งานวิจัย ของ โรคไซโคลไทเมีย

ประเด็นว่าแบบย่อย ๆ ของโรคอารมณ์สองขั้วเช่นโรคนี้ เป็นโรคต่างหาก ๆ หรือเป็นสเปกตรัมของโรคอารมณ์สองขั้ว ยังเป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันอยู่ในหมู่นักวิชาการโรคนี้มักไม่กล่าวถึงในงานวิจัยและไม่ค่อยวินิจฉัย จึงทำให้แพทย์พยาบาลไม่ค่อยเข้าใจโรคนี้การไม่กล่าวถึงในสถานการณ์ทั้งสองเช่นนี้แสดงว่า คงจะวินิจฉัยโรคเป็นความผิดปกติทางอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง หรือเป็นโรคทางจิตเวชที่ไม่เกี่ยวกับอารมณ์ (non-affective psychiatric disorder) หรือไม่ก็ไม่ได้รับความสนใจทั้งทางวิทยาศาสตร์และการตรวจรักษา[21]ซึ่งอาจเป็นเพราะเกณฑ์วินิจฉัยไม่ชัดเจน หรือเพราะลักษณะของโรคยังเป็นเรื่องไม่ลงตัวอนึ่ง เกณฑ์วินิจฉัยปัจจุบันเน้นความคงยืนของอาการ จึงแสดงว่ามันเป็นลักษณะที่คงยืน ไม่ใช่ภาวะทางจิตใจ และดังนั้น จึงอ้างว่า ควรวินิจฉัยเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพแทนเนื่องจากอาการมักจะคาบเกี่ยวกับความผิดปกติทางอารมณ์ ความสมเหตุสมผลและความแตกต่างระหว่างหมวดวินิจฉัยสองอย่างนี้จึงยังเป็นเรื่องถกเถียง[22]

ท้ายสุด เพราะโรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตใจอื่น ๆ จึงทำให้วินิจฉัยได้ยาก[21]ปัญหาเหล่านี้จึงทำให้นักวิชาการและแพทย์ผู้รักษาไม่เห็นพ้องกันในเรื่องนิยามของโรคและความสัมพันธ์ของมันกับความผิดปกติทางจิตใจอื่น ๆ ความไม่เห็นพ้องในเรื่องนิยามเชิงปฏิบัติการ (operational definition) และอาการแสดง จะปรากฏเด่นเป็นพิเศษในเด็กและวัยรุ่น เพราะเกณฑ์วินิจฉัยยังไม่ได้ปรับใช้กับระดับพัฒนาการของเด็ก ๆ อย่างเพียงพอ[23]