ประวัติ ของ โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ

  • ๑ เมษายน ๒๔๓๓ พบหลักฐานพระราชบัญญัติแต่งตั้งข้าราชการทหารเรือ มีนามโรงพยาบาลทหารเรือปรากฏอยู่ มีที่ตั้งอยู่บริเวณ รร.สตรีวัดระฆัง ในปัจจุบัน (เราจึงถือเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันสถาปนา กรมแพทย์ทหารเรือ)
  • พ.ศ. ๒๔๕๓ มีดำริจะสร้างกองแพทย์ และ รพ.ทหารเรือใหม่ บริเวณปากคลองมอญด้านเหนือ ในช่วงเวลาที่ นพ.เบอร์เมอร์ ชาวเยอรมันเป็นนายแพทย์ใหญ่ และ ร.ต.เภา เป็น ผช.นายแพทย์ใหญ่
  • การก่อสร้างเริ่มเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่การก่อสร้างแล้วเสร็จและย้าย “กองแพทย์ และพยาบาลทหารเรือ” มาจากบริเวณวัดระฆัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖

โรคส่วนใหญ่ที่รักษา - เหน็บชา (มีตึกผู้ป่วยเหน็บชา – อาคาร ๖)

  • กามโรค
  • ติดฝิ่น

มีอาคารทั้งสิ้น ๖ อาคาร ตึก ๑ เป็นอาคารบังคับการ ตึก ๒ เป็นห้องตรวจโรคและผ่าตัด ห้องแต่งแผล ฉีดยา (โอพีดี) ตึก ๓ เป็นห้องยา คลังยา ตึก ๔ เป็นตึกผู้ป่วยกามโรค ตึก ๕ เป็นตึกผู้ป่วยทั่วไป ตึก ๖ เป็นตึกผู้ป่วยเหน็บชา (ต่อมารื้อสร้างเป็นอาคารบำบัดยาเสพติด)

  • ๒๐ กันยายน ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า

ยกฐานะ “กองแพทย์และพยาบาลทหารเรือ” เป็น “กรมแพทย์พยาบาลทหารเรือ” ซึ่งปรากฏเป็นหลักว่าเริ่มมีการจัดหลักสูตรการศึกษาของ นร.พยาบาลทหารเรือ ขึ้นในปีนั้นด้วย โดยใช้ชื่อ “นร.อาสาสำรอง” ระยะเวลาการศึกษา ๓ เดือน ขณะเรียนได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๒ – ๖ บาท เบี้ยเลี้ยงวันละ ๒๕ สตางค์ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๑๒ บาท

กรมแพทย์และพยาบาลทหารเรือมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคหลายสมัย บางครั้งก็มีหลักฐานเป็นกรม บางครั้งก็ปรับเปลี่ยนฐานะเป็นกอง จวบจนกระทั่งในวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๘๕ มีพระราชกฤษฎีกาจัดหน่วยย่อย ในกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๑๑) พุทธศักราช ๒๔๘๕ ในมาตรา ๗ กำหนดให้กรมแพทย์ทหารเรือเป็นส่วนราชการหนึ่งของกองทัพเรือ ซึ่งต่อมามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะ ๆ
  • จวบจนกระทั่งในปี ๒๔๙๘ ได้มีการก่อสร้าง รพ.ทหารเรือบุคคโลขึ้นบริเวณบุคคโล และมีการจัดส่วนราชการหน่วยขึ้นตรงกรมแพทย์ทหารเรือขึ้นใหม่ และปรากฏชื่อ รพ.ทหารเรือกรุงเทพขึ้น ในรายชื่อหน่วย

ขึ้นตรง พร. เมื่อ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๙๘ เพื่อใช้เรียกโรงพยาบาลทหารเรือเดิมบริเวณปากคลองมอญ ผู้อำนวยการในขณะนั้นคือ นาวาเอก เวียง วิรัติภูมิประเทศ

