การสร้างงานเขียน ของ ไอแซค_อสิมอฟ

งานเขียนของอาซิมอฟสามารถแบ่งได้เป็นหลายยุค ในช่วงแรกๆ เขาอุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่งานเขียนนิยายวิทยาศาสตร์โดยเริ่มจากการเขียนเรื่องสั้นในปี ค.ศ. 1939 และเริ่มเขียนนวนิยายในปี ค.ศ. 1950 ไปจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1958 หลังจากที่เขาได้พิมพ์เรื่อง นครสุริยะ เขาก็เริ่มงานเขียนแนวอื่นในราวปี ค.ศ. 1952 อาซิมอฟเป็นผู้แต่งร่วมให้กับตำราเรียนระดับวิทยาลัยได้แก่ Biochemistry และ Human Metabolism ครั้นถึงปี ค.ศ. 1957 เมื่อดาวเทียมสปุตนิกของสหภาพโซเวียตได้ขึ้นไปโคจรรอบโลกเป็นครั้งแรก เขาก็เริ่มหันไปเขียนบทความวิทยาศาสตร์ทันยุค รวมถึงจัดทำหนังสือและนิตยสาร งานประพันธ์นิยายวิทยาศาสตร์ของเขาเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ เป็นเวลากว่า 25 ปีซึ่งเขาได้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์เพิ่มเพียง 4 เรื่องเท่านั้น จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1982 เขาก็หันมาเขียนนิยายวิทยาศาสตร์อีกครั้งโดยเริ่มจาก Foundation's Edge หลังจากนั้นจนกระทั่งถึงวันที่เขาเสียชีวิต อาซิมอฟได้เขียนเรื่องชุดต่อเนื่องทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์ในนวนิยายก่อนหน้าของเขาอีกหลายเรื่อง โดยพยายามเชื่อมโยงเรื่องทั้งหมดเข้าด้วยกัน แม้จะมีเรื่องราวบางจุดที่ยังไม่ค่อยสอดคล้องกันอยู่บ้างโดยเฉพาะในงานเขียนยุคแรกๆ ของเขา[4]

อาซิมอฟเชื่อว่าแนวคิดที่ยั่งยืนที่สุดของเขาคือ "กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์" และเรื่องชุดสถาบันสถาปนา พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ดให้เกียรติแก่ผลงานของเขาโดยบรรจุคำว่า โพสิตรอนิก (positronic) (เทคโนโลยีที่มีแต่ในนิยายเท่านั้น) อนาคตประวัติศาสตร์ (psychohistory) (คำนี้มีที่ใช้หมายถึงศาสตร์ที่ศึกษาความเคลื่อนไหวในประวัติศาสตร์) และ โรโบติกส์ (robotics) ลงไปในพจนานุกรม อาซิมอฟเลือกใช้คำว่า โรโบติกส์ โดยไม่ได้คาดคิดว่ามันจะกลายเป็นคำต้นแบบที่ใช้กันต่อๆ มา ในเวลานั้นเขาเพียงแต่คิดว่ามันเป็นคำง่ายๆ เหมือนอย่าง แมคานิกส์ หรือไฮดรอลิกส์ พอเอามาใช้กับหุ่นยนต์ก็เลยเป็นโรโบติกส์ คำนี้ได้เข้ามาอยู่ในแวดวงทางเทคนิคพร้อมกับคำจำกัดความตามแนวคิดของอาซิมอฟด้วย ซึ่งต่างจากคำว่า "อนาคตประวัติศาสตร์" ในเรื่อง สตาร์เทรค: The Next Generation มีหุ่นแอนดรอยด์ซึ่งมี "สมองโพสิตรอน" ซึ่งถือเป็นการให้เกียรติแก่อาซิมอฟอย่างเต็มที่ที่ได้ "คิดค้น" เทคโนโลยีในนิยายนี้ขึ้น

ผลงานนวนิยายวิทยาศาสตร์

อาซิมอฟเริ่มอ่านนิยายวิทยาศาสตร์จาก pulp magazines ซึ่งขายในร้านขนมของที่บ้านตั้งแต่ ค.ศ. 1929 เขาเริ่มเข้าสู่โลกของนิยายไซไฟในราวกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 โดยได้เข้าร่วมกลุ่มที่ต่อมากลายเป็นกลุ่มฟิวเจอเรียน เขาเริ่มเขียนนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องแรกคือ Cosmic Corkscrew ในปี ค.ศ. 1937 แต่เขียนไม่จบ จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1938 จึงเกิดแรงบันดาลใจจะทำต่อหลังจากได้ไปเยี่ยมสำนักงานของ Astounding Science Fiction เขาเขียน Cosmic Corkscrew จบในวันที่ 19 มิถุนายนและส่งเรื่องไปให้บรรณาธิการของ Astounding คือ จอห์น ดับเบิลยู. แคมป์เบล ด้วยตัวเองในอีกสองวันถัดไป แคมป์เบลปฏิเสธ Cosmic Corkscrew แต่ก็ได้ให้กำลังใจอาซิมอฟให้เขียนต่อไป และเขาก็เขียน เขาขายนิยายเรื่องที่สามของเขาคือ Marooned Off Vesta ให้แก่นิตยสาร Amazing Stories ได้ในเดือนตุลาคม มันได้ตีพิมพ์ในนิตยสารฉบับเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 เขายังคงเขียนนิยายต่อไปและบางครั้งขายต้นฉบับให้สำนักพิมพ์นิยายวิทยาศาสตร์หลายๆ แห่ง

ค.ศ. 1941 เขาได้ตีพิมพ์นิยายเรื่องที่ 32 ของเขาคือ รัตติกาล ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น "นิยายวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดตลอดกาล"[5] ค.ศ. 1968 นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาลงคะแนนโหวตให้ รัตติกาล เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ประเภทเรื่องสั้นที่ดีที่สุดที่เคยเขียนกันมา[6] ในหนังสือรวมเรื่องสั้นของเขาชุด รัตติกาลกับเรื่องอื่นๆ อาซิมอฟเขียนไว้ว่า "การเขียนเรื่อง รัตติกาล เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิชาชีพของผม... ผมตระหนักขึ้นมาทันทีว่านี่เป็นเรื่องจริงจัง และโลกนิยายวิทยาศาสตร์ได้รับรู้ถึงตัวตนของผมแล้ว อันที่จริง เมื่อผ่านไปอีกหลายปีจึงได้ชัดเจนขึ้นว่า ผมได้เขียนเรื่อง 'คลาสสิก' ขึ้นมาแล้ว"

วิทยาศาสตร์ทันยุค

งานเขียนอื่น

แนวทางในงานเขียน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไอแซค_อสิมอฟ http://www.asimovonline.com/ http://www.bewilderingstories.com/issue8/asimov.ht... http://storyinbook.igetweb.com/index.php?mo=3&art=... http://www.industrial-europe.com/showArticle.jhtml... http://www.rudysbooks.com/asimovobit.html http://www.toulo.com/info/Article.asp?ID=30 http://www.winbookclub.com/viewanswer.php?qid=3321... http://www.isfdb.org/cgi-bin/ea.cgi?Isaac_Asimov https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Isaac_...