การรักษาและพยากรณ์โรค ของ ไข้กาฬหลังแอ่น

ผู้ป่วยที่สงสัยป่วยไข้กาฬหลังแอ่นควรได้รับการรักษาทันทีโดยไม่ต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยหน่วยบริการปฐมภูมิมักฉีด benzylpenicillin เข้ากล้ามเนื้อ และส่งผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการระดับสูงกว่าต่อไป เมื่อถึงโรงพยาบาลแล้วผู้ป่วยมักได้ยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำ ส่วนใหญ่เป็น cephalosporin รุ่นที่ 3 เช่น ceftriaxone หรือ cefotaxime ทั้งนี้ benzylpenicillin และ chloramphenicol ก็ได้ผลเช่นกัน นอกจากนี้ยังควรได้รับการรักษาประคับประคองอื่นๆ ตามความเหมาะสม เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้ออกซิเจน การให้ยากระตุ้นความดันเลือด เช่น dopamine หรือ dobutamine รวมทั้งการรักษาภาวะความดันในกะโหลกศีรษะขึ้นสูง ผู้ป่วยบางรายอาจควรได้รับการรักษาด้วย steroid แต่ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนว่าจะมีผลดีในระยะยาว

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไข้กาฬหลังแอ่น http://www.diseasesdatabase.com/ddb8847.htm http://books.google.com/books?id=7KGn_EcEAt0C http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=036.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/8532420 http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00... http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... //doi.org/10.1097%2F00006454-199508000-00001 http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php http://www.thcc.or.th/ICD-10TM/index.html