กายวิภาคศาสตร์ ของ ไบรโอซัว

Costazia costazi เป็นไบรโอซัวคอรัลลีน

โครงร่างแข็งของไบรโอซัวจะเจริญเติบโตในรูปแบบและรูปร่างที่หลากหลาย เช่น รูปคล้ายกองดิน รูปพัด รูปกิ่งก้านสาขา และรูปขดม้วนเป็นเกลียว โครงสร้างแข็งเหล่านี้มีช่องเปิดเป็นรูเล็กๆจำนวนมาก โดยช่องเปิดหนึ่งๆจะเป็นที่อยู่ของซูอิดหนึ่งๆ ซูอิดมีลำตัวกลวงมีช่องว่างเป็นที่อยู่ของไส้พุงที่เป็นที่ผ่านของอาหารและสิ่งขับถ่าย มีช่องเปิดออกด้านหนึ่งเป็นช่องปากและเปิดออกอีกด้านหนึ่งเป็นช่องทวาร ซูอิดมีโครงสร้างเป็นชุดระยางพิเศษทำหน้าที่หาอาหาร เรียกว่า โลโฟพอร์ ซึ่งเป็นชุดของหนวดโดยรอบขอบช่องปาก อาหารของซูอิดเป็นพวกจุลชีพ เช่น ไดอะตอม และสาหร่ายเซลล์เดียวอื่นๆ ในทางกลับกัน ไบรโอซัวก็เป็นเหยื่อของสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วย เช่น ดาวทะเล และปลา ไบรโอซัวไม่มีส่วนประกอบใดที่จะทำหน้าที่หายใจหรือระบบหมุนเวียนเนื่องจากขนาดเล็กของมัน อย่างไรก็ตามมันมีระบบประสาทอย่างง่าย ผลงานศึกษาที่หลากหลายเกี่ยวกับผลึกศาสตร์ในโครงสร้างแข็งของไบรโอซัวชี้ชัดว่าประกอบไปด้วยผลึกของแร่แคลไซต์และอะราโกไนต์ที่เรียงกันเป็นชุดเส้นใยที่ซับซ้อนอยู่ภายในเนื้ออินทรีย์สาร

หนวดของไบรโอซัวมีลักษณะเป็นขนที่มีพลังสามารถพัดแกว่งให้เกิดกระแสน้ำไหลพร้อมนำอนุภาคอาหารซึ่งมักจะเป็นพวกแพลงตอนพืชให้เข้าไปในช่องปาก ไส้พุงรูปตัวยูอันประกอบด้วยตั้งแต่คอหอยต่อเนื่องเข้าไปจนถึงท่อลำเรียง ตามด้วยกระเพาะ ซึ่งมีสามส่วนคือ คาร์เดียล ซีกัม และพายโลรัส จากพายโลรัสก็เป็นลำไส้และเรคตัมขนาดเล็ก จนไปสิ้นสุดที่ช่องทวารซึ่งเป็นช่องเปิดออกภายนอกของโลโฟพอร์ ในไบรโอซัวบางกลุ่ม เช่น ซีโนสโตมส์ ส่วนต้นของคาร์เดียอาจมีกึ๋นพิเศษ ไส้พุงและโลโฟพอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของโพลีไพด์ การสร้างใหม่กับการเสื่อมของโพลีไพด์สลับกันหลายรอบเป็นลักษณะของไบรโอซัวที่อาศัยอยู่ในทะเล ภายหลังจากการเสื่อมของโพลีไพด์ครั้งสุดท้ายแล้วช่องปากของซูอิดอาจผนึกเข้าหากันด้วยแผ่นผนังส่วนปลาย

ไบรโอซัวน้ำจืด

เพราะว่าไบรโอซัวมีขนาดเล็ก ระบบเลือดจึงไม่มีความจำเป็น การแลกเปลี่ยนก๊าซสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดพื้นผิวลำตัวทั้งหมดของไบรโอซัวโดยเฉพาะส่วนของหนวดของโลโฟพอร์

ไบรโอซัวสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งการใช้เพศและการไม่ใช้เพศ จนถึงบัดนี้เรารู้ได้ว่าไบรโอซัวทั้งหมดเป็นเฮอมาโพรไดต์ (หมายถึงเป็นเพศผู้และเพศเมียในตัวเดียวกัน) การสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศเกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวเองออกเป็นซูอิดใหม่ในขณะที่โคโลนีเติบโตใหญ่ขึ้น ถ้าโคโลนีของไบรโอซัวแตกออกจากกันเป็นเสี่ยง แต่ละเสี่ยงสามารถเจริญเติบโตเป็นโคโลนีใหม่ต่อไป โคโลนีที่เกิดขึ้นใหม่ดังกล่าวจะมีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการซึ่งเรียกว่า แอนเซสทรูลา

ไบรโอซัวชนิดหนึ่ง ชื่อ Bugula neritina ที่ปัจจุบันได้รับความสนใจเนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดของสารไซโตท็อกซิน หรือ ไบรโอสเตติน ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไบรโอซัว http://www.tafi.org.au/zooplankton/imagekey/bryozo... http://www.sms.si.edu/irlspec/IntroBryozoa.htm http://www.bio.umass.edu/biology/conn.river/bryozo... http://www.wooster.edu/geology/Taylor&Wilson2003.p... http://bryozoa.net http://bryozoa.net/links.html http://www.earthlife.net/inverts/bryozoa.html http://species.wikipedia.org/wiki/Bryozoa http://www.inchm.bris.ac.uk/mann/J%20Inorg%20Bioch... http://www.nhm.ac.uk/hosted_sites/iba/index.html