ภาษา ของ ไทยเชื้อสายมลายู

ชาวมลายูในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่ยังใช้ภาษามลายูปัตตานี ซึ่งเป็นภาษามลายูท้องถิ่น และมีคนพูดกันมาก และหลายคนสามารถพูดภาษามลายูกลางได้ นอกจากนี้ยังเขียนด้วยอักษรยาวี ที่ดัดแปลงจากอักษรอาหรับและมีใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงการใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองด้วย โดยพ่อแม่ในท้องถิ่นนี้จะสอนลูกหลานพูดภาษาแม่ของตนคือ ภาษามลายู (Bahasa Melayu) ในชีวิตประจำวัน ต่อเมื่อเด็กๆ เข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาแล้วจึงจะได้เรียนรู้ที่จะพูดหรืออ่านภาษาไทยในฐานะภาษาที่ 2[1]

ส่วนชาวไทยเชื้อสายมลายูที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลนั้น จะมีคนอายุเกินกว่า 40 ปีเท่านั้นที่ยังพอพูดภาษามลายูได้ แต่ต่างจากภาษามลายูที่ใช้ในภาคใต้อยู่บ้าง เรียกว่าภาษามลายูบางกอก และส่วนใหญ่หันมาใช้ภาษาไทยกลาง ประชากลุ่มนี้ มีอยู่ประมาณ 5,000 คน แต่ความสามารถในการใช้ภาษาแตกต่างกันออกไป มีการใช้ภาษามลายูถิ่นสตูล ซึ่งใกล้เคียงกับภาษามลายูเกอดะฮ์ประมาณ 6,800 คน ในจังหวัดสตูลและจังหวัดใกล้เคียง และยังมีชุมชนเชื้อสายมลายูกระจายอยู่ทั่วไปในภาคใต้ อย่างที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดระนอง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดชุมพร ฯลฯ

ภาพการแสดงมะโย่งของชาวอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเพณีการแห่นก เป็นผสมผสานศิลปะระหว่าง ชวา อินเดีย และไทย เป็นการแสดงการคารวะหรือจงรักภักดีแก่ผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือมาเยือน ปัจจุบันหาดูยาก เนื่องจากขัดหลักศาสนาอิสลาม[2]

ใกล้เคียง

ไทยเชื้อสายจีน ไทยเชื้อสายโปรตุเกส ไทยเชื้อสายมลายู ไทยเชื้อสายเปอร์เซีย ไทยเชื้อสายอินเดีย ไทยเชื้อสายญวน ไทยเชื้อสายจาม ไทยเชื้อสายชวา ไทยเชื้อสายเขมร ไทยเบฟเวอเรจ