ผลงานด้านการชกมวย ของ โผน_กิ่งเพชร

โผนฝึกและขึ้นชกมวยครั้งแรกที่หัวหินบ้านเกิด มีฝีมือดีที่เป็นที่ลือลั่น แต่ สง่า สีดอกบวบ พี่ชายคนโต ไม่เห็นชอบด้วย จึงนำโผนมาฝากไว้กับ นายห้างทองทศ อินทรทัต เจ้าของบริษัทเทวกรรม โอสถ ซึ่งเป็นเจ้าของค่าย "กิ่งเพชร" ในซอยชื่อเดียวกับค่าย ย่านถนนเพชรบุรี (ซอยเพชรบุรี 10) เมื่อ พ.ศ. 2497[2] ซึ่งโผนได้รับการฝึกสอนและขึ้นชกสม่ำเสมออย่างจริงจัง โดยที่มาของชื่อ "โผน" นั้น เป็นชื่อของน้องชายนายห้างทองทศ ซึ่งเสียชีวิตในเหตุการณ์กบฏวังหลวง พ.ศ. 2492 ก่อนหน้านี้ (โผน อินทรทัต อดีตเสรีไทย และผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ ในขณะนั้น)

โผนขึ้นชกมวยสากลครั้งแรกประมาณ พ.ศ. 2498 ชนะน็อก นกนิด ท.ส. ยก 2 และพบกับความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกในการชกครั้งที่ 3 โดยเป็นฝ่ายแพ้คะแนนสุวรรณ นภาพล [3] จากนั้นการชกของโผนดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชนะน็อก กู้น้อย วิถีชัย แชมป์ฟลายเวทของเวทีราชดำเนิน ได้อย่างงดงามเมื่อ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ทั้ง ๆ ที่โผนมีประสบการณ์น้อยกว่าอย่างเทียบไม่ติด และเคยชกแพ้มาก่อนในการเจอกันครั้งแรก ต่อมาเมื่อมีการแก้มือกันเป็นครั้งที่สาม โผนก็ชนะคะแนนไปได้อีกครั้งเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ก่อนจะขึ้นครองแชมป์เวทีราชดำเนิน โผนชกชนะนักมวยชื่อดังในรุ่นฟลายเวตและแบนตัมเวทในยุคนั้นมาแล้วหลายคน เช่น บุญธรรม วิถีชัย พร พัลธุมเกียรติ สมยศ สิงหพัลลภ ประยุทธ ยนตรกิจ เป็นต้น[4] โผนขึ้นชกกับนักมวยต่างชาติครั้งแรกเมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ชนะน็อคมินธัม กัมพุช แชมป์รุ่นแบนตัมเวทของกัมพูชา[3] ต่อมา โผนได้ขึ้นชิงแชมป์ภาคตะวันออกไกลฯ (OPBF) โดยชนะคะแนน แดนนี่ คิด เจ้าของตำแหน่งชาวฟิลิปปินส์ โผนจึงได้มีชื่อติดอันดับโลก และเป็นการกรุยทางสู่การชิงแชมป์โลก

หลังจากที่โผนชนะแดนนี่ คิด ก็ได้เข้าสู่อันดับโลก แต่โผนก็กรามหักจนต้องหยุดชกไป 6 เดือน หลังจากนั้น จึงขึ้นชิงแชมป์ภาครุ่นแบนตัมเวทแต่เป็นฝ่ายแพ้คะแนน เลียว เอสปิโนซ่า โผนจึงกลับมาชกในรุ่นฟลายเวทดังเดิม ป้องกันแชมป์ภาคได้สองครั้งก่อนจะสละตำแหน่งเพื่อรอชิงแชมป์โลก แต่หลังจากที่โผนชกชนะคะแนน มานูเอล อาร์เมนตรอส นักมวยระดังรองแชมป์โลกเมื่อ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 โผนขับรถชนท้ายรถบรรทุก ต้องเข้าโรงพยาบาลอาการสาหัส ต้องหยุดชกไปทั้งปี[5] เมื่อขึ้น พ.ศ. 2503 โผนกลับมาชกชนะนักมวยฟิลิปปินส์อีกครั้ง ก็ได้กำหนดชิงแชมป์โลกกับปัสกวล เปเรซ

