื่อว่าสายโทรเลขของสหรัฐอเมริกามีความปลอดภัย จึงมีการใช้งานที่อยู่นอกเหนือเงื่อนไขข้อห้ามอยู่ด้วย[12]

แน่นอนว่าข้อความในโทรเลขซิมแมร์มันน์ไม่ได้ถูกส่งให้สหรัฐอเมริกาในรูปแบบที่ชัดเจนและตรงไปตรงมา โดยทางเยอรมันได้โน้มน้าวให้เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเบอร์ลิน เจมส์ ดับเบิลยู. เจราร์ด ยอมรับโทรเลขดังกล่าวโดยเนื้อความเป็นรหัสซ้อนอยู่ และถูกส่งผ่านสายโทรเลขในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2460[12]

ในวันต่อมา ณ ห้อง 40 ไนเจล เดอ เกรย์ สามารถถอดรหัสข้อความได้บางส่วน[11] เนื่องจากก่อนหน้านี้ห้อง 40 สามารถเก็บกู้เอกสารรหัสลับของเยอรมันมาได้ ซึ่งรวมไปถึงเอกสารลับหลายเลข 13040 ที่เก็บกู้มาจากยุทธการเมโสโปเตเมีย และเอกสารลับทางราชนาวีหมายเลข 0075 ที่เก็บกู้มาได้จากซากเรือเอสเอ็มเอส มากเดอบูร์ก โดยฝ่ายรัสเซียก่อนที่จะส่งต่อมาให้สหราชอาณาจักร[13]

แน่นอนว่าหากนำโทรเลขนี้ไปเผยแพร่จะทำให้สาธารณชนอเมริกันแปรเปลี่ยนทัศนคติไปต่อต้านฝ่ายเยอรมนี และหากส่งมอบโทรเลขให้แก่สหรัฐอเมริกาก็จะยิ่งเป็นการยืนยันว่าเรื่องดังกล่าวมีมูลความจริง แต่กระนั้นเอง ผู้บังคับบัญชาห้อง 40 วิลเลียม ฮอล์ รู้สึกไม่เต็มใจที่จะเปิดเผยโทรเลขดังกล่าว เพราะเท่ากับเป็นการป่าวประกาศว่าสหราชอาณาจักรสามารถถอดรหัสข้อความของเยอรมันได้แล้ว (ซึ่งอาจทำให้ฝ่ายเยอรมันไหวตัวทันและเปลี่ยนรูปแบบรหัสข้อความลับ) และว่าสหราชอาณาจักรกำลังดักฟังสายส่งโทรเลขของสหรัฐอเมริกาอยู่ วิลเลียม ฮอลล์จึงตัดสินใจรอต่อไปอีกสามสัปดาห์ ช่วงเวลานี้เองที่เดอ เกรย์ และวิลเลียม มอนโกเมอรี ทำการถอดรหัสโทรเลขทั้งฉบับจนเสร็จสิ้น ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เยอรมนีประกาศใช้ยุทธการสู้รบด้วยเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดขอบเขตอีกครั้งหนึ่ง จนนำไปสู่การตัดสัมพันธ์ทางการทูตของสหรัฐอเมริกากับเยอรมนีในวันที่ 3 กุมภาพันธ์[12]

โทรเลขซิมแมร์มันน์ที่ได้รับการถอดรหัสและแปลโดยเสร็จสมบูรณ์

ฮอล์ส่งต่อโทรเลขไปยังกระทรวงการต่างประเทศในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ และยังคงเตือนว่าไม่ควรเผยแพร่โทรเลขดังกล่าวออกไป ในขณะเดียวกันนั้นก็กำลังมีการหารือว่าจะปิดบังเรื่องราวครั้งนี้อย่างไร จะอธิบายแก่ฝ่ายสหรัฐ ฯ อย่างไรว่าได้รหัสลับมาโดยไม่เป็นการยอมรับว่าทำการดักฟังสายโทรเลข และจะทำอย่างไรให้ฝ่ายเยอรมันไม่รู้ตัวว่ารหัสลับของตนถูกถอดออกแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น สหราชอาณาจักรเองขังต้องคิดหาทางโน้มน้าวให้ชาวอเมริกันเชื่อได้ว่าโทรเลขดังกล่าวไม่ได้ถูกปลอมแปลงขึ้นมา

