ประวัติ ของ โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย

ปาแลการ์นีเยออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ของปารีสของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ที่ริเริ่มโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ผู้ทรงเลือกชอร์ช-เออแชน โอสแมนน์ให้เป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง ในปี ค.ศ. 1858 จักรพรรดินโปเลียนก็มีพระบรมราชโองการให้เคลียร์พื้นที่ 12,000 ตารางเมตรที่ใช้ในการสร้างโรงละครที่สองสำหรับคณะนักแสดงอุปรากรและบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกของปารีส โครงการนี้ได้เปิดแข่งขันประมูลกันในปี ค.ศ. 1861 โดยมีชาร์ล การ์นีเยเป็นผู้ประมูลได้ ในปีเดียวกันก็ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ และการก่อสร้างเริ่มขึ้นในปีต่อมาในปี ค.ศ. 1862 มีเรื่องเล่ากันว่าจักรพรรดินีเออเชนีเดอมองติโคตรัสถามการ์นีเยระหว่างการก่อสร้างว่าจะสร้างเป็นแบบโรมันหรือกรีก ซึ่งการ์นีเยก็ถวายคำตอบว่าจะเป็น “แบบนโปเลียนที่ 3”[ต้องการอ้างอิง]

อุปสรรค

การก่อสร้างโรงอุปรากรประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ หลายอย่าง อุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการเลื่อนเวลาการเทฐานคอนกรีตลงบนพื้นดินที่เป็นเลนแฉะที่ภายใต้เป็นทะเลสาบใต้ดิน ที่ต้องใช้เวลาตลอดแปดเดือนเต็มในการใช้เครื่องสูบน้ำดูดน้ำออก จากนั้นก็ประสบกับสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย, การล่มสลายของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 และ การปกครองภายใต้รัฐบาลปารีสคอมมีน ระหว่างนั้นการก่อสร้างก็สร้าง ๆ หยุด ๆ เป็นพัก ๆ และถึงกับมีข่าวลือว่าโครงการจะถูกระงับลงโดยสิ้นเชิง[ต้องการอ้างอิง]

เพลิงไหม้

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1873 ปัจจัยที่ทำให้จำเป็นที่จะต้องสร้างปาแลการ์นีเยให้เสร็จมาจากโรงอุปรากรปารีสเดิมที่เรียกว่า “โรงละครแห่งราชสถาบันการดนตรี” (Théâtre de l'Académie Royale de Musique) ถูกเพลิงเผาไหม้อยู่ 27 ชั่วโมงจนไม่เหลือซาก

การก่อสร้าง

เมื่อมาถึงปลาย ค.ศ. 1874 การ์นีเยก็สร้างปาแลการ์นีเยเสร็จ และเปิดดำเนินการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1875 ด้วยการแสดงอันยิ่งใหญ่ งานแสดงฉลองประกอบด้วยองค์ที่สามของอุปรากร La Juive โดย Fromental Halévy และบางตอนของอุปรากร Les Huguenots โดย Giacomo Meyerbeer คณะบัลเลต์แสดง Grand Divertissement ที่ประกอบด้วยฉาก Le Jardin Animé จากบัลเลต์ Le Corsaire โดย Joseph Mazilier ด้วยดนตรีโดย Léo Delibes.[ต้องการอ้างอิง]

แฟนธอม

ในปี ค.ศ. 1896 โคมระย้าของโรงอุปรากรก็ร่วงลงมาทำให้มีผู้เสียชีวิตไปคนหนึ่ง เหตุการณ์นี้และการมีทะเลสาบใต้ดิน ห้องใต้ดินและองค์ประกอบอื่นทำให้กัสตง เลอรูซ์นำเอาไปเขียนนวนิยายกอธิค เรื่อง "เดอะแฟนธอมออฟดิโอเปรา" ในปี ค.ศ. 1909

ใกล้เคียง

โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย โรงอุปรากรซิดนีย์ โรงอุปรากรแห่งชาติโรมาเนีย ตีมีชออารา โรงอุปรากรและบัลเลต์แห่งรัฐชูวัช โรงอุปรากรและบัลเลต์แห่งชาติเบลารุส โรงอุปรากรเบย์รึท โรอุน โรงอาบน้ำเกย์