แชมป์โลกคนแรกของไทย

โผนชกแก้มือกับ ปัสกวล เปเรซ

การชิงแชมป์โลกของโผนได้กระทำต่อหน้าพระพักตร์ กับ ปัสกวล เปเรซ แชมเปี้ยนชาวอาร์เจนตินาสนามมวยเวทีลุมพินี เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2503 โดยในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรด้วย โดยมีการจัดที่ประทับที่ชั้น 2 ของอัฒจรรย์ด้านทิศใต้[6] การชกในวันนั้นไม่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ เนื่องจากประเทศไทยขณะนั้นยังไม่มีสถานีโทรทัศน์ แต่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียง และมีการบันทึกการชกเป็นหนังสารคดีฉายตามโรงภาพยนตร์ในภายหลังแทน[7][2] เริ่มแรกกำหนดการชิงแชมป์โลกของโผน คือ 2 เมษายน แล้วจึงเลื่อนออกมาเป็น 16 เมษายน มีการแต่งเพลงออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงด้วยทำนองเพลงกราวกีฬาว่า[8]

วันที่ 2 เมษามหาฤกษ์ ชาวไทยเอิกเกริกกันทั่วหน้า โผนจะได้ชิงมงกุฏสุดโสภา เป็นมิ่งขวัญประชาชาติไทย

ก่อนถึงวันชก มีการโปรโมตตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น แต่งเพลงเชียร์โผนเป็นทำนองเพลงมาร์ช ปลุกใจ ตามวิทยุ หรือ รถกระจายเสียง ซึ่งผู้แต่ง คือ สุรพล โทณะวณิก และผู้ขับร้อง คือ มีศักดิ์ นาครัตน์ มีเนื้อร้องบางช่วงว่า

เราเชียร์โผน...เราเชียร์โผน...เราเชียร์โผน..โผน...โผน...โผน...โผน เปเรซจะแข็งอย่างไร แต่โผนเลือดไทย....ต้องเชียร์ไว้ดีกว่า.....

แต่ก็มีเด็ก ๆ ไปแปลงเนื้อเป็น[9]

โผน กิ่งเพชร เปเรซ กิ่งไผ่ โผน มือไวต่อยไข่ เปเรซ

สำหรับ ปัสกวล เปเรซ แชมเปี้ยนนั้น เคยครองเหรียญทองโอลิมปิกมาแล้ว จากการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น ที่กรุงลอนดอน ในปี พ.ศ. 2491 และก่อนหน้าจะมาป้องกันตำแหน่งกับโผนนั้น ได้ป้องกันตำแหน่งไว้ได้แล้วถึง 10 ครั้ง ครองแชมป์อย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 5 ปี โดยอายุของเปเรซขณะนั้นได้ 33 ปี ขณะที่โผนอายุเพียง 25 ปี ผ่านการชกมาแค่ 22 ไฟท์ เมื่อมาถึง คนไทยให้ฉายาเปเรซว่า "ยักษ์แคระ" เพราะเป็นนักมวยรูปร่างเล็ก แต่มีช่วงแขนที่ใหญ่บึกบึน

ผลการแข่งขันในการชกในครั้งนั้น ปรากฏว่าโผนชนะคะแนนอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ โดยกรรมการ โลเรนโซ เทอเลบา กรรมการห้ามบนเวทีชาวอาร์เจนตินา ชาติเดียวกับเปเรซ ให้เปเรซชนะ 145 - 143 กรรมการชาวไทย วงศ์ หิรัญยเลขา ให้โผนชนะ 148 - 137 และ แน็ต ฟลายเชอร์ กรรมการจากเดอะ ริง ให้โผนชนะ 146 - 140 ได้ครองแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท ของสถาบันเดอะริง (The Ring) เป็นแชมป์โลกคนแรกของไทย ภายหลังการรู้ผลการชก ที่อำเภอหัวหินบ้านเกิดของโผนได้มีการจุดพลุฉลองทั่วทั้งเมืองทันที ต่อมา สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้ วันที่ 16 เมษายน ของทุกปี เป็น วันนักกีฬายอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ วันนักกีฬาไทย[10] โดยมีการมอบรางวัลถ้วยพระราชทานเป็นประจำทุกปี (คนละวันกับ วันกีฬาแห่งชาติ 16 ธันวาคม ที่กำหนดตามวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงได้เหรียญทองกีฬาซีเกมส์)

นอกจากนี้แล้วในชกในครั้งนี้ ราคาค่าเข้าชมอยู่ที่ 60 บาท 150 บาท และ 350 บาท และเก็บค่าเข้าชมได้ถึง 1,600,000 บาท ถือว่าเป็นรายได้มหาศาลอย่างมาก[6]

