ประเภท ของ โรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย

การกำหนดประเภทและลักษณะของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอน และหลักสูตรของโรงเรียนนอกระบบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 กำหนดประเภทและลักษณะของโรงเรียนนอกระบบไว้ 7 ประเภท คือ ประเภทสอนศาสนา, ประเภทศิลปะและกีฬา, ประเภทวิชาชีพ, ประเภทกวดวิชา, ประเภทสร้างเสริมทักษะชีวิต, ประเภทศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา), ประเภทสถาบันศึกษาปอเนาะ[9]

ในปัจจุบันสถาบันกวดวิชามีการสอนทุกวิชาและทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล จนถึงระดับมหาวิทยาลัย และวัยทำงาน[10] จากข้อมูลปี พ.ศ. 2560 มีโรงเรียนกวดวิชาทั่วประเทศทั้งหมด 2,422 โรง ที่มีใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ โดยในกรุงเทพมหานคร 626 โรง และต่างจังหวัด 1,796 โรง[11] นอกจากนั้นยังมีโรงเรียนกวดวิชาสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร มีอยู่เฉลี่ย 3-5 แห่งต่อจังหวัด โรงเรียนประเภทนี้ มี 3 แบบ คือ เรียนแบบระยะสั้น 3-4 เดือน เรียนแบบรายชั่วโมง และ เรียนแบบกินนอนเป็นปี ยึดตามการเรียนการสอนระดับตั้งแต่ ม.3−ม.5 มีวิชาเน้นวิทยาศาสตร์ อาทิ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รวมถึงการฝึกบริบทเตรียมตัวเข้าไปเป็นทหาร[12]

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนราชินี โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย http://gotomanager.com/content/%E2%80%9C%E0%B9%80%... http://www.ipedr.com/vol16/17-ICBER2011-A20009.pdf //doi.org/10.7763%2FIPEDR //www.worldcat.org/issn/2010-4626 https://www.longtunman.com/10429 https://mgronline.com/qol/detail/9470000006218 https://positioningmag.com/10381 https://positioningmag.com/57097 https://www.sarakadee.com/2008/11/01/tutor/ https://www.komchadluek.net/news/edu-health/301149