เบื้องหลัง ของ โพสพ

มีพิธีกรรมบูชาแม่โพสพ โดยทำ เฉลว ในหน้านา ด้วยมีความเชื่อว่าแม่โพสพจะบันดาลให้วิถีชีวิตของพวกเขาพออยู่พอกิน[10] เป็นมิ่งขวัญของชาวนาในยุ้งฉาง[1]

แม่โพสพมีลักษณะ "...เป็นหญิงสาวท่าทางอ่อนช้อยสวยงาม ภาพของนางที่สร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาเป็นท่านั่งพับเพียบ มือขวาถือรวงข้าวมือซ้ายถือถุงข้าว แต่งกายนุ่งผ้าถุงห่มผ้าสไบเฉียงแบบหญิงในวังสมัยก่อน"[1] แม้พระแม่โพสพจะมีมาเนิ่นนานก่อนการรับศาสนาพราหมณ์แต่ถือกันว่าเป็นพระภาคหนึ่งของพระลักษมี บ้างก็ว่าเดิมเป็นชายาองค์หนึ่งของพระอินทร์ ชื่อ พระสวเทวี (เพื่อโยงชื่อโพสพเข้ากับชื่อชายาพระอินทร์ นั่นคือให้ 'สพ' แผลงมาจาก 'สว' ส่วน โพอาจจะมาจากชื่อ ไพสพ ของเทวดารักษาทิศอีสาน)[1] บ้างก็ว่าคือท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ เทพเจ้าประจำทิศเหนือ ซึ่งเป็นคติที่รับมาจากอินเดีย โดยท้าวกุเวรนั้นเป็นบุรุษรูปร่างอ้วนท้วน พุงพลุ้ย ในพระหัตถ์ถือถุงเงิน ด้วยเป็นเทพเจ้าแห่งทรัพย์สิน แต่ไทยปรับเปลี่ยนมาเป็นเทวสตรี และกลายเป็นเทพเจ้าแห่งข้าว[4]

ปัจจุบันการบูชาแม่โพสพได้สร่างซาลงไป โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายมลายูที่เลิกการบูชาโพสพเพราะขัดกับหลักศาสนาอิสลาม[11] ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงอุปถัมภ์พิธีกรรมโบราณนี้เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551[12][13] บางหมู่บ้านก็มีสตรีแต่งกายเป็นพระแม่โพสพช่วงเทศกาลหรืองานเฉลิมฉลองในท้องถิ่น[14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โพสพ http://www.channelnewsasia.com/stories/southeastas... http://www.content4reprint.com/food-and-drinks/tha... http://www.goddessaday.com/southeast-asian/po-ino-... http://www.isangate.com/local/tahag.html http://www.lannawisdoms.com/blog/?page_id=1573 http://i551.photobucket.com/albums/ii474/poepum/10... http://www.sujitwongthes.com/suvarnabhumi/2012/03/... http://www.suphaninsure.com/wizContent.asp?wizConI... http://www.thaindian.com/newsportal/thailand/hm-th... http://nutkubphom16.wordpress.com/%E0%B8%84%E0%B8%...