  • ต่อมาเมื่อกรมแพทย์ทหารเรือ ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่บริเวณบุคคโล เมื่อ ๙ กรกฎาคม ๒๕๐๖ รพ.ทหารเรือกรุงเทพ ก็ยังคงใช้พื้นที่และอาคารเดิมบริเวณคลองมอญเป็นที่ทำการต่อมา
  • ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ กองทัพเรือ โดย พล.ร.อ.ทวีศักดิ์ โสมาภา ท่านผู้บัญชาการทหารเรือ ในขณะนั้น

ได้พิจารณาอนุมัติให้จัดสร้างโรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพขึ้นใหม่บริเวณพื้นที่บางนา ใกล้กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ เนื่องจากบริเวณคลองมอญมีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถรองรับการขยายตัวของภารกิจที่เพิ่มมากขึ้นของ รพ.ทหารเรือกรุงเทพ ได้ ประกอบกับ เป็นการรองรับการให้บริการกำลังพลและครอบครัวที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่บางนา โดย พล.ร.อ.ทวีศักดิ์ฯ ได้เดินทางมาวางศิลาฤกษ์ เมื่อ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖ ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๒๘๒,๙๒๓,๖๘๐ บาท (สองร้อยแปดสิบสองล้านเก้าแสนสองหมื่นสามพันหกร้อยแปดสิบบาท)เริ่มก่อสร้างเมื่อ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๘ แล้วเสร็จเมื่อ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๐เป็น รพ.ขนาด ๑๒๐ เตียง ประกอบด้วย - ตึกผู้ป่วยทั่วไป ๔๐ เตียง - ตึกผู้ป่วยจิตเวช ๔๐ เตียง - ตึกผู้ป่วยบำบัดยาเสพติด ๔๐ เตียงได้ดำเนินการย้ายการดำเนินการมาเป็นส่วน ๆ โดย - เปิดรับผู้ป่วยใน ของตึกจิตเวชและบำบัดยาเสพติด และแผนกพยาธิวิทยา เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ - เปิดให้บริการแผนกทันตกรรม เมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ - เปิดให้บริการตรวจสุขภาพและแผนกรังสีวิทยา เมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๑ - และเปิดให้บริการทุกแผนก เมื่อ ๓ มีนาคม ๒๕๕๑

  • ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ พล.ร.อ.สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เป็นประธานในพิธีเปิด

รพ.ทหารเรือกรุงเทพ พร. อย่างเป็นทางการ

  • ๒๓ เมษายน ๒๕๕๒ รพ.ทหารเรือกรุงเทพ พร. ได้ประชุม นขต.พร.ฯ ประจำเดือน เมษายน ๕๒ โดยมี น.อ.พันเลิศ แกล้วทนงค์ ผอ.รพ.ฯ เป็นประธานในที่ประชุม ได้ขอมติจากที่ประชุม รพ.ฯ ให้วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิดของ รพ.ทหารเรือกรุงเทพ พร. (แห่งใหม่) จากการที่ รพ.ทหารเรือกรุงเทพ พร. บริเวณพื้นที่ปากคลองมอญ มิได้กำหนดไว้


โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์)
กัลยาณิวัฒนาการุณย์จุฬาลงกรณ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติพระมงกุฎเกล้ามหาราชนครเชียงใหม่ นเรศวรรามาธิบดีสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์วชิรพยาบาลศรีนครินทร์ศิริราชศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุแม่ฟ้าหลวงสุรนารีบูรพาพะเยาวลัยลักษณ์อุบลราชธานีสงขลานครินทร์สุทธาเวช
โรงพยาบาลส่วนกลาง (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)
โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)
โรงพยาบาลศูนย์
ขอนแก่นเจ้าพระยายมราชเจ้าพระยาอภัยภูเบศรชลบุรีเชียงรายประชานุเคราะห์ตรังนครปฐมนครพิงค์บุรีรัมย์พระนครศรีอยุธยาพระปกเกล้าพุทธชินราช พิษณุโลกพุทธโสธรมหาราชนครราชสีมามหาราชนครศรีธรรมราชยะลาร้อยเอ็ดระยองราชบุรีลำปางวชิระภูเก็ตศรีสะเกษสกลนครสรรพสิทธิประสงค์สระบุรีสวรรค์ประชารักษ์สุราษฎร์ธานีสุรินทร์หาดใหญ่อุดรธานีอุตรดิตถ์
โรงพยาบาลทั่วไป
กระบี่๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณกาฬสินธุ์กันทรลักษ์กำแพงเพชรเกาะสมุยชัยนาทนเรนทรชัยภูมิชุมพรเขตรอุดมศักด์ชุมแพเชียงคำดำเนินสะดวกตราดตะกั่วป่าเทพรัตน์นครราชสีมานครนายกนครพนมนครราชสีมานราธิวาสราชนครินทร์น่านบางบัวทองบางใหญ่บ้านโป่งบ้านหมี่เบตงปทุมธานีประจวบคีรีขันธ์ปัตตานีปักธงชัยปากช่องนานาพระจอมเกล้าพระนั่งเกล้าพระนารายณ์มหาราชพระพุทธบาทพหลพลพยุหเสนาพะเยาพังงาพัทลุงพิจิตรเพชรบูรณ์แพร่โพธารามภูเขียวเฉลิมพระเกียรติมหาสารคามมะการักษ์มุกดาหารแม่สอดยโสธรระนองลำพูนเลย • • วารรินชำราบศรีสังวรสุโขทัยศรีสังวาลย์สงขลาสตูลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสมเด็จพระยุพราชสระแก้วสมเด็จพระยุพราชเดชอุดมสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17สมุทรปราการสมุทรสาครสิงห์บุรีสิรินธรสุโขทัยสุไหงโก-ลกเสนาหนองคายหนองบัวลำภูหัวหินอ่างทองอำนาจเจริญอินทร์บุรีอุทัยธานี
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
โรงพยาบาลชุมชน
โรงพยาบาลเฉพาะทาง
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ทันตกรรมธัญญารักษ์ประสาท เชียงใหม่ประสาทวิทยาโรคทรวงอกโรคผิวหนัง โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้เวชศาสตร์ผู้สูงอายุศูนย์สิรินธรฯ • ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด (เชียงใหม่ / ขอนแก่น / ปัตตานี / แม่ฮ่องสอน / อุดรธานี) • ศูนย์มะเร็ง (ชลบุรี / ลพบุรี / ลำปาง / สุราษฎร์ธานี / อุดรธานี / อุบลราชธานี) • ศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรีศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร เพื่อผู้สูงอายุสถาบันมะเร็งแห่งชาติสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
อื่นๆ
โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม
กรมแพทย์ทหารบก
ค่ายกฤษณ์สีวะราค่ายกาวิละค่ายขุนเจืองธรรมิกราชค่ายเขตอุดมศักดิ์ค่ายจักรพงษ์ค่ายจิรประวัติค่ายเทพสตรีศรีสุนทรค่ายธนะรัชต์ค่ายนวมินทราชินีค่ายประจักษ์ศิลปาคมค่ายพระยอดเมืองขวางค่ายพ่อขุนผาเมืองค่ายพิชัยดาบหักค่ายภาณุรังสีค่ายเม็งรายมหาราชค่ายรามราชนิเวศน์ค่ายวชิรปราการค่ายวชิราวุธค่ายวิภาวดีรังสิตค่ายวีรวัฒนโยธินค่ายศรีพัชรินทรค่ายศรีสองรักค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชค่ายสรรพสิทธิประสงค์ค่ายสุรนารีค่ายสุรศักดิ์มนตรีค่ายสุรสิงหนาทค่ายสุรสีห์ค่ายสุริยพงษ์ค่ายเสนาณรงค์ค่ายอดิศรค่ายอิงคยุทธบริหารทหารผ่านศึกพระมงกุฎเกล้าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าอานันทมหิดล
กรมแพทย์ทหารเรือ
กรมแพทย์ทหารอากาศ
โรงพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่นๆ
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โรงพยาบาลสภากาชาดไทย
อื่นๆ
โรงพยาบาลเอกชน
บทความเกี่ยวกับหน่วยงานหรือองค์กรนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล

ใกล้เคียง

โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหั่วเฉินชาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช