ความเป็นพิษ ของ โพแทสเซียมไซยาไนด์

ดูบทความหลักที่: การเป็นพิษจากไซยาไนด์

โพแทสเซียมไซยาไนด์เป็นสารยับยั้งการหายใจระดับเซลล์และยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างพลังงานและเกิดภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติก ผิวหนังเกิดผื่นแดงเนื่องจากเนื้อเยื่อไม่สามารถใช้ออกซิเจนจากเลือดได้ ต่อมาผู้ป่วยจะหมดสติและอาจมีภาวะชัก และจะเสียชีวิตจากภาวะพร่องออกซิเจน

ขนาดของโพแทสเซียมไซยาไนด์ที่ทำให้เสียชีวิตอยู่ที่ 200–300 มิลลิกรัม[9] ช่วงเวลาของการออกฤทธิ์ขึ้นอยู่กับความเป็นกรดในกระเพาะอาหารที่จะเปลี่ยนโพแทสเซียมไซยาไนด์เป็นไฮโดรเจนไซยาไนด์

โพแทสเซียมไซยาไนด์ใช้ในการกระทำอัตวินิบาตกรรมของบุคคลในประวัติศาสตร์หลายคน เช่น แอร์วิน รอมเมิล, เอฟา เบราน์, โยเซฟ เกิบเบลส์, ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์, แฮร์มันน์ เกอริงและแอลัน ทัวริง

โพแทสเซียมไซยาไนด์สามารถขจัดความเป็นพิษได้ด้วยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ [H2O2 ] หรือสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ [NaOCl] ดังสมการ:[8]

KCN + H2O2 → KOCN + H2O

ใกล้เคียง

โพแทสเซียม โพแทสเซียมคลอไรด์ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ โพแทสเซียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมคาร์บอเนต โพแทสเซียมฟลูออไรด์ โพแทสเซียมไบทาร์เทรต โพแทสเซียมไอโอไดด์ โพแทสเซียมเตตระไอโอโดเมอคูเรต(II) โพแทสเซียม โคบอลติไนไตรต์

แหล่งที่มา

WikiPedia: โพแทสเซียมไซยาไนด์ http://www.chemspider.com/8681 http://www.hindustantimes.com/india/the-only-taste... http://ecb.jrc.ec.europa.eu/esis/index.php?GENRE=E... http://www.cdc.gov/niosh/idlh/cyanides.html http://www.cdc.gov/niosh/npg/npgd0522.html http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/dispomim.cgi?id... http://cameochemicals.noaa.gov/chemical/5150 //dx.doi.org/10.1002%2F14356007.i01_i01 http://babel.hathitrust.org/cgi/pt?id=uc2.ark:/139...