นิยาม ของ ไข้

ชนิดของอุณหภูมิร่างกาย
อุณหภูมิแกน (ทวารหนัก หลอดอาหาร ฯลฯ)
ปกติ36.5–37.5 °C (98–100 °F) [4]
ภาวะตัวเย็นเกิน<35.0 °C (95.0 °F) [5]
ไข้>37.5–38.3 °C (100–101 °F) [2][6]
ภาวะไข้สูง>37.5–38.3 °C (100–101 °F) [2][6]
ไข้สูงเกิน>40.0–41.5 °C (104–107 °F) [7][8]

เนื่องจากอุณหภูมิปกติของร่างกายแปรผันได้หลากหลายเป็นพิสัยกว้าง[6] จึงมีข้อตกลงโดยทั่วไปว่าผู้ป่วยมีไข้หากพบ

  • อุณหภูมิที่วัดที่ทวารหนักเท่ากับหรือสูงกว่า 37.5–38.3 °C (100–101 °F) [2][6]
  • อุณหภูมิที่วัดที่ช่องปากเท่ากับหรือสูงกว่า 37.7 °C (99.9 °F) [9]
  • อุณหภูมิที่วัดที่รักแร้หรือในรูหูเท่ากับหรือสูงกว่า 37.2 °C (99.0 °F)

ในผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงที่มีสุขภาพดีมีพิสัยของอุณหภูมิที่วัดที่ช่องปากเท่ากับ 33.2–38.2 °C (92–101 °F) ที่ทวารหนักเท่ากับ 34.4–37.8 °C (94–100 °F) ที่เยื่อแก้วหูเท่ากับ 35.4–37.8 °C (96–100 °F และที่รักแร้เท่ากับ 35.5–37.0 °C (96–99 °F) [10]

ผู้คนโดยทั่วไปอาจมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นได้เมื่อทำกิจกรรมแต่ไม่นับว่าเป็นไข้เพราะว่าอุณหภูมิเป้าหมายยังคงปกติ ในผู้สูงอายุมีความสามารถในการสร้างความร้อนของร่างกายลดลง ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยรุนแรงอาจมาด้วยอุณหภูมิที่ไม่สูงมากได้

ชนิด

รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบางครั้งอาจช่วยบอกการวินิจฉัยโรคได้

ไข้เหตุนิวโตรฟิลในเลือดต่ำ (febrile neutropenia) เป็นไข้ที่เกิดจากไม่มีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันปกติ เนื่องจากการไม่มีเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ ดังนั้นแบคทีเรียจึงสามารถกระจายไปได้ไกล ไข้จากสาเหตุนี้จึงนับเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ มักพบในผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่กดภูมิคุ้มกันมากกว่าในคนปกติ

การจับไข้ต่ำๆ (Febricula[12]) เป็นภาวะที่มีไข้ต่ำเป็นระยะเวลาสั้นโดยไม่มีสาเหตุและไม่มีพยาธิสภาพที่ชัดเจน

ไข้สูงเกิน

ไข้สูงเกิน[1] (อังกฤษ: Hyperpyrexia) เป็นภาวะไข้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงมากจนเท่ากับหรือมากกว่า 41.5 °C (106.7 °F) [13] อุณหภูมิกายสูงจัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจบ่งบอกถึงโรคหรือภาวะประจำตัวที่รุนแรงหรือทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ[14] สาเหตุที่พบมากที่สุดคือเลือดออกในกะโหลกศีรษะ[13] สาเหตุอื่นที่เป็นไปได้ เช่น ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis), โรคคาวาซากิ[15], กลุ่มอาการแบบร้ายจากยารักษาโรคจิต (Neuroleptic malignant syndrome), ผลจากยา, กลุ่มอาการเซโรโทนิน (serotonin syndrome), และไทรอยด์ สตอร์ม (thyroid storm) [14]

การติดเชื้อเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของไข้ ในขณะที่อุณหภูมิสูงขึ้นสาเหตุอื่นจะยิ่งพบบ่อยมากขึ้น[14] การติดเชื้อที่มักพบเกี่ยวกับไข้สูงเกิน ได้แก่ เอ็กแซนทีมา ซับบิตัม (Exanthema subitum), หัด (rubeola), และการติดเชื้อไวรัสลำไส้ (enterovirus) [16] การลดอุณหภูมิร่างกายทันทีให้ต่ำกว่า 38.9 °C (102.0 °F) พบว่าช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิต[14] ไข้สูงเกินแตกต่างจากภาวะตัวร้อนเกิน กล่าวคือในไข้สูงเกินกลไกการควบคุมอุณหภูมิร่างกายยังมีการตั้งอุณหภูมิเป้าหมายที่สูงกว่าอุณหภูมิร่างกายปกติ จึงทำให้ร่างกายต้องสร้างความร้อนเพื่อให้ไปถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ แต่ภาวะตัวร้อนเกินอุณหภูมิร่างกายจะสูงจนเกินอุณหภูมิเป้าหมายที่ร่างกายตั้งไว้[13]

ภาวะตัวร้อนเกิน

ดูบทความหลักที่: ภาวะตัวร้อนเกิน

ภาวะตัวร้อนเกิน หรือ ภาวะไข้สูง[1] (อังกฤษ: Hyperthermia) เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เป็นลมเพราะความร้อน (heatstroke), กลุ่มอาการแบบร้ายจากยารักษาโรคจิต (Neuroleptic malignant syndrome), ไข้สูงอย่างร้าย (malignant hyperthermia), สารกระตุ้น เช่น แอมเฟตามีนและโคเคน, ปฏิกิริยาไวผิดเพี้ยนต่อยา (idiosyncratic drug reactions), กลุ่มอาการเซโรโทนิน (serotonin syndrome)