เกณฑ์การวินิจฉัยไมเกรน ของ โรคไมเกรน

แนวทางการวินิจฉัยไมเกรนใช้หลักเกณฑ์ของ International Headche Society (IHS) ซึ่งจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

ไมเกรน เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติระบบประสาทที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะซึ่งเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด ซึ่งอาจจะเป็นๆ หายๆ จึงควรได้รับการวินิจฉัยแยกจากกลุ่มที่มีอาการคล้ายไมเกรน เช่น Cluster Headche, Tension Headche ลักษณะที่สำคัญของไมเกรน ประกอบด้วย ส่วนใหญ่มักจะปวดศีรษะข้างเดียวประมาณ 60% หรือจะมีอาการปวดศีรษะทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยทั่วไปจะมีอาการปวดศีรษะนาน 4-72 ชั่วโมงและมักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและเวียนศีรษะร่วมด้วย รวมถึงอาการกลัวแสงหรืออาการกลัวเสียงได้

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไมเกรน มีทั้งให้การรักษาแบบไม่ใช้ยาโดยการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเกี่ยว พยาธิกำเนิด ปัจจัยกระตุ้นต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถึชีวิต และการรักษาแบบใช้ยา โดยจำแนกออกเป็นยาป้องกันไมเกรนที่ต้องรับประทานทุกวันสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการตั้งแต่ 3 ครั้งต่อเดือน และยารักษาอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน


โรคไมเกรนที่ไม่มีอาการนำ
1.ปวดศีรษะนาน 4-72 ชั่วโมง ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ได้ผล

2.อาการปวดศีรษะจะต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 2 ข้อ ได้แก่

  • 2.1 ส่วนใหญ่ปวดศีรษะข้างเดียวแต่บางอาจปวดทั้งสองข้าง
  • 2.2 ปวดตุบ ๆ เป็นจังหวะ
  • 2.3 อาการปวดศีรษะอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง
  • 2.4 อาการปวดศีรษะทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เป็นปกติ

3.ระหว่างปวดศีรษะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

  • 3.1 อาการไม่สู้แสง หรือ อาการไม่สู้เสียง
  • 3.2 คลื่นไส้ หรือ อาเจียน

4.เคยปวดศีรษะอย่างน้อย 5 ครั้ง และ มีอาการที่ระบุไว้ในข้อ 1-3

โรคไมเกรนที่มีอาการนำ
1.พบอาการนำอย่างน้อย 1 อาการ ดังนี้
  • 1.1อาการแสดงทางสายตาที่กลับมาได้ เช่น เห็นแสงวูบวาบ เห็นภาพเป็นจุด เห็นแสงซิกแซก เป็นต้น
  • 1.2อาการแสดงทางการรับความรู้สึกที่กลับมาได้ เช่น วิงเวียนศีรษะ มีเสียงในหู เป็นต้น
  • 1.3อาการแสดงที่แสดงอาการพูดลำบากที่กลับมาได้

2.พบอาการนำอย่างน้อย 2 อาการ ดังนี้

  • 2.1พบกลุ่มอาการ aura ที่บ่งบอกถึงความบกพร่องการทำงานของ cerebral cortex หรือ brain stem
  • 2.2พบอาการ aura ชนิดใดชนิดหนึ่งเกิดนานมากกว่า 5 นาที หรือเกิดอาการ aura แต่ละชนิดต่อเนื่องกันเป็นลำดับ
  • 2.3อาการ aura เกิดนานไม่เกิน 60 นาที นอกจากจะเกิดอาการ aura หลายชนิด

3.อาการปวดศีรษะ จะเกิดตามอาการนำในช่วงเวลาไม่เกิน 60 นาที

4.อาการปวดศีรษะนี้ได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายว่า ไม่ได้มาจากพยาธิสภาพที่อาจเกิดโรคในโพรงกะโหลกศีรษะ หรือ โครงสร้างอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงกับโพรงกะโหลกศีรษะ

5.เคยปวดศีรษะอย่างน้อย 2 ครั้งและมีอาการที่ระบุไว้ในข้อ 1-4

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคไมเกรน http://www.99healthy.com/excedrin-migraine.html http://www.diseasesdatabase.com/ddb31876.htm http://www.diseasesdatabase.com/ddb4693.htm http://www.diseasesdatabase.com/ddb8207.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic230.htm http://www.emedicine.com/neuro/topic218.htm http://www.emedicine.com/neuro/topic517.htm http://www.emedicine.com/neuro/topic529.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=346 http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=w...