ประวัติ ของ โรงละครโกลบ

โรงละครโกลบเป็นของนักแสดงผู้มีหุ้นส่วนในคณะละครลอร์ดเชมเบอร์เลนด้วย สองในหกผู้ถือหุ้นของโรงละครโกลบริชาร์ด เบอร์เบจ และพี่ชายคัธเบิร์ต เบอร์เบจเป็นเจ้าของหุ้นสองเท่าของหุ้นทั้งหมดหรือคนละ 25% เจ้าของอีกสี่คน เชคสเปียร์, จอห์น เฮ็มมินจ์ส, ออกัสติน ฟิลลิปส์ และ ทอมัส โพพต่างก็เป็นเจ้าของหุ้นเท่าเดียวหรือคนละ 12.5%[6] สัดส่วนของการถือหุ้นก็เปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ เมื่อมีการเพิ่มจำนวนหุ้นขึ้น หุ้นส่วนของเชคสเปียร์ลดจาก 1/8 จนเหลือเพียง 1/14 หรือราว 7% ในชั่วอายุการอาชีพ[7]

โรงละครโกลบสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1599 โดยใช้ไม้จากโรงละครเก่า “เดอะเธียเทอร์” (The Theatre) ที่สร้างโดยเจมส์ เบอร์เบจบิดาของริชาร์ด เบอร์เบจในปี ค.ศ. 1576 เดิมตระกูลเบอร์เบจมีสัญญาเช่าที่ 21 ปี ก่อนที่จะได้เป็นเจ้าของเต็มตัว แต่เจ้าของที่ดินไจล์ส แอลแลนอ้างว่าสิ่งก่อสร้างเป็นของตนเองเมื่อสัญญาเช่าหมดอายุลง เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1598 ขณะที่แอลแลนกำลังฉลองคริสต์มัสอยู่ที่คฤหาสน์ชนบท ช่างไม้ปีเตอร์ สตรีทพร้อมด้วยนักแสดงและเพื่อนก็ช่วยกันถอดโรงละครออกเป็นชิ้นๆ และขนไปไว้ที่กุดังริมน้ำของสตรีท เมื่ออากาศอุ่นขึ้นในฤดูใบไม้ผลิชิ้นส่วนก็ถูกขนย้ายตามลำแม่น้ำเทมส์มาปลูกใหม่ที่ทางตอนใต้ของซอยเมดเดนที่ซัทเธิร์ค[8]

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1613 โรงละครโกลบก็ถูกเพลิงไหม้วอดวายขณะที่กำลังแสดงละครเรื่อง “พระเจ้าเฮนรีที่ 8” โดยสาเหตุที่มาจากการยิงปืนใหญ่ระหว่างการแสดงที่พลาดไปถูกคานไม้และหลังคาหญ้า ตามหลักฐานที่บันทึกไว้ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดได้รับการบาดเจ็บนอกจากที่ต้องเอาเบียร์เอลราดกางเกงที่ลุกเป็นไฟของชายคนหนึ่ง[9] ปีต่อมาก็ได้มีการสร้างโรงละครใหม่ขึ้นแทนที่

โกลบก็เช่นเดียวกับโรงละครอื่นๆ ในลอนดอนที่มาถูกปิดลงโดยกลุ่มเพียวริตันในปี ค.ศ. 1642 และถูกรื้อทิ้งราวปี ค.ศ. 1644 หรือไม่นานหลังจากนั้น เพื่อทำเป็นสถานที่สำหรับสร้างที่อยู่อาศัย[10]

ใกล้เคียง

โรงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย) โรงละครบอลชอย โรงละครแกรมแมนส์ไชนิส โรงละครโกลบ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา โรงละครดอลบี โรงละครอิมพีเรียล (ประเทศญี่ปุ่น) โรงละครมาริอินสกี โรงละครเทศกาลไบรอยท์ โรงละคร