ประวัติ ของ โรคไซโคลไทเมีย

ในปี 1883 จิตแพทย์ชาวเยอรมัน Karl Ludwig Kahlbaum ระบุโรคที่มีอาการเป็นอารมณ์หมุนเวียนซึ่งเกิดซ้ำ ๆโรคมีทั้งระยะซึมเศร้าและระยะฟุ้งพล่านโดยมีอาการอ่อนกว่าที่พบในโรคอารมณ์สองขั้ว[17]หมอและลูกศิษย์ซึ่งเป็นจิตแพทย์ชาวเยอรมันอีกท่านคือ Ewald Hecker ได้บัญญัติชื่อโรคว่า cyclothymia[1]หมอพัฒนาทฤษฎีโรคจากงานที่ทำกับคนไข้ผู้มีอาการดังกล่าว[1]หมอมีชื่อว่าเป็นนักสะกดจิตบำบัดและนักจิตบำบัดชั้นนำในสมัยนั้น[1]มีความคิดก้าวหน้าในเรื่องสุขภาพจิต โดยเชื่อว่า ความเจ็บป่วยทางจิตใจไม่ควรเป็นมลทินทางสังคมและควรปฏิบัติกับคนไข้ผู้มีปัญหาทางจิตใจอย่างเมตตากรุณา[1]หมอเป็นคนแรกที่เขาใจว่า คนไข้โรคนี้ปกติไม่ไปหาแพทย์เพราะโรคมีอาการอ่อน[1]

โรคมองได้หลายรูปแบบรวมทั้งเป็นรูปแบบย่อยของโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นพื้นอารมณ์แต่กำเนิด (temperament) เป็นลักษณะทางบุคลิกภาพ (personality trait) และเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ[18]มีการเสนอด้วยว่าควรจัดเป็นความผิดปกติของพัฒนาการทางประสาท (neurodevelopmental disorder)[4]ตาม DSM-5 ลักษณะสองอย่างของโรคนี้ก็คือการมีระยะซึมเศร้าและระยะเกือบฟุ้งพล่านและยังจัดเป็นรูปแบบย่อยของโรคอารมณ์สองขั้ว แต่นักวิชาการบางส่วนก็ไม่เห็นด้วยและอ้างว่า มันควรจัดโดยหลักเป็นอารมณ์เกินส่วน (exaggeration of mood) และเป็นอารมณ์ไม่เสถียร (emotional instability)[10]ในอดีต โรคเคยระบุว่ามีอาการอื่น ๆ เช่น อารมณ์ที่ดีขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ดีหรืออาจดี (mood reactivity) ความไม่ยับยั้งชั่งใจ (impulsivity) และความวิตกกังวล[10]