ซากดึกดำบรรพ์ ของ ไทรโลไบต์

Pseudoasaphus praecurrens

จนถึงปัจจุบันไทรโลไบต์รุ่นแรกสุดในรูปของซากดึกดำบรรพ์คือสกุล ”ฟอลโลทาสปิส” อยู่ในอันดับเรดไลคิไอดามีอายุเก่าแก่ถึง 540 ล้านปีมาแล้ว[14] สกุลอื่นๆที่ดูเหมือนจะเก่าแก่ใกล้เคียงกันคืแ “โปรฟอลโลทาสปิส” และ “อีฟอลโลทาสปิส

กำเนิด

โดยพิจารณาความเหมือนในรูปลักษณ์สัณฐานแล้ว เป็นไปได้ว่าไทรโลไบต์จะมีบรรพบุรุษเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายอาร์โธพอด อย่างเช่น “สปริกกินา” “พาร์แวนคอรินา” และซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะคล้ายไทรโลไบต์อื่นอื่นๆของยุคอีดิเอคาแรนของพรีแคมเบรียน มีความเหมือนในรูปลักษณ์สัณฐานมากมายระหว่างไทรโลไบต์รุ่นแรกๆกับอาร์โธพอดยุคแคมเบรียนอื่นๆจากแหล่งไทรโลไบต์หลายแห่ง ดูเพิ่มเติมได้ที่ มีเหตุผลที่จะกล่าวว่าไทรโลไบต์มีลักษณะร่วมทั่วไปกับบรรพบุรุษพวกอาร์โธพอดก่อนรอยต่อระหว่างอีดิเอคารัน/แคมเบรียน บรรพบุรุษไทรโลไบต์อาจมีลำตัวอ่อนนุ่มและได้พัฒนาเปลือกกระดองหนาขึ้นมาผ่านกระบวนการคิวติคูลาริสเซชั้น โดยที่รูปแบบอื่นๆของการวิวัฒนาการลำตัวของไทรโลไบต์เป็นมาตรการป้องกันตัวเอง

การสูญพันธุ์

การสูญพันธุ์ของไทรโลไบต์ยังไม่มีเหตุผลอธิบายได้อย่างชัดเจน แม้ว่าช่วงที่จำนวนของมันเริ่มลดลงจะไม่ตรงกับช่วงที่ปลาฉลามและพวกกาโธสโตมรุ่นแรกๆปรากฏขึ้นในช่วงยุคไซลูเรียนและต่อมาได้เพิ่มขึ้นอย่างหลากหลายในช่วงยุคดีโวเนียน ไทรโลไบต์อาจเป็นตกเป็นอาหารที่สมบูรณ์สำหรับสัตว์รุ่นใหม่นี้ เหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งย่อยในช่วงกลางของยุคแคมเบรียนที่ไทรโลไบต์หลายอันดับมีองค์ประกอบของโปรโซปอนแบบเอลิเมนทารีและพายกิเดียมขนาดเล็กอาจจะเกี่ยวข้องกับการมีจำนวนเซฟาโลพอดเพิ่มขึ้นก็ได้ ไทรโลไบต์อยู่ภายใต้แรงกดดันที่ต้องเลือกพัฒนาร่างกายตนเองให้มีความสามารถในการป้องกันตัวเองอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงในรูปร่างที่มากที่สุดเกิดขึ้นในช่วงกลางยุคแคมเบรียน ในแง่ของการป้องกันตัวแล้วไทรโลไบต์อันดับที่เอาตัวให้รอดพ้นได้ได้พัฒนาให้พายกิเดียวให้มีขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้ไทรโลไบต์มีความสามารถม้วนลำตัวให้เป็นรูปบอลล์ (ทรงกลม) เพื่อการป้องกันตัว ไทรโลไบต์ที่มีขนาดพายกิเดียมเล็กกว่าขนาดเซฟาลอนจะสามารถม้วนตัวเพื่อป้องกันตัวเองได้อย่างไม่สมบูรณ์ ไทรโลไบต์ที่รอดพ้นจากการสูญพันธุ์ทั้งหลายได้พัฒนาแผ่นคิวติเคิลที่หนาขึ้นซึ่งความหนาของคิวติเคิลนี้ได้ช่วยปิดบังโปรโซปอนแบบเอลิเมนทารีเอาไว้ทำให้มองไม่เห็น

หลังจากเหตุการสูญพันธุ์ในช่วงตอนกลางของยุคแคมเบรียน เหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งต่อมาก็ได้เกิดขึ้นที่ช่วงรอยยุคดีโวเนียน/คาร์บอนิเฟอรัส กล่าวคือเมื่อสิ้นสุดยุคดีโวเนียนไทรโลไบต์ทุกอันดับ (ยกเว้นอันดับเดียว) เกิดการสูญพันธุ์ไปหมดสิ้น ไทรโลไบต์ถูกบีบให้รอดพ้นเพียงอันดับเดียวคือ “โปรเอตทิดา” และได้ดำรงเผ่าพันธุ์อยู่อันดับเดียวไปหลายล้านปีไปจนตลอดยุคคาร์บอนิเฟอรัสต่อเนื่องไปจนสูญพันธุ์ไปหมดสิ้นเมื่อสิ้นยุคเพอร์เมียนปพร้อมๆกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆอีกหลายชนิด เป็นสิ่งที่ยังไม่ทราบว่าทำไมจึงเหลือไทรโลไบต์อันดับโปรเอตทิดาเพียงอันดับเดียวที่รอดพ้น นี้อาจจะเป็นเพราะมันอาศัยอยู่ในทะเลลึกที่สามารถรอดพ้นจากการเปลี่ยนแปลงอย่างอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมตามแนวชายฝั่ง นับเป็นระยะเวลาหลายล้านปีที่โปรเอตทิดาพบอยู่ในสภาพถิ่นฐานที่สมบูรณ์ สิ่งเปรียบเทียบอันหนึ่งคือพลับพลึงทะเล (crinoids) ในปัจจุบันที่พบเหลือเฉพาะสายพันธุ์ที่อยู่ในทะเลลึกเท่านั้น ขณะที่ในมหายุคพาลีโอโซอิกกลับพบพลับพลึงทะเลอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งทะเล

สิ่งมีชีวิตในปัจจุบันที่เป็นญาติใกล้ชิดที่สุดกับไทรโลไบต์อาจเป็นแมงดาทะเล[14]หรือเซฟาโลคาริดา [15]