ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา ของ โรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย

จากข้อมูลปี พ.ศ. 2561 มูลค่าตลาดของโรงเรียนกวดวิชา มีราว 8,000 ล้านบาท แม้ธุรกิจกวดวิชาเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2555 ที่มีโรงเรียนกวดวิชาเพิ่มขึ้นมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดเริ่มชะลอตัว[5] จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในปี 2560 กลุ่มธุรกิจสถาบันกวดวิชามีรายได้รวมกันประมาณ 2,653 ล้านบาท โดยบริษัทที่มีรายได้สูงสุดคือ We by The Brain[6]

สถาบันกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่จะแยกสอนสถาบันละวิชาเดียวเท่านั้น เช่น เอ็นคอนเซ็ปต์ สอนเฉพาะภาษาอังกฤษ, เคมี อาจารย์อุ๊ สอนเฉพาะวิชาเคมี, แอพพลายด์ฟิสิกส์ สอนเฉพาะฟิสิกส์ และมีเพียงบางสถาบันเท่านั้นที่สอนหลายวิชา เช่น ดาว้องก์ วิชาภาษาไทย, สังคมศึกษาและ ภาษาบาลี โดย อาจารย์ปิง ,เดอะติวเตอร์,เดอะเบรน (ปัจจุบัน คือ We by The Brain)[7]

เหตุผลมากที่สุดที่นักเรียนเข้ารับการกวดวิชาคือเพื่อเพิ่มความเข้าใจในบทเรียนของพวกเขา เหตุผลรองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นคือเพื่อต้องการทราบถึงเทคนิคที่ช่วยให้คิดเร็วขึ้น ในขณะที่เหตุผลรองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายคือเพื่อเตรียมตัวให้ผ่านการสอบ วิชาที่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกวดวิชามากที่สุดคือคณิตศาสตร์ และสำหรับมัธยมศึกษาตอนปลายคือภาษาอังกฤษ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหลักสูตรอยู่ที่ประมาณ 2,001–3,000 บาท[8]

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนราชินี โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย http://gotomanager.com/content/%E2%80%9C%E0%B9%80%... http://www.ipedr.com/vol16/17-ICBER2011-A20009.pdf //doi.org/10.7763%2FIPEDR //www.worldcat.org/issn/2010-4626 https://www.longtunman.com/10429 https://mgronline.com/qol/detail/9470000006218 https://positioningmag.com/10381 https://positioningmag.com/57097 https://www.sarakadee.com/2008/11/01/tutor/ https://www.komchadluek.net/news/edu-health/301149