การเตรียม ของ ไฮโดรเจนโบรไมด์

ในภาคอุตสาหกรรม

ไฮโดรเจนโบรไมด์ (เช่นเดียวกับกรดไฮโดรโบรมิก) ถูกผลิตขึ้นในปริมาณน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับไฮโดรเจนคลอไรด์ (และกรดไฮโดรคลอริก) สำหรับการเตรียมขั้นต้น ไฮโดรเจนและโบรมีนจะรวมตัวเป็นไฮโดรเจนโบรไมด์ ที่อุณหภูมิระหว่าง 200–400 °C และมักใช้ธาตุแพลตินัมหรือแร่ใยหินเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา[7][10]

ในห้องปฏิบัติการ

เราสามารถสังเคราะห์ไฮโดรเจนโบรไมด์ได้หลายวิธีในห้องทดลอง เช่น โดยการกลั่นสารละลายโซเดียมโบรไมด์หรือโพแทสเซียมโบรไมด์ กับกรดฟอสฟอริกหรือกรดซัลฟิวริกเจือจาง[11] ดังสมการ

2   K B r + H 2 S O 4 ⟶ K 2 S O 4 + 2   H B r {\displaystyle \mathrm {2\ KBr+H_{2}SO_{4}\longrightarrow K_{2}SO_{4}+2\ HBr} }

แต่ถ้าใช้กรดซัลฟิวริกเข้มข้น จะไม่เกิดผลิตภัณฑ์เป็นไฮโดรเจนโบรไมด์ เนื่องจากสารดังกล่าวจะถูกออกซิไดซ์กลายเป็นแก๊สโบรมีนแทน ดังสมการ

2   H B r + H 2 S O 4 ⟶ B r 2 + S O 2 + 2   H 2 O {\displaystyle \mathrm {2\ HBr+H_{2}SO_{4}\longrightarrow Br_{2}+SO_{2}+2\ H_{2}O} }

การสังเคราะห์ด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น นำโบรมีนทำปฏิกิริยากับฟอสฟอรัสและน้ำ หรือโบรมีนทำปฏิกิริยากับกำมะถันและน้ำก็ได้เช่นเดียวกัน[12] ดังสมการ

2   B r 2 + S + 2   H 2 O ⟶ 4   H B r + S O 2 {\displaystyle \mathrm {2\ Br_{2}+S+2\ H_{2}O\longrightarrow 4\ HBr+SO_{2}} }

หรืออาจเตรียมได้โดยให้เตตระลิน (1,2,3,4-เตตระไฮโดรแนฟทาลีน) เกิดปฏิกิริยาโบรมิเนชัน (bromination, ปฏิกิริยาแทนที่ด้วยโบรมีน)[13] ดังสมการ

C 10 H 12 + 4   B r 2 ⟶ C 10 H 8 B r 4 + 4   H B r {\displaystyle \mathrm {C_{10}H_{12}+4\ Br_{2}\longrightarrow C_{10}H_{8}Br_{4}+4\ HBr} }

นอกจากเตตระลินแล้ว ยังสามารถนำโทลูอีนมาทำให้เกิดปฏิกิริยาโบรมิเนชันได้อีกด้วย ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นเบนซิลโบรไมด์และไฮโดรเจนโบรไมด์ ดังนี้

หรือ ทำให้โบรมีนถูกรีดิวซ์ด้วยกรดฟอสฟอรัส[7] ดังสมการ

B r 2 + H 3 P O 3 + H 2 O ⟶ H 3 P O 4 + 2   H B r {\displaystyle \mathrm {Br_{2}+H_{3}PO_{3}+H_{2}O\longrightarrow H_{3}PO_{4}+2\ HBr} }

ไฮโดรเจนโบรไมด์ที่ผลิตได้จากปฏิกิริยาข้างต้นทั้งหมดอาจมี Br2 ปนเปื้อนได้ ซึ่งสามารถแยกออกได้โดยนำแก๊สไฮโดรเจนโบรไมด์ผ่านตัวกลึงทองแดง (Copper turnings) หรือผ่านฟีนอล[10]

ใกล้เคียง

ไฮโดรเจน ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไฮโดรคอร์ติโซน ไฮโดรเจนโบรไมด์ ไฮโดรคาร์บอน ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ไฮโดรเจนคลอไรด์ ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์แบบไอระเหย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไฮโดรเจนโบรไมด์ http://www.chemspider.com/255 http://www.google.com/patents?vid=4147601 http://hazard.com/msds/mf/baker/baker/files/h3768.... http://www.webelements.com/webelements/compounds/t... http://ecb.jrc.ec.europa.eu/esis/index.php?GENRE=E... http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2007/MB_cgi?mode=&... http://www.genome.ad.jp/dbget-bin/www_bget?cpd:C13... http://www.chemtrack.org/HazMap-Agent-Info.asp?ID=...