ลักษณะสถาปัตยกรรม ของ โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย

แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าโรงอุปรากรเดิมเล็กน้อย แต่ปาแลการ์นีเยก็มีเนื้อที่ถึง 11,000 ตารางเมตร จุผู้ชมได้ประมาณ 2,200 คนภายใต้โคมระย้าที่หนักกว่า 6 ตัน และมีห้องที่สามารถรับนักแสดงได้ถึง 450 คน การตกแต่งอย่างหรูหราเป็นการตกแต่งตามแบบสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ ที่ผังเป็นลักษณะที่สมมาตรพร้อมด้วยการตกแต่งภายนอก

การตกแต่งปาแลการ์นีเยเป็นการตกแต่งอัน “วิจิตรตระการตา” โดยใช้แถบหินอ่อนหลากสี, คอลัมน์ และ รูปสลักเสลาอันงดงามที่บางรูปมาจากตำนานเทพเจ้ากรีก ระหว่างคอลัมน์ด้านหน้าเป็นประติมากรรมสำริดครึ่งตัวของคีตกวีเอกหลายคนที่รวมทั้งโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท, จออาชิโน รอสซินี, แดเนียล โอแบร์, ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟิน, จาโคโม ไมเยอร์เบียร์, โฟรเมินทาล ฮาเลวีย์, กาสปาเรอ สปงทีนี และ ฟิลีป ควีโนล์ท.

กลางหลังคาเป็นประติมากรรม “อพอลโล, กวีนิพนธ์ และ ดนตรี” ที่สร้างโดยเอเม มิลเลต์ กลุ่มประติมากรรมปิดทองเป็น “ความกลมกลืน” และ “ดนตรี” ที่ออกแบบโดยชาร์ล จูเมอรีย์ และประติมากรรมสำริดขนาดเล็กกว่าเป็นภาพเพกาซัสของเออแฌน-หลุยส์ เลอเคสเนอ ประติมากรรมด้านหน้าสร้างโดยฟรองซัวส์ จูฟฟรอย (“ความกลมกลืน”), ฌอง-บัพทิสต์ โคลด เออแฌน กีโยม (“ดนตรี”), ฌอง-บัพทิสต์ คาร์โพซ์ (“นาฏกรรม”), ฌอง-โฌเซฟ แพร์โรด์ (“นาฏดนตรี”) และงานชิ้นอื่น ๆ โดย ศิลปินอีกหลายท่าน

ภายในตัวโรงอุปรากรประกอบด้วยระเบียง, บันได, ที่พักระหว่างขั้นบันได และ เวิ้ง ที่ผสานสลับกันไปมาที่ทำให้สามารถผู้คนจำนวนมากสามารถเคลื่อนย้ายทำการสังสรรค์กันได้อย่างสะดวกระหว่างการพักครึ่งระหว่างการแสดง การใช้สีที่ลึกและเป็นกำมะหยี่, ใบประดับสีทอง, ดรุณเทพ และ นิมฟ์ ในการตกแต่งภายในเป็นการตกแต่งตามแบบฉบับของสถาปัตยกรรมบาโรกอันอลังการ

บริเวณเพดานรอบโคมระย้าได้รับการเขียนภาพใหม่ในปี ค.ศ. 1964 โดยมาร์ค ชากาล แต่เป็นงานที่สร้างความขัดแย้ง เพราะมีผู้มีความเห็นว่าเป็นงานที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะการตกแต่งโดยทั่วไปของสถาปัตยกรรม

ใกล้เคียง

โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย โรงอุปรากรซิดนีย์ โรงอุปรากรแห่งชาติโรมาเนีย ตีมีชออารา โรงอุปรากรและบัลเลต์แห่งรัฐชูวัช โรงอุปรากรและบัลเลต์แห่งชาติเบลารุส โรงอุปรากรเบย์รึท โรอุน โรงอาบน้ำเกย์