โรคฝุ่นหินจับปอด
โรคฝุ่นหินจับปอด

โรคฝุ่นหินจับปอด

โรคฝุ่นหินจับปอด (Silicosis) หรือ โรคปอดคนงานเหมือง (อังกฤษ: Miner's phthisis)[1] เป็นโรคฝุ่นจับปอดประเภทหนึ่ง[2] ที่เกิดจากการหายใจรับเอาอนุภาคหินเข้าไปมาก ๆ จนทำให้เกิดการอักเสบเกิดแผลในปอดส่วนบน โรคนี้มักนิยมพบในคนงานเหมืองหรือช่างตัดเจียรหินหรือคอนกรีตผู้บ่วยโรคนี้จะมีอาการหายใจลำบาก, ไอ, มีเสมหะสีดำ, เหนื่อยง่าย, เจ็บหน้าอก, มีไข้ และมีภาวะผิวคล้ำเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน บ่อยครั้งที่แพทย์มักวินิจฉัยผู้ป่วยโรคนี้ผิดพลาดว่าเป็นปอดบวมน้ำ, ปอดบวม และวัณโรค โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง เมื่อเป็นแล้วไม่มีทางรักษาให้หายได้[3] ทำได้แค่บรรเทาอาการเท่านั้น ดังนั้นจึงควรป้องกันตัวโดยการสวมหน้ากากกรองฝุ่นในที่ทำงานที่มีฝุ่นหินมาก การพรมน้ำในที่ทำงานก็มีส่วนช่วยได้เช่นกันในปี ค.ศ. 2013 มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ราว 46,000 คนทั่วโลก ซึ่งมีทิศทางลดลงจากปี ค.ศ. 1990 ที่มีผู้เสียชีวิต 55,000 คน[4]

โรคฝุ่นหินจับปอด

สาขาวิชา พยาธิวิทยาระบบหายใจ
ระยะดำเนินโรค โรคเรื้อรัง
สาเหตุ สูดรับเอาอนุภาคฝุ่นหิน
การรักษา ไม่มี
พยากรณ์โรค ทำได้