พระลักษมี
พระลักษมี

พระลักษมี

ॐ महालक्ष्म्यै नमो नम: ।ॐ विष्णुप्रियायै नमो नम: ।ॐ धनप्रदायै नमो नम : ।ॐ विश्वजनन्यै नमो नम: ।
ภาษาไทย- โอม มหาลักษะ มิไย นะโม นะมะห์โอม วิษณุ ปรียาไย นะโม นะมะห์โอม ธะนะ ประทาไย นะโม นะมะห์พระลักษมี (สันสกฤต: ลกฺษฺมี लक्ष्मी)เป็นเทวีแห่งความมั่งคั่ง, โชคลาภ และความเจริญรุ่งเรือง[1][3] เป็นพระมเหสีและศักติ (พลัง) ของพระวิษณุ[2] พระองค์เป็นหนึ่งในสามเทวี “ตรีเทวี” คือพระลักษมี, พระปารวตี, พระสรัสวตี นอกจากการนับถือในฮินดูแล้ว ยังพบการบูชาพระลักษมีเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญองค์หนึ่งในศาสนาเชน[4] ในศาสนาพุทธแบบทิเบต, เนปาล และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนับถือพระโพธิสัตว์พระนามว่าพระวสุธารา ซึ่งมีพระลักษณะคล้ายคลึงกับพระลักษมีอย่างมาก มีแตกต่างเพียงลักษณะเชิงประติมานวิทยาบางส่วนเท่านั้น[5]ตามตำนานของศาสนาฮินดู เชื่อกันว่าพระองค์เกิดจากมหาสมุทรจากการกวนมหาสมุทรเมื่อครั้งสร้างโลก (กวนเกษียรสมุทร) และได้เลือกพระวิษณุเป็นพระสวามีนิรันดร์[6] เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นพระสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็อวตารเป็น พระราธา หรือ พระรุกมิณี[7][8] ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น ในบันทึกโบราณของอินเดียมักถือให้สตรีทั้งปวงเป็นรูปแปลงของพระลักษมี[9] การสมรสและความสัมพันธ์เชิงสามี-ภรรยาของพระลักษมีและพระวิษณุ เป็นแบบอย่างในพิธีกรรมต่าง ๆ ของการแต่งงานแบบฮินดู[10]ในศิลปะอินเดีย พระลักษมีทรงเครื่องแต่งกายอย่างงดงาม หรูหรา ประดับด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ ผิวกายสีทองอร่าม และมีพาหนะเป็นนกฮูก[11] พระองค์ประทับในท่าทางแบบโยคะ ทั้งนั่งและยืน บนฐานดอกบัวและมีดอกบัวในหัตถ์ อันเป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ การเข้าใจตัวเอง และการเป็นอิสระเชิงจิตวิญญาณ[6][12] ประติมานวิทยาของพระองค์มักแสดงพระองค์มีสี่กร อันแสดงถึงปุรุษารถะทั้สี่ประการ (เป้าหมายในชีวิตทั้งสี่) คือ ธรรม, กาม, อารถะ และ โมกษะ[13][14]หลักฐานเชิงโบราณคดีแสดงให้เห็นว่ามีการบูชาพระลักษมีมาตั้งแต่หนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสตกาล[15][16] เทวรูปต่าง ๆ ของพระองค์ยังพบในโบราณสถานต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อายุราวครึ่งคริสต์สหัสวรรษแรก [17][18] เทศกาลที่ฉลองพระลักษมีได้แก่ ทีปาวลี และ Sharad Purnima (Kojagiri Purnima)[19]

พระลักษมี

ส่วนเกี่ยวข้อง เทวี, ไตรเทวี, Ashta Lakshmi, พระมหาลักษมี
บุตร - ธิดา กามเทพ
วิมาน ไวกูณฐ์
เทศกาล นวราตรี, ทีปาวลี, ลักษมีบูชา, Varalakshmi Vratam/Mahalakshmi Vrata
คู่ครอง พระวิษณุ[2]
สัญลักษณ์ ดอกบัว และ ทองคำ
ชื่อในอักษรเทวนาครี लक्ष्मी
พาหนะ นกฮูก, ช้าง และ ครุฑ
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต lakṣmī
ชื่ออื่น ศรีเทวี[1], ปัทมา, กมลา, กมลักษิ, วิษณุภริยา
พี่น้อง พระอลักษมี,
พระพรหม (ตาม Skand Purana)
มนตร์ ภาษาฮินดี

ॐ महालक्ष्म्यै नमो नम: ।ॐ विष्णुप्रियायै नमो नम: ।ॐ धनप्रदायै नमो नम : ।ॐ विश्वजनन्यै नमो नम: ।


ภาษาไทย- โอม มหาลักษะ มิไย นะโม นะมะห์โอม วิษณุ ปรียาไย นะโม นะมะห์โอม ธะนะ ประทาไย นะโม นะมะห์

โอม วิศวา จะนันไย นะโม นะมะห์

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระลักษมี http://faculty.washington.edu/prem/mw/l.html http://www.nalis.gov.tt/Research/SubjectGuide/Diva... https://books.google.com/books?id=1pGbdI4L0qsC&pg=... https://books.google.com/books?id=5IYVBgAAQBAJ https://books.google.com/books?id=5kl0DYIjUPgC https://books.google.com/books?id=PM_TNDu8NHUC&pg=... https://books.google.com/books?id=_kWROaer5UsC&pg=... https://books.google.com/books?id=tkDk5QllVRoC&pg=... https://seap.einaudi.cornell.edu/sites/seap.einaud... https://web.archive.org/web/20141108012904/http://...