นิยามและการเรียกชื่อ ของ โมเลกุลไฮเพอร์เวเลนต์

ไฮเพอร์เวเลนซีตามนิยามของ IUPAC

สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (IUPAC) นิยามคำว่า ไฮเพอร์เวเลนซี (hypervalency) ว่าเป็น ความสามารถของอะตอมในโมเลกุลที่จะขยายชั้นเวเลนซ์ที่มีอยู่ไปมากกว่ากฎออกเตต สารประกอบไฮเพอร์เวเลนต์โดยทั่วไปจะเป็นสารประกอบของในคาบที่สองขึ้นไปในหมู่ 15-18 ของตารางธาตุ การอธิบายพันธะไฮเพอร์เวเลนต์จะพิจารณาการถ่ายโอนอิเล็กตรอนจากอะตอมกลางไปยังออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่ไม่สร้างพันธะ (non-bonding molecular orbitals) ของลิแกนด์ ซึ่งโดยปกติลิแกนด์จะเป็นธาตุที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูง [1]

คำว่า “โมเลกุลไฮเพอร์เวเลนต์” ถูกนิยามครั้งแรกโดย Jeremy I. Musher ในปี ค.ศ. 1969 ว่า หมายถึง โมเลกุลที่มีอะตอมกลางในหมู่ 15-18 ในตารางธาตุที่มีเวเลนซ์เป็นอย่างอื่นที่มากกว่าเวเลนซ์ต่ำที่สุด เช่น ธาตุหมู่ 15, 16, 17 และ 18 จะมีเวเลนซ์ำต่ำที่สุดเป็น 3, 2, 1 และ 0 ตามลำดับ[2]

สัญกรณ์ N-X-L

การเรียกชื่อโดยใช้สัญกรณ์ N-X-L ถูกใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ.1980[3] โดยที่:

  • N แทน จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน
  • X คือ สัญลักษณ์ธาตุอะตอมกลาง
  • L แทน จำนวนลิแกนด์รอบอะตอมกลาง เช่น
โมเลกุลตัวอย่างจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนธาตุอะตอมกลางจำนวนลิแกนด์สัญกรณ์ N-X-L
PCl510P510-P-5
ClF310Cl310-Cl-3
XeF412Xe412-Xe-4
XeF616Xe616-Xe-6
IF512I512-I-5

การเรียกชื่อตามกลุ่มสารประกอบ

นอกจากการใช้สัญกรณ์ N-X-L แล้ว ยังมีการเรียกชื่อโมเลกุลไฮเพอร์เวเลนต์ตามกลุ่มของสารประกอบ โดยกลุ่มที่ปรากฏบ่อยครั้ง อาทิ

  • ไฮเพอร์เวเลนต์ไอโอไดด์ ได้แก่ สารประกอบพวก Dess-Martin เพอร์ไอโอเดน
  • เตตระ-, เพนตะ-, และเฮกซะโคออร์เดเนเตดฟอสฟอรัส, ซิลิคอน และ ซัลเฟอร์ เช่น PCl5 PF5 และ SF6
  • สารประกอบของแก๊สมีตระกูล
  • แฮโลเจนพอลิฟลูออไรด์
ไฮเพอร์เวเลนต์ไอโอไดด์เฮกซะโคออร์เดเนเตดซัลเฟอร์สารประกอบของแก๊สมีตระกูลแฮโลเจนพอลิฟลูออไรด์
Dess-Martin เพอร์ไอโอเดนซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ซีนอนเตตระฟลูออไรด์ไอโอดีนเพนตะฟลูออไรด์

ใกล้เคียง

โมเลกุลชีวภาพ โมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง โมเลกุล โมเลกุลไฮเพอร์เวเลนต์ โมเลกุลเล็ก โมเลกุลส่งสัญญาณ โมเลกุลขนาดใหญ่ โมเลคิวลาร์แกสโตรโนมี โอเลก โคโนเนนโค โมเอกะ โคอิซูมิ