โรคซนสมาธิสั้น
โรคซนสมาธิสั้น

โรคซนสมาธิสั้น

สมาธิสั้น (อังกฤษ: Attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) เป็นโรคประสาท[11][12]ประเภทความผิดปกติในการเจริญเติบโตของระบบประสาท ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจ การแสดงออกอย่างหุนหันพันแล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัย[13] ลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน[3][14] พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่แม้ว่ามีการศึกษาอย่างแพร่หลายกับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น แต่ก็ยังไม่พบสาเหตุของโรคที่เกิดกับคนส่วนใหญ่ ในจำนวนเด็กทั้งหมด พบว่ามีเด็กประมาณ 6-7% ที่เป็นโรคสมาธิสั้นเมื่อคัดตามเกณฑ์ DSM-IV[15] และ 1-2% เมื่อคัดตามเกณฑ์ ICD-10[16] อัตราการเป็นโรคใกล้เคียงกันในแต่ละประเทศ และส่วนใหญ่แล้วแตกต่างกันตามวิธีการตรวจ[17] อาการนี้มีการพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 3 เท่า[18][19] ประมาณ 30-50% ของผู้ที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วัยเด็กมีอาการต่อจนโตเป็นผู้ใหญ่[20] และมีผู้ใหญ่ 2-5% ที่มีอาการสมาธิสั้น[11] อาการสมาธิสั้นนั้นอาจจะยากที่จะแยกออกจากความผิดปกติอื่น ๆ และอาการของคนทั่วไปที่กระตือรือร้นมากกว่าปกติการจัดการกับโรคสมาธิสั้นมักจะเป็นการให้คำปรึกษา การเปลียนแปลงวิถีการใช้ชีวิต และการให้ยา รวมกัน แต่การให้ยานั้นแนะนำให้ใช้ในกรณีของเด็กที่มีอาการรุนแรงและอาจจะพิจารณาให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางที่ล้มเหลวจากวิธีให้คำปรึกษา[21]:p.317 ผลกระทบระยะยาวนั้นยังไม่ชัดเจน และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กก่อนวันเรียน วัยรุ่นและผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาทักษะในการเผชิญปัญหาได้ด้วยเช่นกัน[22]โรคสมาธิสั้นและการรักษาเป็นที่ถกเถียงตั้งแต่ช่วงปี 1970[23] มีการโต้เถียงระหว่างแพทย์กับครู ผู้กำหนดนโยบาย พ่อแม่ และสื่อ โดยหัวข้อนั้นเกี่ยวกับสาเหตุของสมาธิสั้น และการใช้ยากระตุ้นเพื่อเป็นการรักษา[24][25] ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ให้การดูแลสุขภาพได้ยอมรับว่าสมาธิสั้นเป็นโรค ข้อโต้เถียงในวงการวิทยาศาสตร์จะเกี่ยวกับเกณฑ์ของอาการและวิธีการรักษา

โรคซนสมาธิสั้น

อาการ Difficulty paying attention, excessive activity, difficulty controlling behavior[1][2]
สาขาวิชา Psychiatry, pediatrics
ระยะดำเนินโรค >6 months[3]
ความชุก 51.1 million (2015)[10]
สาเหตุ Both genetic and environmental factors[4][5]
วิธีวินิจฉัย Based on symptoms after other possible causes ruled out[1]
ยา Stimulants, atomoxetine, guanfacine, clonidine[8][9]
การรักษา Counseling, lifestyle changes, medications[1]
ชื่ออื่น Attention-deficit disorder, hyperkinetic disorder (ICD-10)
การตั้งต้น Before age 6–12[3]
โรคอื่นที่คล้ายกัน Normally active young child, conduct disorder, oppositional defiant disorder, learning disorder, bipolar disorder, fetal alcohol spectrum disorder[6][7]

ใกล้เคียง

โรคซนสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า โรคนิ่วไต โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค) โรเซน ไมเดน โรคนอนไม่หลับมรณะ โรคน้ำกัดเท้า โรคนอนชักนำโดยกาเฟอีน โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจแต่กำเนิด โรคหน้าที่

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคซนสมาธิสั้น http://books.google.ca/books?id=HvTa2nArhOsC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=Y1DtSGq-LnoC&q=1-2... http://books.google.ca/books?id=fOc4pdXe43EC&pg=PA... http://adhd-npf.com/english-adhd-history-1798-alex... http://adhd-npf.com/history-of-adhd-1902-sir-georg... http://www.autismthai.com http://books.google.com/?id=mRGr_B4Y1CEC&pg=PA63&d... http://www.webmd.com/add-adhd/adhd-anger-managemen... http://www.cdc.gov/ncbddd/adhd/diagnosis.html http://www.nimh.nih.gov/health/publications/attent...