ประวัติศาสตร์ ของ ไลพ์ซิช

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเมืองไลพ์ซิช ได้แก่ จดหมายเหตุของมุขนายกธีทมาร์ แห่งเมอร์เซบูร์ก ใน ค.ศ. 1015 และบันทึกเที่ยวกับเมืองไลพ์ซิช โดยออทโทที่ 2 มาร์เกรฟแห่งไมเซิน ใน ค.ศ. 1165 เป็นเหตุให้เมืองไลพ์ซิชจึงเป็นหนึ่งในบรรดาเมืองประวัติศาสตร์ของประเทศเยอรมนี และมีชื่อเสียงในฐานะ ศูนย์กลางทางการค้าของรัฐซัคเซิน

การจัดตั้งมหาวิทยาลัยไลพ์ซิชใน ค.ศ. 1409 ทำให้ไลพ์ซิชพัฒนาขึ้นเป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านกฎหมาย และสิ่งพิมพ์ของประเทศ ทั้งยังเป็นที่ตั้งของศาลปกครองหนึ่งในห้าศาลสูงสุดของประเทศ

งานแสดงสินค้าไลพ์ซิช เป็นงานแสดงสินค้าที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่สมัยกลาง ในอดีตงานแสดงสินค้าไลพ์ซิช ได้รับการคุ้มครองจากเจ้าผู้ครองรัฐที่จะไม่ให้เมืองใดในรัศมี 250 กิโลเมตร จัดงานแสดงสินค้าแข่งกับเมืองไลพ์ซิช[5] และปัจจุบันงานแสดงสินค้าไลพ์ซิช ยังเป็นงานแสดงสินค้าระดับโลกอีกด้วย

ค.ศ. 1839 ไลพ์ซิชเป็นชุมทางรถไฟระยะทางไกลแห่งแรกของประเทศเยอรมนี เพื่อเดินทางไปยังเมืองเดรสเดิน เมืองหลวงของรัฐซัคเซิน นับแต่นั้นมา ไลพ์ซิชจึงเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟในยุโรปกลาง และสถานีรถไฟไลพ์ซิชเป็นสถานีรถไฟที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตั้งแต่ยุคนั้น มาจนปัจจุบัน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ไลพ์ซิชมีประชากรรวมกว่าล้านคน จึงเป็นที่ตั้งของพรรคแรงงาน รวมไปถึงมีการจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นที่เมืองไลพ์ซิชนี้ ใน ค.ศ. 1863

ในยุคนโปเลียน ไลพ์ซิชเป็นฐานที่มั่นสำคัญของกองทัพนโปเลียน โดยนโปเลียนใช้เมืองไลพ์ซิช เป็นศูนย์บัญชาการเพื่อส่งกองกำลังเข้ายึดยุโรปกลาง และรัสเซีย เป็นเหตุให้เมืองไลพ์ซิชเป็นสมรภูมิสงครามแห่งชนชาติ ยุทธการที่ไลพ์ซิช เมื่อ ค.ศ. 1913 กองทัพพันธมิตรกษัตริย์และผู้ครองนครในทวีปยุโรป รวมทัพกันขับไล่กองทัพนโปเลียน โดยกองทัพของนโปเลียนได้แตกพ่ายครั้งแรกที่เมืองไลพ์ซิช ปัจจุบันนี้ยังมีอนุสรณ์สถานสงครามแห่งชนชาติ เป็นสิ่งรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น

ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ไลพ์ซิชเสียหายอย่างหนักเนื่องจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ยึดครองไลพ์ซิชได้ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1945 และในภายหลังได้ถ่ายอำนาจการปกครองแก่กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตตามข้อตกลงในการปกครองดินแดน ไลพ์ซิชจึงรวมเป็นส่วนหนึ่ง และกลายเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี ก่อนจะรวมเข้าเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ใน ค.ศ. 1989

สรุปประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเมืองไลพ์ซิช[6]

ปีเหตุการณ์สำคัญ
ค.ศ. 1015ครั้งแรกที่มีหลักฐานกล่าวอ้างถึงเมืองไลพ์ซิช
ค.ศ. 1212สร้างโบสถ์นักบุญโธมัส
ค.ศ. 1409ก่อตั้งมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช
ค.ศ. 1481มีการพิมพ์หนังสือครั้งแรกในไลพ์ซิช
ค.ศ. 1497มีการจัดงานแสดงสินค้าครั้งแรกในไลพ์ซิช
ค.ศ. 1555เริ่มก่อสร้างศาลาว่าการเมืองหลังเก่า
ค.ศ. 1650หนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของโลก ถือกำเนิดขึ้นที่เมืองไลพ์ซิช
ค.ศ. 1813สงครามแห่งชนชาติ กองทัพนโปเลียนซึ่งตั้งฐานที่มั่นที่เมืองไลพ์ซิชพ่ายแพ้อย่างย่อยยับครั้งแรก
ค.ศ. 1839เปิดบริการรถไฟทางไกลสายแรกในเยอรมนี เส้นทางไลพ์ซิช–เดรสเดิน
ค.ศ. 1878สวนสัตว์ไลพ์ซิช เปิดบริการครั้งแรก
ค.ศ. 1895ศาลอุทธรณ์เปิดทำการในเมืองไลพ์ซิช
ค.ศ. 1899เริ่มก่อสร้างศาลาว่าการเมืองหลังใหม่ เสร็จสิ้น ค.ศ. 1905
ค.ศ. 1911เปิดบริการสนามบินไลพ์ซิช
ค.ศ. 1912เปิดบริการหอสมุดประชาชน ประจำชาติเยอรมนี ในเมืองไลพ์ซิช
ค.ศ. 1913ก่อสร้างอนุสรณ์สถานสงครามแห่งชนชาติ และคริสตจักรนิกายรัสเซียนออธอร์ดอกซ์
ค.ศ. 1989ชาวเมืองไลพ์ซิชร่วมเดินขบวนประท้วงการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ เป็นจุดเริ่มต้นของการรวมประเทศ
ค.ศ. 2005เมืองไลพ์ซิชร่วมเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก
ค.ศ. 2009มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช อายุครบ 600 ปี
ตัวเมืองไลพ์ซิช ภาพมุมสูงศาลอุทธรณ์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีศาลาว่าการเมืองไลพ์ซิชหลังปัจจุบันโบสถ์นักบุญโธมัส เมืองไลพ์ซิชภายในโบสถ์นักบุญนิโคลัสโบสถ์นิกายรัสเซียนออร์ทอดอกซ์ในสถานีรถไฟไลพ์ซิชศูนย์แสดงสินค้าโชว์รูมรถยนต์ ปอเชทางเดินในศูนย์การค้าอาคารในยุคปลายศตวรรษที่ 18 ที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน