โพลาไรเซอร์วงกลม ของ โพลาไรเซอร์

โพลาไรเซอร์วงกลม (circular polarizer) เป็นโพลาไรเซอร์ชนิดที่สามารถสร้างแสงที่โพลาไรซ์กวาดเป็นเกลียวกลม โดยยอมให้องค์ประกอบสนามไฟฟ้าในแนวตั้งและแนวนอนผ่านเข้ามาด้วยสัตส่วนรวมถึงความต่างเฟสที่เหมาะสม หรืออาจจะแยกแสงที่โพลาไรซ์เป็นวงกลมอยู่แล้วออกให้เหลือชนิดเดียว นิยมใช้ในการถ่ายภาพ (ลดแสงสะท้อนออก) และการผลิตแว่นสามมิติชนิด RealD 3D

การสร้างแสงโพลาไรซ์เป็นวงกลม

โพลาไรเซอร์วงกลมชนิดที่สรำงแสงโพลาไรซ์หมุนขวา (ตามทิศของนิ้วมือซ้ายขณะกำเข้า) อนึ่ง ทิศหมุนขวาคือทิศที่มองจากผู้สังเกตที่มีแสงพุ่งเข้าหาตัว ถ้าเปลี่ยนเป็นมุมมองจากแหล่งกำเนิดจะได้ว่าเป็นทิศหมุนซ้าย


การสร้างแสงโพลาไรซ์เป็นวงกลมหรือวงรี ทำได้โดยการปรับองค์ประกอบสนามไฟฟ้าในแกนตั้งและแกนนอนให้มีความต่างเฟสที่เหมาะสม เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไป องค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบจะสลับกันขยายและหด ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแบบเวกเตอร์จะได้รูปวงรีหรือวงกลม ในทางปฏิบัติ นิยมใช้เวฟเพลตชนิดหนึ่งในสี่ของคลื่น (quarter-wave plate) ซึ่งทำจากวัสดุหักเหสองแนว วางต่อจากโพลาไรเซอร์เชิงเส้น จากนั้นจึงให้แสงไม่โพลาไรซ์ (หรือแสงโพลาไรซ์แบบผสม) ผ่านเข้าสู่โพลาไรเซอร์เชิงเส้นจนได้แสงโพลาไรซ์ เมื่อแสงโพลาไรซ์ผ่านเข้าเวฟเพลต จะเกิดการแยกออกเป็นองค์ประกอบตามแกนสองแกน ได้แก่ แกนช้า (slow axis) และแกนเร็ว (fast axis) ซึ่งตั้งฉากกัน สนามไฟฟ้าที่แยกเข้าแต่ละแกนแล้วจะเคลื่อนที่ในลักษณะที่มีความต่างเฟสไม่เป็นศูนย์อีกต่อไป เมื่อแกนหนึ่งดับ อีกแกนก็จะสว่าง สลับกันเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ทำให้สนามไฟฟ้าที่เกิดจากการทับซ้อนเริ่มเคลื่อนที่กวาดเป็นวิถีเกลียวกลม จากรูปสังเกตว่า แกนโพลาไรซ์ของโพลาไรเซอร์ตัวแรกจัดไว้ที่ 45° เพื่อให้สามารถแยกองค์ประกอบของสนามไฟฟ้าเข้าแกนช้าและแกนเร็วได้เท่ากัน เป็นผลให้แสงที่ทะลุผ่านแผ่นเวฟเพลตมีโพลาไรเซชันเป็นวงกลมตามที่ต้องการ

นอกจากการสร้างแสงโพลาไรซ์แบบวงกลมแล้ว เวฟเพลตยังสามารถยอมให้แสงที่โพลาไรซ์แบบเดียวกับตัวมันเองผ่านเข้าไปได้ และไม่ยอมให้แสงที่โพลาไรซ์ในทิศตรงข้ามผ่าน หลักการนี้ถูกนำไปใช้ประดิษฐ์แว่นสามมิติชนิด RealD Cinema

โพลาไรเซอร์วงกลมเนื้อเดียว

โพลาไรเซอร์วงกลมเนื้อเดียวแบบที่ยอมให้แสงโพลาไรซ์หมุนซ้ายผ่านได้


โพลาไรเซอร์วงกลมเนื้อเดียว (homogenous circular polarizer) เป็นโพลาไรเซอร์ที่สามารถยอมให้แสงโพลาไรซ์แบบหนึ่งผ่านได้ แต่ไม่ยอมให้อีกแบบผ่าน ทำได้โดยนำแผ่นเวฟเพลตสองแผ่นมาประกบติดกัน คั่นกลางด้วยโพลาไรเซอร์เชิงเส้น[10] เมื่อฉายแสงโพลาไรซ์แบบหมุนซ้ายเข้าไป เวฟเพลตแรกจะมีหน้าที่ปรับความต่างเฟสของสนามไฟฟ้าแต่ละแกนให้เป็นศูนย์ ก่อนผ่านเข้าสู่โพลาไรเซอร์เชิงเส้น หลังจากนั้นจึงผ่านแสงโพลาไรซ์เชิงเส้นเข้าสู่เวฟเพลต เพื่อแปลงกลับเป็นแสงโพลาไรซ์หมุนซ้ายเช่นเดิม

โพลาไรเซอร์แบบเชิงเส้น นิยมใช้ในการถ่ายภาพยุคแรก ๆ รวมถึงกล้องเก่า ๆ แต่ไม่นิยมใช้ในกล้องรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีการวัดแสงและการโฟกัสอัตโนมัติผ่านเลนส์ หากแสงที่ผ่านเข้ามาเป็นแสงโพลาไรซ์เชิงเส้นอยู่แล้ว ก็จะทำให้ระบบโฟกัสอัตโนมัติไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นจึงนิยมใช้ตัวกรองแบบโพลาไรซ์วงกลมแทน[11]

ใกล้เคียง

โพลาไรเซชัน โพลาไรเซอร์ โพลาไรเซชันแบบเส้นตรง โพลาไรเซชันแบบวงกลม โพลาไรเซชันแบบวงรี โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน โพลีไรโบโซม โพลีไซทีเมีย เวอรา โพลาริส ฮิลด้า โพลิไวนิลคลอไรด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: โพลาไรเซอร์ http://www.corning.com/docs/specialtymaterials/pis... http://books.google.com/books?id=-QhAkBSk7IUC&pg=P... http://books.google.com/books?id=Q8zWqiKA7JMC&pg=P... http://books.google.com/books?id=XiM0nthMybNwC&pg=... http://books.google.com/books?id=u15atbXzADUC&pg=P... http://patft.uspto.gov/netacgi/nph-Parser?patentnu... http://cdn.preterhuman.net/texts/science_and_techn... http://www.pat2pdf.org/pat2pdf/foo.pl?number=2,403...