ในประเด็นแรก สหราชอาณาจักรแก้ต่างว่าได้ชุดรหัสลับของโทรเลขมาจากสำนักโทรเลขพาณิชย์ของเม็กซิโก เนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. จะต้องส่งโทรเลขผ่านสายส่งพาณิชย์ไปยังเม็กซิโกอีกครั้ง ดังนั้นสำนักโทรเลขพาณิชย์ของเม็กซิโกจึงมีข้อความที่ได้จากส่งในครั้งนี้อยู่ และสายลับของสหราชอาณาจักรในเม็กซิโก นายเอช (Mr. H) ได้ติดสินบนพนักงานในสำนักงานโทรเลขพาณิชย์จนได้สำเนาของข้อความดังกล่าวมา (เซอร์ โทมัส โฮห์เลอร์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำเม็กซิโกขณะนั้น อ้างว่าไว้ในอัตชีวประวัติว่าตนคือ นายเอช หรืออย่างก็เกี่ยวข้องกับการดักจับโทรเลขซิมแมร์มันน์) ด้วยข้อแก้ต่างนี้สหราชอาณาจักรจึงสามารถเปิดเผยโทรเลขแก่สหรัฐอเมริกาได้โดยไม่ทำให้ขุ่นข้องใจกัน ส่วนประเด็นที่สอง สหราชอาณาจักรแก้ต่างว่าในการทวนสัญญาณโทรเลข ข้อความถูกเข้าเป็นหัสลับด้วยเอกสารลับหมายเลข 13040 ดังนั้นเมื่อถึงช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ สหราชอาณจักรจึงได้ข้อความที่ถอดรหัสสำเร็จฉบับเต็มและสามารถเผยแพร่โทรเลขโดยไม่ทำให้เยอรมันล่วงรู้ว่าชุดรหัสลับล่าสุดของตนถูกถอดออกแล้ว แม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ยังคงมีความเสี่ยงที่เยอรมนีจะตระหนักได้ว่าเอกสารลับหมายเลข 13040 ตกไปอยู่ในมือฝ่ายศัตรูและชุดรหัสลับถูกถอดออกแล้ว แต่เมื่อนำมาพิจารณาหักกลบกับผลผระโยชน์ที่จะได้จากการผลักดันสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามครั้งนี้ ก็คุ้มค่าพอที่จะเสี่ยงทำให้เยอรมนีไหวตัวทัน และเมื่อสำเนาของเอกสารลับหมายเลข 13040 ถูกเก็บไว้ในบันทึกข้อมูลของสำนักโทรเลขพาณิชย์สหรัฐ ฯ สหราชอาณาจักรจึงสามารถพิสูจน์ความจริงแท้ของข้อความแก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ในที่สุด

ด้วยเนื้อเรื่องที่ถูกแต่งขึ้นนี้ สหราชอาณาจักรจึงทำการกล่าวอ้างแก่สาธารณชนว่าสายลับของตนในเม็กซิโกสามารถล้วงเอาชุดข้อความที่ได้รับการถอดรหัสจากโทรเลขเป็นผลสำเร็จ และยังต้องส่งเอกสารลับหมายเลข 13040 ให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อที่จะได้ตรวจสอบข้อความที่ได้รับการถอดรหัสในเม็กซิโก เทียบกับชุดข้อความที่ถูกเก็บบันทึกไว้โดยสำนักโทรเลขพาณิชย์ด้วยตนเอง ถึงกระนั้นก็ตามฝ่ายสหรัฐ ฯ ก็ตกลงใจที่จะให้ความร่วมมือในเรื่องปกปิดในครั้งนี้ของฝ่ายสหราชอาณาจักร ด้านกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนีกลับเพิกเฉยว่ารหัสลับของตนอาจถูกถอดได้โดยฝ่ายศัตรู และส่งเอคคาดท์ไปตาล่าตัวผู้ทรยศ ณ สถานเอกอัครราชทูตในเม็กซิโกแทน (ฟอน เอคคาดท์ ตอบปฏิเสธข้อครหานี้อย่างฉุนเฉียว จนในที่สุดกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีจึงยอมรับว่าสถานเอกอัครราชทูตไม่มีส่วนรู้เห็นในเรื่องนี้)[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โทรเลขซิมแมร์มันน์ http://www.amazon.com/Zimmermann-Telegram-Intellig... http://www.amazon.com/dp/0345324250/ http://www.findarticles.com/p/articles/mi_qa3926/i... http://www.shorpy.com/node/11156?size=_original http://cges.georgetown.edu/docs/docs_working_paper... http://quod.lib.umich.edu/cgi/t/text/text-idx?c=ac... http://texashistory.unt.edu/young/educators/wwI/in... http://www.ourdocuments.gov/doc.php?doc=60 http://germannavalwarfare.info/indexMEX.htm http://books.google.com.mx/books?id=4TyZFqJjLMAC&f...