โผนชนะ ทีเคโอ ปัสกวล เปเรซ ที่ โอลิมปิก ออดิทอเรียม ลอสแอนเจลิส

ในการชกครั้งต่อ ๆ มา เมื่อโผน กิ่งเพชร เสียตำแหน่งไปก็สามารถชิงกลับมาได้ถึง 3 ครั้ง โดยมีหลายไฟท์ในความทรงจำ เช่น การแก้มือกับ ปัสกวล เปเรซ ที่ลอสแอนเจลิส โดยชนะทีเคโอไปอย่างหายสงสัย และชนะคะแนน "เสือหมัดซ้าย" มิตสึโนริ เซกิ ถึงกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โผนเสียแชมป์สมัยแรกให้กับไฟติง ฮาราดะ นักมวยดาวรุ่งจากญี่ปุ่น ก่อนการชก โผนเป็นฝ่ายได้เปรียบทั้งในด้านประสบการณ์และฝีมือ แต่เมื่อชกกันจริง ปรากฏว่าฮาราดะใช้ความหนุ่มแน่นบุกตะลุยเข้าชกตั้งแต่ยกแรกจนโผนตั้งตัวไม่ติด อ่อนแรงลงและแพ้น็อกไปในที่สุด[11]

โผนได้ชกแก้มือกับฮาราดะอีกครั้งที่กรุงเทพฯ เมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2506 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จมาทอดพระเนตรด้วย การชกครั้งนั้นจัดที่อาคารยิมเนเซียม 1 (อาคารกีฬานิมิบุตรในปัจจุบัน) เป็นศึกชิงแชมป์โลกครั้งที่ 4 ที่จัดในเมืองไทย ในวันนั้นคนดูเข้าซื้อตั๋วที่สนามจนแน่น ตั้งแต่เวลา 17.00 น. และมีคนดูที่ซื้อตั๋วแล้วแต่เข้าสนามไม่ได้อีกมาก[12] การชกในยกแรก ๆ โผนใช้เชิงชกที่เหนือกว่าและหมัดแย็ป เก็บคะแนนไปเรื่อย ๆ ส่วนฮาราดะยังบุกตะลุยเข้ามาในแบบเดิม จนโผนเริ่มหมดแรง ยืนขาตายหนีไม่ออก ถูกฮาราด้าไล่ถลุง ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จถึงสนามมวยพอดี เมื่อโผนทราบว่าพระองค์เสด็จมาถึงก็เกิดกำลังใจออกไปชกกับฮาราดะได้ในรูปแบบเดิมใช้จังหวะฝีมือที่เหนือกว่าหลอกล่อฮาราดะ แทบจะเป็นฝ่ายชกข้างเดียวครบ 15 ยก โผนจึงเป็นฝ่ายชนะคะแนน ได้ครองแชมป์โลกสมัยที่ 2[11]

โผนถูกหมัดของฮาราดะจนแพ้น็อกยก 11 ที่ญี่ปุ่นโผนถูก ไฟติง ฮาราดะ ชกขวาตรงเข้าใบหน้า แต่เป็นฝ่ายชนะคะแนนเมื่อครบ 15 ยก ที่กรุงเทพ ในไฟท์แก้มือ

หลังจากชิงแชมป์คืนมาจากฮาราดะ โผนว่างเว้นจาการชกไปนานเนื่องจากโผนไม่ยอมเข้าค่ายซ้อม แม้จะมีผู้ท้าชิงจากญี่ปุ่น คือ ฮิโรยูกิ เอบิฮาระ ติดต่อมา แต่ก็ต้องเลื่อนกำหนดการชกออกไปหลายครั้ง ระหว่างนี้ นิยม ทองชิตร ถอนตัวจากการเป็นเทรนเนอร์ หิรัญ สีดอกบวบ พี่ชายเข้ามาเป็นผู้จัดการแทน ในที่สุดกำหนดการชกระหว่างโผนกับเอบิฮาระมีขึ้นเมื่อ 18 กันยายน พ.ศ. 2506 และโผนเป็นฝ่ายแพ้น็อกแค่ยกแรกเท่านั้น[13] แต่ก็สามารถชกแก้มือ ชิงแชมป์โลกคืนจากเอบิฮาระ เป็นสมัยที่สาม หลังจากนั้น ชื่อเสียงของโผนเริ่มตกต่ำลง การชกมวยของโผนไม่เป็นที่ราบรื่น เพราะขัดแย้งกับเทรนเนอร์ และผู้จัดการเสมอ ๆ จนต้องมีการเปลี่ยนตัวบ่อยครั้ง ประกอบกับโผนเองก็ติดสุราอย่างหนัก จนเกือบเป็นสุราเรื้อรัง หนีซ้อม ผลการชกก็ตกลงเรื่อย ๆ จนเสียแชมป์ให้กับซัลวาโตเร บูร์รูนี ที่อิตาลี จากนั้น โผนไม่มีโอกาสชิงแชมป์โลกอีกเลย กลับมาชกไต่อันดับก็แพ้คะแนน เบบี โรโรน่า (ฟิลิปปินส์) เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509[3] โผนจึงแขวนนวมในปี พ.ศ. 2509 เมื่ออายุได้ 31 ปี

