การแพร่กระจายของซากดึกดำบรรพ์ ของ ไทรโลไบต์

Cruziana, fossil trilobite furrowing trace.เศษชิ้นไทรโลไบต์ (T)ในแผ่นหินบางของหินปูนยุคออร์โดวิเชียน E = เอชคิโนเดิม มาตราส่วนแท่งยาว 2.0 มม.

ไทรโลไบต์พบเป็นเพียงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลเพียงเท่านั้น เนื่องด้วยซากเหลือของไทรโลไบต์พบเฉพาะในหินที่มีแต่ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลอื่นๆอย่างเช่น แบรคิโอพอด ไครนอยด์ และปะการัง ไทรโลไบต์พบได้ในสภาพแวดล้อมแบบทะเลตั้งแต่ทะเลตื้นมากๆจนไปถึงทะเลลึกมากๆ ไทรโลไบต์เหมือนซากดึกดำบรรพ์อื่นๆอย่างแบรคิโอพอด ไครนอยด์ และปะการังคือพบได้บนทวีปปัจจุบันทุกทวีปและพบในทะเลโบราณมหายุคพาลีโอโซอิกทุกแห่ง ซากเหลือของไทรโลไบต์พบได้ตั้งแต่ลำตัวทั้งตัวไปจนถึงเฉพาะเปลือกกระดองภายนอกซึ่งหลุดออกมาลำตัวจากกระบวนการลอกคราบ นอกจากนี้ร่องรอยที่หลงเหลือไว้บนพื้นทะเลจากการกระทำของไทรโลไบต์เมื่อครั้งยังมีชีวิตก็พบถูกเก็บรักษาไว้เป็นซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย

ซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยที่เกี่ยวข้องกับไทรโลไบต์นั้นมี 3 รูปแบบ คือ “รูโซไฟกัส” “ครูซิเอนา” และ “ไดพลิชไนต์” ซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยเหล่านี้แสดงถึงกิจกรรมที่ไทรโลไบต์กระทำบนพื้นท้องทะเล “รูโซไฟกัส” หรือร่องรอยที่เกิดจากการนอนนิ่งๆ (resting trace) เกิดจากรอยประทับของไทรโลไบต์ที่ไม่ได้เคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่เล็กน้อยและจากการวิเคราะห์ในเชิงพฤติกรรมศาสตร์แล้วกล่าวได้ว่าเป็นรอยพิมพ์ในขณะที่ไทรโลไบต์นอนหยุดพัก หรือหลบซ่อนป้องกันตัว หรือเตรียมการจู่โจมล่าเหยื่อ “ครูซิเอนา” หรือร่องรอยการกินอาหาร เป็นร่องยาวไปตามพื้นตะกอนซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นการเคลื่อนที่ของไทรโลไบต์ขณะกินอาหารบนพื้นตะกอน และมีซากดึกดำบรรพ์แบบ “ไดพลิชไนต์” จำนวนมากที่พบ เชื่อว่าเป็นร่องรอยที่เกิดจากการกระทำของไทรโลไบต์จากการเดินบนพื้นตะกอน ลักษณะร่องรอยดังกล่าวทั้งหลายที่กล่าวมานี้ก็พบได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำจืดแต่เชื่อได้ว่าเกิดขึ้นจากการกระทำของอาร์โธพอดที่ไม่ได้เป็นไทรโลไบต์

ซากดึกดำบรรพ์ไทรโลไบต์พบได้ทั่วโลกรวมกันแล้วมีหลายพันชนิด เพราะว่าไทรโลไบต์เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในธรณีกาลและมีการลอกคราบเหมือนอาร์โธพอดอื่นๆที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่ดีที่นักธรณีวิทยาสามารถใช้หาอายุของหินได้ ไทรโลไบต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ชิ้นแรกๆที่ที่สะดุดตาได้รับความสนใจและได้มีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ชาวอเมริกันดั้งเดิมเข้าใจว่าไทรโลไบต์เป็นสัตว์น้ำและได้ตั้งชื่อมีความหมายว่า “แมลงน้ำขนาดเล็กในหิน”

ร่องรอยที่เกิดจากการนอนนิ่งๆ Rusophycus ของไทรโลไบต์ยุคออร์โดวิเชียนทางตอนใต้ของโฮไอโอ มาตราส่วนแท่งยาว 10 มม.

แหล่งซากดึกดำบรรพ์ไทรโลไบต์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรคือเรนเนสต์ ในเมืองดัดลีของเวสต์มิดแลนด์โดยพบเป็นชนิด “คาลีมีน บลูเมนบาไค” จากกลุ่มหินเวนล็อกค์ยุคไซลูเรียน ลักษณะของไทรโลไบต์นี้ถูกนำไปเป็นตราสัญลักษณ์ของเมืองและถูกเรียกว่า “แมลงปีกแข็งแห่งเมืองดัดเลย์” หรือ “ตั๊กแตนแห่งเมืองดัดเลย์” โดยคนงานเหมืองทั้งหลายที่ปัจจุบันเป็นเหมืองหินปูนร้างไปแล้ว แหล่งไทรโลไบต์อื่นๆได้แก่ “ดัลมาไนต์ “ “ไทรเมอรัส “ “บูมาสตัส “และ ”บาลีโซนา” แหล่งแลนด์รินดอด เวลล์ เมืองโพวีสแห่งแคว้นเวลส์ก็เป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่ง ไทรโลไบต์ที่รู้จักกันดี “เอลราเธีย คิงไอ” พบสะสมตัวอย่างหนาแน่นในวีลเลอร์เชลยุคแคมเบรียนในรัฐอูทาห์

ซากดึกดำบรรพ์ของไทรโลไบต์ที่มีสภาพที่สมบูรณ์โดดเด่นมักพบส่วนลำตัวที่อ่อนด้วย (ขา เหงือก หนวด เป็นต้น) อย่างเช่นที่พบในบริติช โคลัมเบียในแคนาดา (เบอร์เกสส์เชลยุคแคมเบรียน) นิวยอร์กสเตตในสหรัฐอเมริกา (ชาร์ลดูลิตเติลยุคออร์โดวิเชียนใกล้เมืองอูติก้า รัฐนิวยอร์ก) และชั้นไทรโลไบต์บีเชอร์ใกล้กรุงโรม เป็นต้น

มีการขุดค้นไทรโลไบต์ในเชิงพานิชย์ในหลายประเทศ เช่น ประเทศรัสเซีย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) เยอรมนี มอรอคโค อูทาห์ โอไฮโอ บริติชโคลัมเบีย และอีกหลายที่ในแคนาดา