โรคบูลิเมีย_เนอร์โวซา
โรคบูลิเมีย_เนอร์โวซา

โรคบูลิเมีย_เนอร์โวซา

โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา (อังกฤษ: bulimia nervosa) เป็นความผิดปกติของการรับประทานที่ผู้ป่วยจะทานอาหารปริมาณมากในเวลาอันสั้นแล้วขับออกด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ทำให้ตัวเองอาเจียน ใช้ยาระบายหรือสารกระตุ้นหรือออกกำลังอย่างหนัก[2][4] ผู้ป่วยบูลิเมียส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตามเกณฑ์[1] ลักษณะหนึ่งของโรคนี้คือจะมีผิวหนังตรงข้อนิ้วบางเนื่องจากการล้วงคอให้ตัวเองอาเจียนและมีฟันสึกหรอ[2] ผู้ป่วยบูลิเมียมักประสบอารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวลและปัญหาสารเสพติดร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย[3]โรคบูลิเมียมีเปอร์เซ็นต์ที่เกิดจากพันธุกรรมประมาณ 30-80% และอาจเกิดจากปัจจัยอื่นเช่น การถูกกดดันจากสังคมที่ให้คุณค่ากับความผอม โรคอ้วน ความเครียดและความภูมิใจแห่งตนต่ำ[4] การวินิจฉัยจะใช้การซักประวัติ แต่บางครั้งอาจยากที่จะวินิจฉัยเนื่องจากผู้ป่วยปกปิดพฤติกรรมตัวเอง[4] โรคบูลิเมียมีอาการบางอย่างที่คล้ายกับโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ binge eating disorder กลุ่มอาการไคลน์-เลวินและความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง[5]การรักษาหลักของโรคบูลิเมียคือการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม[6] ยาแก้ซึมเศร้าชนิด Selective serotonin re-uptake inhibitors และยาแก้ซึมเศร้าไตรไซคลิกให้ผลการรักษาที่ดีปานกลาง[7] มีรายงานว่าผู้ป่วยประมาณ 50% ที่เข้ารับการรักษาเกินกว่า 10 ปี มักมีอาการดีขึ้น[4]ในปี ค.ศ. 2015 มีผู้ป่วยบูลิเมียทั่วโลกประมาณ 3.6 ล้านคน[8] โรคนี้พบไม่บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา[4] ผู้หญิงประมาณ 2-3% จะประสบโรคบูลิเมียในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต[3] ผู้หญิงมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายประมาณ 9 เท่า โดยมีอัตราการเกิดกับผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมากที่สุด[5] เจอรัลด์ รัสเซล จิตแพทย์ชาวอังกฤษเป็นผู้ตั้งชื่อและอธิบายโรคนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1979[9] โดยมาจากคำในภาษากรีก βουλιμία (boulīmia) ที่แปลว่า "ผู้ที่กินอย่างตะกละ" ดังนั้น bulimia nervosa จึงมีความหมายว่า "ผู้ป่วยทางจิตที่กินอย่างตะกละตะกลาม"[10]

โรคบูลิเมีย_เนอร์โวซา

อาการ กินอาหารปริมาณมากในเวลาอันสั้น แล้วขับออกด้วยการอาเจียนหรือใช้ยาระบาย, ผู้ป่วยมักมีน้ำหนักตามเกณฑ์[1][2]
สาขาวิชา จิตเวชศาสตร์
สาเหตุ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[2][4]
ความชุก 3.6 ล้านคน (ค.ศ. 2015)[8]
วิธีวินิจฉัย ประวัติของผู้ป่วย[5]
ยา Selective serotonin re-uptake inhibitors, ยาแก้ซึมเศร้าไตรไซคลิก[4][7]
ภาวะแทรกซ้อน ฟันสึกกร่อน, ซึมเศร้า, วิตกกังวล, ปัญหาสารเสพติด, การฆ่าตัวตาย[2][3]
การรักษา การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม[2][6]
ชื่ออื่น Bulimia
โรคอื่นที่คล้ายกัน โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ, binge eating disorder, กลุ่มอาการไคลน์-เลวิน, ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง[5]
พยากรณ์โรค 50% ของผู้ป่วยที่รับการรักษาเกิน 10 ปี มีอาการดีขึ้น[4]