ไม่มีเชิง
ไม่มีเชิง

ไม่มีเชิง

ในศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ ไทป์เฟซแบบไม่มีเชิง (อาจเรียกว่า แซนส์เซริฟ (sans-serif หรือ sans serif /ˈsæn(z) ˈsɛrɪf/), ซานส์เซริฟ, กอทิก (Gothic) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แซนส์ หรือ ซานส์) คือรูปแบบอักษรที่ไม่มีส่วนขยายที่เรียกว่า "เชิง" (หรือ เซริฟ) ที่ส่วนปลายของเส้นขีด [1] ไทป์เฟซแบบไม่มีเชิงมีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงความกว้างของเส้นขีดน้อยกว่าไทป์เฟซแบบมีเชิง มักใช้เพื่อสื่อถึงความเรียบง่ายและความทันสมัยหรือความเรียบง่าย เพื่อวัตถุประสงค์ในการจำแนกประเภท การออกแบบ ไทป์เฟซแบบไม่มีเชิงมักจะแบ่งออกเป็นกลุ่มหลัก ๆ เหล่านี้: § วิรูป (Grotesque) และ § วิรูปใหม่ (Neo-grotesque), § เรขาคณิต (Geometric), § มนุษยนิยม (Humanist) และ § อื่น ๆ (Other หรือ mixed)ไทป์เฟซแบบไม่มีเชิงกลายเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากที่สุดในการแสดงข้อความบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ บนจอแสดงผลดิจิตอลที่มีความละเอียดต่ำ รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เชิงอาจหายไปหรือดูใหญ่เกินไป คำว่า sans นี้มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "ไม่มี" ส่วนคำว่า "serif" นั้นไม่ทราบถึงที่มาแน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่าอาจมาจากคำภาษาดัตช์ schreef แปลว่า "เส้น" หรือจังหวะปากกา[2] ในสื่อสิ่งพิมพ์ ไทป์เฟซแบบไม่มีเชิงมักใช้สำหรับการแสดงผลและไม่ใช้สำหรับข้อความเนื้อหาก่อนที่คำว่า "sans-serif" จะกลายเป็นคำศัพท์มาตรฐานในศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษ มีการใช้คำศัพท์อื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งมาก่อน หนึ่งในคำศัพท์เหล่านี้สำหรับไม่มีเชิงคือ "วิรูป" ซึ่งมักใช้ในยุโรป และ "กอทิก" ซึ่งยังคงใช้ในภาษาในเอเชียตะวันออก และบางครั้งก็พบเห็นในชื่อแบบอักษร เช่น News Gothic, Highway Gothic, Franklin Gothic หรือ Trade Gothicบางครั้งไทป์เฟซแบบไม่มีเชิงใช้เป็นเครื่องมือใน การเน้น โดยเฉพาะในเอกสารเก่า ๆ เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วแบบอักษรจะมีสีดำกว่า

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไม่มีเชิง https://web.archive.org/web/20161118134053/http://... https://web.archive.org/web/20180418150848/http://... http://shinntype.com/wp-content/uploads/Uniformity... https://archive.today/20130102185551/http://fontfe... http://acumin.typekit.com/history/ https://archive.org/details/specimensoftypeb00amer https://archive.org/details/specimensoftypeb00amer... https://fontsinuse.com/typefaces/40724/italic-goth... http://www.typography.com/fonts/knockout/overview/ http://www.typography.com/fonts/knockout/features/...