คำนาม ของ ไวยากรณ์ภาษาทมิฬ

คำนามและสรรพนามในภาษาทมิฬแบ่งเป็นระดับสูงสองระดับคือ นามคิดได้ (uyartinai) กับนามคิดไม่ได้ (akrinai) มนุษย์และเทพเจ้า จัดเป็นนามคิดได้ นามอื่น ๆ ได้แก่ สัตว์ สิ่งของ จัดเป็นนามคิดไม่ได้ ทั้งสองระดับนี้แบ่งได้อีกเป็นห้าระดับตามเพศ นามคิดได้ แบ่งเป็นสามระดับคือ เอกบุรุษ เอกสตรี และพหูพจน์ รูปพหูพจน์ของนามชนิดนี้อาจใช้เป็นรูปเอกพจน์ ไม่ปรากฏเพศเพื่อแสดงความนับถือได้ ส่วนนามคิดไม่ได้ มีสองระดับคือเอกพจน์ และพหูพจน์ การแสดงระดับนี้มักแสดงด้วยปัจจัย ตัวอย่างเช่น การผันศัพท์ภาษาทมิฬที่แปลว่าผู้ทำ

นามคิดได้ เอกบุรุษนามคิดได้ เอกสตรีนามคิดได้ พหูพจน์นามคิดไม่ได้ เอกพจน์นามคิดไม่ได้ พหูพจน์
ceytavaṉceytavalceytavarceytatuceytavai
เขา (ช.) ผู้ทำเขา (ญ.) ผู้ทำพวกเขาผู้ทำมันผู้ทำพวกมันผู้ทำ

ปัจจัยใช้เป็นตัวบ่งชี้การกและปรบท ไวยากรณ์แบ่งเป็น 8 การกตามแบบภาษาสันสกฤต ได้แก่ การกประธาน กรรมตรง กรรมรอง ความเกี่ยวข้อง แสดงความเป็นเจ้าของ เครื่องมือ สถานที่ และแหล่งที่มาคำนามที่มาจากการเรียงคำแบบรูปคำติดต่อจะแปลได้ยาก ตัวอย่างเช่นศัพท์ภาษาทมิฬ poKamutiyatavarkalukkaKa หมายถึง “สำหรับจุดมุ่งหมายของเขาเหล่านั้นผู้ไม่สามารถไปได้” ซึ่งประกอบด้วยหน่วยคำดังนี้

poKa (ไป) - muti (ความสำเร็จ) – y- ata (ปฏิเสธ) - var (รูปประธาน) – kal (พหูพจน์) – ukku (ที่) - aKa (ชนิดของคำ)

คำนามภาษาทมิฬอาจเติมคำอุปสรรค i a u และ e ซึ่งมีการทำงานใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น vali หมายถึงทาง อาจเติมคำอุปสรรคเป็น ivvali = ทางนี้ avvali = ทางนั้น uvvali = ระหว่างทาง และ evvali = ทางนี้ นามบางคำสร้างโดยการเรียงติดต่อรูปคำ ตัวอย่างเช่น เขา-ผู้แต่ง-กริยาช่วย หรือ นั่น-สิ่งซึ่ง-จะ-มา นามเหล่านี้เรียกว่านามอนุภาค นามประกอบสร้างโดยการเชื่อมต่อคำคุณศัพท์และคำนามเช่นเชื่อมคำว่าดี และ เขา เป็น ดี-เขา หมายถึง คนดี ส่วน ดี-พวกเขา หมายถึงประชาชนที่ดี นามกริยาในภาษาทมิฬสร้างจากรากศัพท์ของคำกริยา เทียบเท่ากับคำที่เติม –ing ในภาษาอังกฤษ