ไข้กาฬหลังแอ่น
ไข้กาฬหลังแอ่น

ไข้กาฬหลังแอ่น

ไข้กาฬหลังแอ่น[1], ไข้กาฬนกนางแอ่น[1] หรือ การติดเชื้อเมนิงโกค็อกคัส[2] (อังกฤษ: meningococcal disease) คือกลุ่มของโรคติดเชื้อ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Neisseria meningitidis หรืออีกชื่อว่าเมนิงโกค็อกคัส (meningococcus) ซึ่งเป็นโรคที่หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก แม้เชื้อนี้จะพบเป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้บ่อย แต่การติดเชื้อนี้เข้าสู่กระแสเลือดเป็นภาวะที่มีอันตรายกว่ามาก โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อเมนิงโกค็อกคัส (meningococcal meningitis) และโรคติดเชื้อเมนิงโกค็อกคัสเข้ากระแสเลือด (meningococcemia) เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย พิการ และเสียชีวิต ที่สำคัญ ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาทั่วโลกยังไม่เป็นที่เข้าใจดีนักว่าการติดเชื้อนี้ทำให้เกิดโรคที่มีความรุนแรงเป็นลักษณะเฉพาะเช่นนี้ได้อย่างไร คนปกติจำนวนมากมีเชื้อนี้อาศัยอยู่ในร่างกายเป็นปกติโดยไม่ได้ทำให้เกิดโรค แต่หากเชื้อหลุดเข้ากระแสเลือดไปยังสมองก็จะทำให้เกิดโรคร้ายแรงเช่นนี้ได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้พยายามทำความเข้าใจชีววิทยาของเชื้อ meningococcus และปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อกับร่างกาย อย่างไรก็ดีมีการพัฒนาวิธีการรักษาและวัคซีนที่ได้ผลดีออกมาใช้แล้ว และยังต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องโดยความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา[3]ในช่วง 13 ปี ที่ผ่านมา อุบัติการณ์ของผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่น ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้ออยู่เป็นปกติ อยู่ที่ 1-5 ต่อ 100,000 ประชากร ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และ 10-25 ต่อ 100,000 ประชากร ในประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนในช่วงที่มีการระบาดทั่วนั้นมีอุบัติการณ์สูงถึง 100 ต่อ 100,000 ประชากร ในสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียประมาณ 2,600 ราย ต่อปี และในประเทศที่กำลังพัฒนาพบประมาณ 333,000 ราย ต่อปี และมีอัตราผู้ป่วยตายอยู่ที่ 10-20%[4]แม้ไข้กาฬหลังแอ่นจะไม่ได้ติดต่อง่ายเท่าโรคหวัด แต่ก็สามารถติดต่อผ่านน้ำลาย หรือผ่านการสัมผัสผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องเป็นเวลานานได้

ไข้กาฬหลังแอ่น

ICD-10 A39
MedlinePlus 000608 meningitis. 001349 meningococcemia
DiseasesDB 8847
ICD-9 036.9

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไข้กาฬหลังแอ่น http://www.diseasesdatabase.com/ddb8847.htm http://books.google.com/books?id=7KGn_EcEAt0C http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=036.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/8532420 http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00... http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... //doi.org/10.1097%2F00006454-199508000-00001 http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php http://www.thcc.or.th/ICD-10TM/index.html