ชนิดของโรค ของ โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง

โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังสามารถจำแนกชนิดได้โดยอาศัยรูปแบบการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและยีนในโครโมโซมที่เกิดความผิดปกติ โดยโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้ทั้งทางพันธุกรรมลักษณะเด่น (autosomal dominant) และลักษณะด้อย (autosomal recessive)

การถ่ายทอดทางพันธุกรรมลักษณะเด่น

สำหรับโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมลักษณะเด่นนั้น เมื่อบุคคลได้รับยีนผิดปรกติเพียงยีนหนึ่งจากบิดาหรือมารดาก็มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้ถึงร้อยละห้าสิบ เช่นเดียวกับบุตรของผู้ป่วยซึ่งก็มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้ถึงร้อยละห้าสิบเช่นเดียวกัน[4]

ประเภทของโรค

โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังยังแบ่งได้อีกหลายประเภทตามแต่ตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้

ชื่อชนิดช่วงเวลาตั้งต้นของโรคโดยเฉลี่ยความยาวนานของโรคอาการเด่นชัดของผู้ป่วยแหล่งที่พบมากอาการในโครงสร้างทางพันธุกรรม
เอสซีเอ-1 (อะทาซิน-1) [5]สี่สิบปี
(น้อยกว่าสิบปีหรือ
อาจเกินกว่าหกสิบปี)
สิบห้าปี
(สิบถึงยี่สิบแปดปี)
- hypermetric saccades
- ภาวะสูญเสียเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (loss of upper motor neuron)
- slow saccades
 - โครโมโซม 6-พี (อะทาซิน 1) และ
- การผลิตซ้ำของโครงสร้างทางพันธุกรรมอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence)
เอสซีเอ-2 (อะทาซิน-2) [6]สามสิบปีถึงสี่สิบปี
(น้อยกว่าสิบปีหรือ
อาจเกินกว่าหกสิบปี)
สิบปี
(หนึ่งปีถึงสามสิบปี)
ภาวะสูญเสียรีเฟล็กซ์ (areflexia)คิวบา- โครโมโซม 12-คิว และ
-การผลิตซ้ำของโครงสร้างทางพันธุกรรมอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence)
- เอสซีเอ-3 (อะทาซิน-3) หรือ
- โรคมาชาโด-โจเซฟ
(Machado-Joseph disease) [7] [8]
สี่สิบปี
(สิบปีถึงเจ็ดสิบปี)
สิบปี
(หนึ่งปีถึงยี่สิบปี)
- อาการตากระตุกขณะเพ่งมอง (Gaze-evoked nystagmus)
- ภาวะสูญเสียเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (loss of upper motor neuron)
- slow saccades
หมู่เกาะอซอส์ (Azores)
โปรตุเกส
- โครโมโซม 14-คิว และ
- การผลิตซ้ำของโครงสร้างทางพันธุกรรมอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence)
เอสซีเอ-4 (พีแอลอีเคเอชจี-4)สี่สิบปีถึงเจ็ดสิบปี
(สิบเก้าปีถึงเจ็ดสิบสองปี)
หลายสิบปีภาวะสูญเสียรีเฟล็กซ์ (areflexia) โครโมโซม 16-คิว
เอสซีเอ-5 (เอสพีทีบีเอ็น-2)สามสิบปีถึงสี่สิบปี
(สิบปีถึงหกสิบแปดปี)
ยี่สิบห้าปีขึ้นไปpure cerebellar โครโมโซม 11
เอสซีเอ-6 (ซีเอซีเอ็นเอวันเอ) [9]ห้าสิบปีถึงหกสิบปี
