โองการปีศาจ
โองการปีศาจ

โองการปีศาจ

โองการปีศาจ (อังกฤษ: The Satanic Verses) เป็นนวนิยายเล่มที่สี่ของนักประพันธ์ชาวอังกฤษ-อินเดีย ซัลมัน รัชดี ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1988 โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากมุฮัมมัด ผู้ส่งสารพระเจ้าและศาสดาของศาสนาอิสลาม เนื้อหาของเรื่องดำเนินไปด้วยรูปแบบสัจนิยมมหัศจรรย์ (magical realism) และมีภูมิหลังเป็นเหตุการณ์และบุคคลร่วมสมัย ชื่อของหนังสือเป็นการสื่อถึง "กวีนิพนธ์ปีศาจ" ซึ่งเป็นชุดกวีนิพนธ์ในอัลกุรอานที่กล่าวถึงเทพีของชาวมักกะฮ์ยุคนอกศาสนา สามองค์ ได้แก่: อัลลอต, อัลอุซซา และ มะนอต[1] เนื้อหาส่วนที่กล่าวถึง "กวีนิพนธ์ปีศาจ" นี้อ้างมาจากงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ อัลวะกีดี และ อัลตะบอรี[1]ในสหราชอาณาจักร โองการปีศาจ ได้รับเสียงตอบรับค่อนไปทางบวก และยังได้รับเลือกเข้าสู่รางวัลบุคเคอร์ปี 1988 ในรอบสุดท้าย ก่อนจะแพ้ให้กับ Oscar and Lucinda โดย พีเทอร์ คารี และชนะ รางวัลไวท์เบรด ปี 1988 สาขานวนิยายแห่งปี[2] อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้นำไปสู่ข้อถกเถียงครั้งใหญ่ โดยชาวมุสลิมมองว่าเป็นหนังสือหมิ่นประมาทและล้อเลียนศาสนาอิสลาม ความโกรธเคืองในบรรดาชาวมุสลิมนี้นำไปสู่การเรียกร้องให้สังหารผู้ประพันธ์หนังสือ ซัลมัน รัชดี โดยแอแยตอลลอฮ์ รูฮอลอฮ์ ฆอเมนี ผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน ในปี 1989 ซึ่งต่อมาทำให้เกิดการพยายามลอบสังหารรัชดีหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนรัชดีได้รับการคุ้มครองภายใต้ตำรวจโดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นผู้ดูแล นอกจากนี้นังนำไปสู่การโจมตีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ ซึ่งรวมถึงการฆาตกรรม ฮิโตชิ อิการาชิ ผู้แปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาญี่ปุ่นหนังสือถูกห้ามเผยแพร่ในประเทศอินเดียภายใต้เหตุผลสร้างความเกลียดชังต่อชาวมุสลิม[3][4]

โองการปีศาจ

พิมพ์ 1988
ประเภท สัจนิยมมหัศจรรย์
เรื่องก่อนหน้า Shame 
ประเทศ สหราชอาณาจักร
เรื่องถัดไป Haroun and the Sea of Stories 
LC Class PR6068.U757 S27 1988
ผู้ประพันธ์ ซัลมัน รัชดี
เลขทศนิยมดิวอี 823/.914
OCLC 18558869
หน้า 546 (พิมพ์ครั้งที่ 1)
ISBN 0-670-82537-9
ชนิดสื่อ พิมพ์
ภาษา อังกฤษ