โครงสร้าง ของ โรงละครโกลบ

ด้านนอกของโรงละครโกลบเวทีภายในโรงละครใหม่

ขนาดของโรงละครโกลบที่แท้จริงไม่เป็นที่ทราบแต่รูปทรงและขนาดก็เป็นเรื่องที่ได้รับการศึกษาและสันนิษฐานกันโดยนักวิชาการมาร่วมสองร้อยปี[11] จากหลักฐานสันนิษฐานว่าเป็นสิ่งก่อสร้างสามชั้น, เป็นอัฒจันทร์กลางแจ้งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 30 เมตร และจุผู้ชมได้ราว 3,000 คน[12] จากภาพร่างโดยนักวาดภาพพิมพ์จากโบฮีเมียผู้อาศัยอยู่ในอังกฤษเวนสลาส ฮอลลาร์แสดงว่าเป็นโรงละครกลม แต่จากการศึกษาบางส่วนของฐานที่พบในปี ค.ศ. 1988 ถึงปี ค.ศ. 1989 ก็พบว่าตัวสิ่งก่อสร้างมีลักษณะเป็นหลายเหลี่ยมที่มีด้วยกันทั้งหมด 20 เหลี่ยม[13][4]

ที่หน้าเวทีเป็นบริเวณที่เรียกว่า “pit”[14] ที่ใช้เป็นที่ยืนชมบนดินที่ราคาต่ำที่สุด[15] ระหว่างการขุดค้นในปี ค.ศ. 1989 ก็พบชั้นเปลือกถั่วที่อัดแน่นลงไปในดินเพื่อสร้างชั้นดินใหม่[5] รอบลานก็เป็นอัฒจันทร์ที่มีที่นั่งสามชั้น ที่มีราคาสูงกว่าที่ยืนชม

เวทีเป็นทรงสี่เหลี่ยมที่ยื่นออกมายังลานกลางโรงละคร ที่เป็นเวทีแบบที่เรียกว่า “apron stage” ที่มีขนาดกว้าง 13.1 เมตร ลึก 8.2 เมตร และสูงจากพื้น 1.5 เมตร บนเวทีก็มีประตูกล (trap door) สำหรับนักแสดงเข้าออกได้จากใต้เวที[16]

สองด้านของเวทีเป็นเสารองรับหลังคาที่ยื่นมาคลุมด้านหลังของเวที เพดานใต้หลังคานี้เรียกว่า “สวรรค์” และทาสีเป็นภาพท้องฟ้าที่ประด้วยก้อนเมฆ[4] ประตูกลบนท้องฟ้าปิดเปิดให้นักแสดงห้อยตัวด้วยเชือกหรือบังเหียนลงมาได้

กำแพงด้านหลังของเวทีมีประตูสองหรือสามประตูบนชั้นหลัก โดยมีม่านสำหรับเวทีด้านหลังตรงกลาง และ บนระเบียงชั้นบน ประตูเชื่อมกับด้านหลังของเวที่ที่นักแสดงใช้แต่งตัวหรือรอคิวก่อนที่จะออกมาแสดง ระเบียงเป็นที่นั่งของนักดนตรีหรืออาจจะใช้เป็นฉากที่ต้องมีสองชั้นเช่นในฉากบนระเบียงในเรื่อง “โรเมโอและจูเลียต

ใกล้เคียง

โรงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย) โรงละครบอลชอย โรงละครแกรมแมนส์ไชนิส โรงละครโกลบ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา โรงละครดอลบี โรงละครอิมพีเรียล (ประเทศญี่ปุ่น) โรงละครมาริอินสกี โรงละครเทศกาลไบรอยท์ โรงละคร