ผลของจุลินทรีย์ในไรโซสเฟียร์ต่อพืช ของ ไรโซสเฟียร์

  • ส่งเสริมการเจริญของพืช โดยเพิ่มการหมุนเวียนน้ำและแร่ธาตุ สร้างวิตามินและสารส่งเสริมการเจริญของพืชเช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน ตัวอย่างเช่น ไรโซเบียมในบริเวณไรโซสเฟียร์ของทานตะวันจะเพิ่มความสามารถในการนำไนโตรเจนไปใช้ของทานตะวัน[1]
  • ต่อต้านเชื้อก่อโรคโดยการแข่งขันหรือโดยการสร้างยาปฏิชีวนะ เช่น เมื่อผสมเชื้อ Azospirillum brasilense ซึ่งเป็นเชื้อในไรโซสเฟียร์ของมะเขือเทศกับเมล็ดมะเขือเทศพร้อมกับ Pseudomonas syringae pv.ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรค เมื่อนำเมล็ดไปเพาะ ประชากรของเชื้อก่อโรคน้อยลง ทำให้มะเขือเทศแข็งแรงขึ้น [2]
  • ช่วยเปลี่ยนสารที่เป็นพิษต่อพืชให้เป็นสารที่ไม่เป็นพิษ เช่น ข้าวจะมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกับ Beggiatoa โดย Beggiatoaจะเปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่เป็นพิษต่อรากพืชไปเป็นซัลเฟตหรือธาตุกำมะถันที่ไม่เป็นพิษ
  • เพิ่มความสามารถของพืชในการนำแร่ธาตุไปใช้ เช่นเพิ่มการละลายของฟอสเฟต
  • การร่วมกันสร้างสารอัลลีโลพาที ซึ่งเป็นสารที่พืชปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อมและมีผลกระทบต่อพืชอื่น เช่น ทำให้ตายหรือเจริญได้ช้าลง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการแก่งแย่งแข่งขันกับพืชอื่น พืชที่สร้างสารอัลลีโลพาทิกได้มักเป็นวัชพืช ผลของสารอัลลีโลพาทิกแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ [3]
    • ผลกระทบปฐมภูมิ เศษซากพืชถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย ทำให้สารเหล่านี้แพร่กระจายไป
    • ผลกระทบทุติยภูมิ พืชสร้างสารและปล่อยออกมายับยั้งการเจริญของพืชข้างเคียง
  • เพิ่มความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมและการเจริญในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น การเจริญในดินที่ปนเปื้อนน้ำมัน