(สิบเก้าปีถึงเจ็ดสิบเอ็ดปี)
ยี่สิบห้าปีขึ้นไป- อาการตากระตุกลง (downbeating nystagmus)
- positional vertigo
(อาการแสดงของชนิดนี้มักเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
อย่างช้าเมื่ออายุ 65 ปี)
 - การผลิตซ้ำของกรดอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence)
- โครโมโซม 19-พี และ
- ยีนช่องแคลเซียม (calcium channel gene)
เอสซีเอ-7 (อะทาซิน-7) [10]สามสิบปีถึงสี่สิบปี
(ครึ่งปีถึงหกสิบปี)
ยี่สิบปี
(หนึ่งปีถึงสี่สิบห้าปี; การเกิดโรคครั้งแรกสัมพันธ์กับระยะเวลาของโรคที่สั้น)
- การเสื่อมที่จุดภาพชัด (macular degeneration)
- ภาวะสูญเสียเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (loss of upper motor neuron)
- slow saccades
 - โครโมโซม 3-พี (อะทาซิน 7) และ
- การผลิตซ้ำของกรดอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence)
เอสซีเอ-8 (ไอโอเอสซีเอ) [11]สามสิบเก้าปี
(สิบแปดปีถึงหกสิบห้าปี)
ช่วงชีวิตปรกติอาการตากระตุกในแนวราบ (horizontal nystagmus) - โครโมโซม 13-คิว และ
- การผลิตซ้ำของลำดับพันธุกรรมซีทีจี (CTG repeated sequence)
เอสซีเอ-10 (อะทาซิน-10) [12]สามสิบหกปีเก้าปีกล้ามเนื้อเสียการประสานงาน (ataxia) และการชัก (seizure)เม็กซิโก- โครโมโซม 22-คิว และ
- การผลิตซ้ำของโครงสร้างทางพันธุกรรมเพ็นทานิวคลีโอไทด์ (pentanucleotide repeated sequence)
เอสซีเอ-11สามสิบปี
(สิบห้าปีถึงเจ็ดสิบปี)
ช่วงชีวิตปรกติภาวะอ่อนแอ (mild)
[แต่ยังสามารถเดินได้ด้วยตนเอง (ambulatory)]
 โครโมโซม 15-คิว
เอสซีเอ-12 (พีพีพีทูอาร์ทูบี) [13]สามสิบสามปี
(แปดปีถึงห้าสิบห้าปี)
 - อาการสั่นของศีรษะและมือ (head and hand tremor) และ
-ภาวะเสียการเคลื่อนไหว (akinesia)
 - โครโมโซม 5-คิว และ
- การผลิตซ้ำของกรดอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence)
เอสซีเอ13ขึ้นอยู่กับการกลายพันธุ์ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมเคเอ็นซีเอ็น 3
(KCNC3, พันธุกรรมชนิดหนึ่ง)
ภาวะปัญญาอ่อน (mental retardation) โครโมโซม 19-คิว
เอสซีเอ-14 (พีอาร์เคซีจี) [14]ยี่สิบแปดปี
(สิบสองปีถึงสี่สิบสองปี)
หลายสิบปี
(หนึ่งปีถึงสามสิบปี)
ภาวะกล้ามเนื้อกระตุกรัว (myoclonus) โครโมโซม 19-คิว
เอสซีเอ-16สามสิบเก้าปี
(ยี่สิบปีถึงหกสิบหกปี)
หนึ่งปีถึงสี่สิบปีอาการสั่นของศีรษะและมือ (head and hand tremor) โครโมโซม 8-คิว
เอสซีเอ-17 (ทีบีพี)    - การผลิตซ้ำของโครงสร้างทางพันธุกรรมอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence) และ
- โครโมโซม 6-คิว (พันธะโปรตีนโกลด์เบิร์ก-ฮอกเนสบ็อกซ์, TATA-binding protein)
เอสซีเอ-19 และ
เอสซีเอ-22
  - อาการสมองน้อยอ่อน (Mild cerebellar syndrome) และ
- อาการพูดไม่เป็นความ (dysarthria)
  
