โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือโรคที่ลดความแข็งแรงของกระดูกและเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดกระดูกหัก[1] โรคนี้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ[1] ซึ่งมักเกิดกับกระดูกไขสันหลัง, กระดูกแขนท่อนปลายและกระดูกสะโพก[6] โรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยต้องอาศัยการตรวจกระดูกเท่านั้นจึงจะทราบ ผู้ที่มีภาวะกระดูกหักจะมีอาการปวดเรื้อรังและสมรรถภาพการเคลื่อนไหวลดลง เพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้สูงกว่าเพศชายมนุษย์เราจะมีมวลกระดูกมากที่สุดในวัยราว 35 ปี มวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆเมื่อพ้นวัยนี้ไป โรคกระดูกพรุนมีสาเหตุมาจากการมีมวลกระดูกที่ต่ำกว่าคนทั่วไป หรือการมีอัตราการเสื่อมของกระดูกที่เร็วกว่าคนทั่วไป อัตราการเสื่อมของกระดูกจะเพิ่มขึ้นในวัยหมดประจำเดือนของสตรี (ราว 40-50 ปี) จากการที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง โรคกระดูกพรุนอาจเกิดขึ้นจากเหตุหรือพฤติกรรมอื่นๆ อาทิ การติดสุรา, ภาวะเบื่ออาหาร, ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน, โรคกระเพาะอาหารและลำไส้, การรับศัลยกรรมผ่าตัดเอารังไข่ออก, โรคไต รวมถึงการสูบบุหรี่

โรคกระดูกพรุน

อาการ เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหัก[1]
สาขาวิชา วิทยารูมาติก
ความชุก 15% (คนวัย50), 70% (คนวัย80ขึ้น)[5]
วิธีวินิจฉัย การเอ็กซเรย์[2]
ปัจจัยเสี่ยง การติดสุรา, ภาวะเบื่ออาหาร, ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน, โรคกระเพาะอาหารและลำไส้, ศัลยกรรมผ่าตัดเอารังไข่ออก, โรคไต, การสูบบุหรี่[1]
ยา Bisphosphonate[3][4]
ภาวะแทรกซ้อน ปวดเรื้อรัง[1]
การรักษา รับประทานอาหารเหมาะสม, ออกกำลังกาย, ป้องกันการหกล้ม[1]
การตั้งต้น ผู้สูงวัย[1]

ใกล้เคียง

โรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อนในเด็ก โรคกรวยไตอักเสบ โรคกระเพาะ โรคกระดูกเจริญผิดปกติชนิดไม่สามารถรอดชีวิตได้ โรคกรรมพันธุ์ โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคริดสีดวงทวาร

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคกระดูกพรุน http://www.niams.nih.gov/health_info/Osteoporosis/... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18253985 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18254053 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25841602 http://whqlibdoc.who.int/trs/WHO_TRS_921.pdf http://www.who.int/chp/topics/rheumatic/en/ //doi.org/10.1002%2F14651858.CD001155.pub2 //doi.org/10.1002%2F14651858.CD004523.pub3 //doi.org/10.1016%2Fj.mcna.2015.01.010 https://web.archive.org/web/20070716094519/http://...