เกียรติประวัติ

ก่อนหน้าโผน กิ่งเพชรถัดไปชนะ 35 ครั้ง (ชนะน็อก 9 ครั้ง, ชนะคะแนน 26 ครั้ง), แพ้ 7 ครั้ง (แพ้น็อก ครั้ง, แพ้คะแนน ครั้ง)[14]
ครั้งที่ผลการชกสถิติผู้ท้าชิงประเภทยก., เวลาวันที่สถานที่หมายเหตุ
แชมป์ประเทศไทยรุ่นฟลายเวท
ชิงชนะ5-5-0 กู้น้อย วิถีชัยชนะคะแนน151956-10-14 สนามมวยราชดำเนินขึ้นชกมวยสากลครั้งแรก
สละแชมป์
แชมป์ OPBF รุ่นฟลายเวท (2500)
ชิงชนะ18-10-5 แดนนี่ คิดชนะคะแนน151956-01-06 สนามมวยราชดำเนินขึ้นชิงแชมป์ในระดับนานาชาติครั้งแรก.
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1ชนะ29-12-5 ฮิโตชิ มิซาโกะชนะคะแนน151957-09-14 สนามมวยราชดำเนิน
แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท (2503–2505)
ชิงชนะ54-1-1 ปัสกวล เปเรซชนะคะแนน151960-04-16( สนามมวยเวทีลุมพินี
ป้องกันครั้งที่ 1ชนะ54-2-1 ปัสกวล เปเรซชนะน็อก8 (15)1960-09-22( โอลิมปิก ออดิทอเรียม ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย
ป้องกันครั้งที่ 2ชนะ21-2-1 มิตสึโนริ เซกิชนะคะแนน151961-06-27() โครากูเอ็งฮอล โตเกียว
ป้องกันครั้งที่ 3ชนะ36-6-5เคียว โนงูจิชนะคะแนน151962-05-30() โครากูเอ็งฮอล โตเกียว
เสียแชมป์แม่แบบ:Loss2แพ้26-1-0ไฟติง ฮาราดะแพ้น็อก11 (15)1962-10-10() โครากูเอ็งฮอล โตเกียว[15]
แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA, WBC สมัยที่ 1 (2506)
ชิงชนะ27-1-0 ไฟติง ฮาราดะชนะคะแนน151963-01-12( อาคารกีฬานิมิบุตร ภายในกรีฑาสถานแห่งชาติ เขตปทุมวัน[16]
เสียแชมป์แม่แบบ:Loss2แพ้36-1-1ฮิโรยูกิ เอบิฮาระแพ้น็อก1 (15)1963-09-18() โตเกียวเมโทรโพลิตันยิมเนเซียม โตเกียว[17]
แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA, WBC สมัยที่ 2 (2507–2508)
ชิงชนะ38-1-1 ฮิโรยูกิ เอบิฮาระชนะคะแนน151964-01-23( เวทีราชดำเนิน
เสียแชมป์แม่แบบ:Loss2แพ้76-3-1ซัลวาโตเร บูร์รูนีแพ้คะแนน151965-04-23() พาลาสโซเดลโลสปอร์ต แคว้นลัตซีโย โรม
เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
ชิงแชมป์ OPBF รุ่นแบนตัมเวทแม่แบบ:Loss2แพ้17-3-2 เลโอ เอสปีโนซาแพ้คะแนน151965-04-23() สนามมวยราชดำเนิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: โผน_กิ่งเพชร http://boxrec.com/en/boxer/11494 http://www.boxrec.com/boxer_display.php?boxer_id=1... http://video.gigchat.com/view_efffdf911a2c52d77653... http://video.mthai.com/player.php?id=8M1174461904M... http://video.mthai.com/player.php?id=8M1175075984M... http://video.mthai.com/player.php?id=8M1175178807M... http://www.youtube.com/results?search_query=Fighti... http://www.youtube.com/results?search_query=Pone+K... http://www.youtube.com/watch?v=OHK0bXKGhqQ http://houseofmuseums.siam.edu/page1_1.htm