เอสซีเอ-25หนึ่งปีครึ่งถึงสามสิบเก้าปีไม่ทราบ- กล้ามเนื้อเสียการประสานงานเหตุประสาทพิการ
- การอาเจียน และ
- ภาวะเจ็บปวดในทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract pain)
 โครโมโซม 2-พี

หมายเหตุ

  1. "ซีเอซีเอ็นเอวันเอ" (CACNA1A) หมายถึง ช่องแคลเซียมอาศัยศักย์ไฟฟ้าประเภทพี/คิว หน่วยย่อยแอลฟา 1-เอ (calcium channel, voltage-dependent, P/Q type, alpha 1-A subunit)
  2. "ทีบีพี" (TBP) หมายถึง พันธะโปรตีนโกลด์เบิร์ก-ฮอกเนสบ็อกซ์ (TATA box binding protein)
  3. "พีพีพีทูอาร์ทูบี" (PPP2R2B) หมายถึง โปรตีนฟอสฟาเทส 2 ส่วนควบคุมย่อยบี บีทาไอโซฟอร์ม (protein phosphatase 2, regulatory subunit B, beta isoform)
  4. "พีอาร์เคซีจี" (PRKCG) หมายถึง โปรตีนไคเนส-ซี, แกมมา (protein kinase-C, gamma)
  5. "พีแอลอีเคเอชจี" (PLEKHG) หมายถึง แพล็กสทรินฮอมอโลยี-ตระกูลจี (pleckstrin homology-family G)
  6. "อะทาซิน" (ataxin) หมายถึง กล้ามเนื้อเสียการประสานงาน
  7. "เอสซีเอ" (SCA) หมายถึง โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง
  8. "เอสพีทีบีเอ็น" (SPTBN) หมายถึง สเปกตริน บีทา นอน-อิริโทรไซคลิก (spectrin, beta, non-erythrocytic)
  9. "ไอโอเอสซีเอ" (IOSCA) หมายถึง โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังซึ่งเริ่มเกิดในเด็ก (infantile onset spinocerebellar ataxia)
  10. "ความยาวนานของโรค" หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่

การถ่ายทอดทางพันธุกรรมลักษณะด้อย

โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมลักษณะด้อยนั้น อาศัยยีนผิดปกติทั้งจากบิดาและมารดาจึงจะก่อโรคนี้ โดยมีโอกาสเกิดเพียงแค่ร้อยละยี่สิบห้าของการตั้งครรภ์หนึ่งครั้ง ชื่อของชนิดจะแตกต่างกันตามแต่ตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมที่ได้รับผลกระทบ เช่น

  • โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานแบบเฟรดริก (Friedreich ataxia)
  • โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานและหลอดเลือดฝอยพอง (Ataxia-telangiectasia)
  • โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานร่วมกับการขาดวิตามินอี (Ataxia with vitamin E deficiency)
  • โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานร่วมกับการเสียการทำงานของประสาทกล้ามเนื้อตา (ataxia with oculomotor apraxia; AOA) และ
  • โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานชนิดกล้ามเนื้อเกร็ง (Spastic ataxia)
  • การถ่ายทอดโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังแบบลักษณะเด่น
  • การถ่ายทอดโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังแบบลักษณะด้อย

ใกล้เคียง

โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน โรคกลัวที่ชุมชน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย โรคกลัว โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแลมเบิร์ท-อีทัน โรคกล้ามเนื้อฝ่อจากไขสันหลัง โรคกลัวการขาดมือถือ โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานและหลอดเลือดฝอยพอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง http://www.diseasesdatabase.com/ddb12339.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=334 http://www.springerlink.com/content/l27w056586350r... http://www.tchain.com/otoneurology/disorders/centr... http://www.ninds.nih.gov/disorders/machado_joseph http://leedsdna.info/tests/DRPLA.htm http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://www.1719.net/consult_htdoc/Question.asp?GID... http://www.ataxia.org http://www.cureataxia.org